บาลีวันละคำ

นิสัย – นิสิต (บาลีวันละคำ 2,905)

นิสัยนิสิต

โยงไปถึงน้ำจิตน้ำใจ

อ่านว่า นิ-ไส นิ-สิด

แต่ถ้าสังเกตให้ดี “นิสัย” มักออกเสียงเป็น นิด-ไส

(๑) “นิสัย

บาลีเป็น “นิสฺสย” อ่านว่า นิด-สะ-ยะ รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า,ลง) + สิ (ธาตุ = อยู่) + ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ สิ) เป็น (สูตรเต็มว่า “พฤทธิ์ อิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย” : สิ > เส > สย), ซ้อน สฺ

: นิ + สฺ = นิสฺสิ > นิสฺสย + = นิสฺสย แปลตามศัพท์ว่า “เป็นที่อาศัยอยู่” หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิ่งอื่นต้องอาศัย, เครื่องค้ำจุน, การช่วยเหลือ, การป้องกัน; สิ่งของที่บริจาค, ขุมทรัพย์, สิ่งที่จำเป็น, เครื่องใช้สอย; พื้นฐาน, การให้ความไว้วางใจ (that on which anything depends, support, help, protection; endowment, resource, requisite, supply; foundation, reliance on)

นิสฺสย” บาลี สองตัว ภาษาไทยเขียน “นิสัย ตัวเดียว

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “นิสัย” ไว้ว่า –

นิสัย : (คำนาม) ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทําจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).”

ในภาษาไทย เรามักเข้าใจกันแต่เพียงว่า “นิสัย” คือ ความประพฤติที่เคยชิน

(๒) “นิสิต

บาลีเป็น “นิสฺสิต” อ่านว่า นิด-สิ-ตะ รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + สิ (ธาตุ = อยู่, อาศัย) + ปัจจัย, ซ้อน สฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (นิ + สฺ + สิ)

: นิ + สฺ + สิ = นิสฺสิ + = นิสฺสิต แปลตามศัพท์ว่า “อยู่อาศัยแล้ว

เห็นคำอังกฤษอาจช่วยให้เข้าใจความหมายได้ชัดขึ้น พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นิสฺสิต” เป็นอังกฤษว่า hanging on, dependent on, inhabiting; attached to, supported by, living by means of, relying on, being founded or rooted in, bent on (อาศัย, ขึ้นอยู่กับ-, อยู่ใน, ติดอยู่กับ-, ได้รับการค้ำจุน, มีความเป็นอยู่ด้วยการ-, พักพิงอยู่กับ-, ตั้งอยู่หรือมีรกรากอยู่กับ-, ตั้งหน้าที่จะ-)

นิสฺสิต” ในภาษาไทยตัด สฺ ตัวสะกดออก ใช้เป็น “นิสิต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “นิสิต” ไว้ว่า –

นิสิต : (คำนาม) ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).”

อภิปราย :

คำว่า “นิสัย” และ “นิสิต” รากศัพท์มาทางเดียวกัน แต่เมื่อใช้ในภาษาไทยความหมายต่างกัน

ในภาษาไทย เรามักเข้าใจความหมายของ “นิสัย” ว่า “ความประพฤติที่เคยชิน” กันเป็นส่วนมาก แต่ “นิสัย” ในภาษาบาลี (นิสฺสย) ไม่ได้มีความหมายอย่างนี้

ความหมายเด่นในบาลี “นิสัย” (นิสฺสย) หมายถึง สิ่งที่จำเป็น, เครื่องใช้สอย (requisite, supply) ความหมายที่คุ้นกันดีคือ “ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต” หมายถึง จีวร (เครื่องนุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยารักษาโรค)

นอกจากนี้ “นิสัย” ยังหมายถึง หน้าที่ของผู้ปกครองดูแล โดยเฉพาะหน้าที่ในการฝึกหัดอบรมสั่งสอนให้มีคุณธรรมความดีความสามารถ จะกล่าวว่า โดยความหมายแล้ว “นิสัย” คือผู้ทำหน้าที่ให้คนอื่นอาศัย หรือผู้เป็นที่อาศัยของคนอื่นๆ ดังนี้ ก็ไม่ผิด

ส่วน “นิสิต” ในภาษาไทยเรามักเข้าใจกันว่า หมายถึง ผู้ที่ศึกษาและพักอาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยในระหว่างศึกษา และมักพูดควบกับคำว่า “นักศึกษา” เป็น “นิสิตนักศึกษา” เป็นที่มาของคำถามหรือข้อถกเถียงว่า “นิสิต” กับ “นักศึกษา” ต่างกันอย่างไร

ในภาษาบาลี “นิสิต” (นิสฺสิต) หมายถึง ผู้-หรือสิ่ง-ที่อิงอาศัยอยู่กับผู้ใดผู้หนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นศิษย์อิงอาศัยอาจารย์เป็นต้น

โดยนัยนี้ “นิสัย” กับ “นิสิต” จึงเป็นคำคู่กัน กล่าวคือ “นิสัย” เป็นที่พึ่งพิงอิงอาศัยของ “นิสิต” และ “นิสิต” ก็คือผู้พึ่งพิงอิงอาศัยอยู่กับ “นิสัย

ถ้าชี้ตัวบุคคล “นิสัย” ก็คือ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง เป็นต้น

นิสิต” ก็คือ ลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ ผู้น้อย ผู้อยู่ในปกครอง เป็นต้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อเป็นนิสัย ขอให้มีน้ำจิต

: เมื่อเป็นนิสิต ขอให้มีน้ำใจ

#บาลีวันละคำ (2,905)

26-5-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *