บาลีวันละคำ

อติจฺฉถ (บาลีวันละคำ 2,904)

อติจฺฉถ

คำปฏิเสธอย่างสุภาพ

อ่านว่า อะ-ติด-ฉะ-ถะ

อติจฺฉถ” เป็นรูปคำบาลีตรงๆ เขียนแบบคำอ่านเป็น “อะติจฉะถะ” อ่านว่า อะ-ติด-ฉะ-ถะ

โปรดระวัง อย่าละเอียดถี่ถ้วนเกินไปจนกระทั่งอ่านว่า อะ-ติ-จะ-ฉะ-ถะ

“-ติจ-” จ จาน เป็นตัวสะกด โปรดสังเกต ถ้าเขียนแบบบาลี มีจุดใต้ จฺ เป็นการบังคับให้ จฺ เป็นตัวสะกด อ่านว่า -ติด- แบบเดียวกับ “กิจ” นั่นเอง

อติจฺฉถ” เป็นรูปคำกริยาอาขยาต รากศัพท์มาจาก อติ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + อิสฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย, (ถะ) วิภัตติอาขยาตหมวดปัญจมี มัธยมบุรุษ พหูพจน์, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น จฺฉ (อิสฺ > อิจฺฉ)

: อติ + อิสฺ = อติสฺ + = อติส + = อติสฺถ > อติจฺฉถ แปลตามศัพท์ว่า “(ท่านทั้งหลาย) จงปรารถนาล่วงไปเถิด

อติจฺฉถ” คำกริยาอาขยาตสามัญ (ติ วิภัตติหมวดวัตตมานา ปฐมบุรุษ เอกพจน์) เป็น “อติจฺฉติ” (อะ-ติด-ฉะ-ติ) แปลว่า “(เขาหรือเธอ) ย่อมปรารถนาล่วงไป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อติจฺฉติ” ว่า to go on (ไปต่อไป)

คัมภีร์สารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย) ภาค 1 หน้า 181 ขยายความคำว่า “อติจฺฉถ” ไว้ดังนี้ –

…………..

อติจฺฉถาติ  อติกฺกมิตฺวา  อิจฺฉถ.  อิธ  ภิกฺขา  น  ลพฺภติ  อิโต  อญฺญตฺถ  คนฺตฺวา  ภิกฺขํ  ปริเยสถาติ  อธิปฺปาโย.

คำว่า “อติจฺฉถ” ไขความว่า “อติกฺกมิตฺวา  อิจฺฉถ” แปลว่า “จงปรารถนาล่วงเลยไปเถิด” อธิบายความว่า ท่านไม่ได้อาหารที่นี่หรอก จงไปแสวงหาภิกษาที่อื่นเถิด

…………..

คำว่า “อติจฺฉถ” เวลาพูดจริง (คือพูดกับภิกษุ) จะพูดว่า “อติจฺฉถ ภนฺเต” (อะ-ติด-ฉะ-ถะ พัน-เต)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ขยายความคำว่า “อติจฺฉถ ภนฺเต” ไว้ว่า –

“please go on, Sir”, asking a bhikkhu to seek alms elsewhere, thus refusing a gift in a civil way.(“นิมนต์ไปข้างหน้าเถิดพระคุณท่าน”, ขอร้องภิกษุให้ไปรับบิณฑบาตที่อื่น, คือ ปฏิเสธการให้ทานโดยวิธีสุภาพ)

อติจฺฉถ” นอกจากใช้ในความหมายโดยตรง คือขอร้องให้พระไปบิณฑบาตที่อื่นแล้ว ยังอาจใช้เป็นคำปฏิเสธเมื่อมีผู้มาเสนอขายสินค้าหรือขายบริการอื่นๆ ได้อีก และอาจใช้ในความหมายว่า “ปฏิเสธ” ในกรณีทั่วไปโดยอนุโลมได้ด้วย

ข้อเสนอแนะ :

ต่อไปนี้ เวลาจะปฏิเสธอะไรใครอย่างสุภาพ จะลองพูดคำบาลีให้ติดปากก็น่าจะฟังดูดี

อติจฺฉถ ภนฺเต” – ใช้เมื่อพูดกับพระ

อติจฺฉถ ภเณ” – ใช้เมื่อพูดกับคนทั่วไป

อติจฺฉถ สมฺม” – ใช้เมื่อพูดกับเพื่อนชาย

อติจฺฉถ สามิ” – ใช้เมื่อพูดกับนาย

หรือแค่ “อติจฺฉถ” คำเดียว ใช้ได้ทั่วไป

…………..

อติจฺฉถ” :

แปลดังๆ ว่า “ไม่

แปลในใจว่า “ไปให้พ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงมีศรัทธาเมื่อให้

: แต่จงมีน้ำใจเมื่อปฏิเสธ

#บาลีวันละคำ (2,904)

25-5-63

อติจฺฉถ

คำปฏิเสธอย่างสุภาพ

อ่านว่า อะ-ติด-ฉะ-ถะ

อติจฺฉถ” เป็นรูปคำบาลีตรงๆ เขียนแบบคำอ่านเป็น “อะติจฉะถะ” อ่านว่า อะ-ติด-ฉะ-ถะ

โปรดระวัง อย่าละเอียดถี่ถ้วนเกินไปจนกระทั่งอ่านว่า อะ-ติ-จะ-ฉะ-ถะ

“-ติจ-” จ จาน เป็นตัวสะกด โปรดสังเกต ถ้าเขียนแบบบาลี มีจุดใต้ จฺ เป็นการบังคับให้ จฺ เป็นตัวสะกด อ่านว่า -ติด- แบบเดียวกับ “กิจ” นั่นเอง

อติจฺฉถ” เป็นรูปคำกริยาอาขยาต รากศัพท์มาจาก อติ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + อิสฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย, (ถะ) วิภัตติอาขยาตหมวดปัญจมี มัธยมบุรุษ พหูพจน์, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น จฺฉ (อิสฺ > อิจฺฉ)

: อติ + อิสฺ = อติสฺ + = อติส + = อติสฺถ > อติจฺฉถ แปลตามศัพท์ว่า “(ท่านทั้งหลาย) จงปรารถนาล่วงไปเถิด

อติจฺฉถ” คำกริยาอาขยาตสามัญ (ติ วิภัตติหมวดวัตตมานา ปฐมบุรุษ เอกพจน์) เป็น “อติจฺฉติ” (อะ-ติด-ฉะ-ติ) แปลว่า “(เขาหรือเธอ) ย่อมปรารถนาล่วงไป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อติจฺฉติ” ว่า to go on (ไปต่อไป)

คัมภีร์สารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย) ภาค 1 หน้า 181 ขยายความคำว่า “อติจฺฉถ” ไว้ดังนี้ –

…………..

อติจฺฉถาติ  อติกฺกมิตฺวา  อิจฺฉถ.  อิธ  ภิกฺขา  น  ลพฺภติ  อิโต  อญฺญตฺถ  คนฺตฺวา  ภิกฺขํ  ปริเยสถาติ  อธิปฺปาโย.

คำว่า “อติจฺฉถ” ไขความว่า “อติกฺกมิตฺวา  อิจฺฉถ” แปลว่า “จงปรารถนาล่วงเลยไปเถิด” อธิบายความว่า ท่านไม่ได้อาหารที่นี่หรอก จงไปแสวงหาภิกษาที่อื่นเถิด

…………..

คำว่า “อติจฺฉถ” เวลาพูดจริง (คือพูดกับภิกษุ) จะพูดว่า “อติจฺฉถ ภนฺเต” (อะ-ติด-ฉะ-ถะ พัน-เต)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ขยายความคำว่า “อติจฺฉถ ภนฺเต” ไว้ว่า –

“please go on, Sir”, asking a bhikkhu to seek alms elsewhere, thus refusing a gift in a civil way.(“นิมนต์ไปข้างหน้าเถิดพระคุณท่าน”, ขอร้องภิกษุให้ไปรับบิณฑบาตที่อื่น, คือ ปฏิเสธการให้ทานโดยวิธีสุภาพ)

อติจฺฉถ” นอกจากใช้ในความหมายโดยตรง คือขอร้องให้พระไปบิณฑบาตที่อื่นแล้ว ยังอาจใช้เป็นคำปฏิเสธเมื่อมีผู้มาเสนอขายสินค้าหรือขายบริการอื่นๆ ได้อีก และอาจใช้ในความหมายว่า “ปฏิเสธ” ในกรณีทั่วไปโดยอนุโลมได้ด้วย

ข้อเสนอแนะ :

ต่อไปนี้ เวลาจะปฏิเสธอะไรใครอย่างสุภาพ จะลองพูดคำบาลีให้ติดปากก็น่าจะฟังดูดี

อติจฺฉถ ภนฺเต” – ใช้เมื่อพูดกับพระ

อติจฺฉถ ภเณ” – ใช้เมื่อพูดกับคนทั่วไป

อติจฺฉถ สมฺม” – ใช้เมื่อพูดกับเพื่อนชาย

อติจฺฉถ สามิ” – ใช้เมื่อพูดกับนาย

หรือแค่ “อติจฺฉถ” คำเดียว ใช้ได้ทั่วไป

…………..

อติจฺฉถ” :

แปลดังๆ ว่า “ไม่

แปลในใจว่า “ไปให้พ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงมีศรัทธาเมื่อให้

: แต่จงมีน้ำใจเมื่อปฏิเสธ

#บาลีวันละคำ (2,904)

25-5-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *