บาลีวันละคำ

เขฬปิณฺฑ (บาลีวันละคำ 2,941)

เขฬปิณฺฑ

เรียนบาลีวันละคำจากอุปมาชีวิต

…………..

ในคัมภีร์สัตตกนิบาต อังคุตรนิกาย มีพระสูตรหนึ่ง ชื่อ “อรกานุสาสนีสูตร” (พระไตรปิฎกเล่ม 23 ข้อ 71) พระพุทธองค์ตรัสเล่าถึงสมัยที่มนุษย์มีอายุขัย 60,000 ปี (หกหมื่นปี) มีครูสอนศาสนาท่านหนึ่งชื่อ “อรกะ” ประพฤติธรรมถึงระดับสิ้นกามราคะ

ครูอรกะสอนสาวกว่าด้วยเรื่องชีวิตว่า ชีวิตมนุษย์นั้นน้อยนิด พลันจะแตกดับ มีทุกข์มาก คับแค้นขัดข้องมาก ควรจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยสติปัญญา ควรประกอบกุศลกรรม ทำชีวิตให้สะอาด ชีวิตที่เกิดแล้วจะไม่ตายนั้นไม่มี

ครูอรกะเปรียบความน้อยนิดแห่งชีวิตมนุษย์ (ในยุคที่มีอายุขัยหกหมื่นปี! !) ด้วยข้ออุปมา 7 อย่าง

เขฬปิณฺฑ” เป็น 1 ในข้ออุปมาทั้ง 7 นั้น

หวังว่าเราท่านคงมีชีวิตอยู่นานพอที่จะเรียนอุปมาชีวิตเป็นบาลีวันละคำจนครบทั้ง 7 คำ

เขฬปิณฺฑ” อ่านว่า เข-ละ-ปิน-ดะ ประกอบด้วยคำว่า เขฬ + ปิณฺฑ

(๑) “เขฬ

อ่านว่า เข-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) เขลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ที่สุดธาตุเป็น (เขล > เขฬ)

: เขลฺ + = เขล > เขฬ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปอยู่” (คือมีอยู่ประจำ)

(2) (ฟ้า, อากาศ) +  อิลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ อิ-(ลฺ) เป็น เอ แล้วแปลง เป็น (อิล > เอล > เอฬ)

: + อิล = ขิล > เขล > เขฬ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปสู่อากาศ” (คือถูกถ่มถุยให้ลอยไป)

เขฬ” (ปุงลิงค์) หมายถึง เสมหะ, น้ำลาย, เสลด (phlegm, saliva, foam)

ในภาษาไทยใช้เป็น “เขฬะ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

เขฬะ : (คำนาม) นํ้าลาย, ราชาศัพท์ว่า พระเขฬะ. (ป.).

(๒) “ปิณฺฑ

อ่านว่า ปิน-ดะ รากศัพท์มาจาก ปิณฺฑฺ (ธาตุ = รวบรวม, ทำให้เป็นกอง) + ปัจจัย

: ปิณฺฑฺ + = ปิณฺฑ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขารวมกัน

ปิณฺฑ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ก้อน, ก้อนกลม, มวลที่หนาและกลม (a lump, ball, thick & round mass)

(2) ก้อนข้าว, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ถวายพระหรือให้ทาน, ทานที่ให้เป็นอาหาร (a lump of food, esp. of alms, alms given as food)

(3) กองรวม, การสะสม, รูปหรือแบบอัดกันแน่น, กอง (a conglomeration, accumulation, compressed form, heap)

ในภาษาไทยใช้เป็น “ปิณฑะ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

ปิณฑะ : (คำแบบ) (คำนาม) ก้อนข้าว. (ป., ส.).”

เขฬ + ปิณฺฑ = เขฬปิณฺฑ (เข-ละ-ปิน-ดะ) แปลว่า “ก้อนแห่งเขฬะ” หมายถึง น้ำลายในบากที่ถูกลิ้นกับริมฝีปากตวัดตะล่อมเป็นก้อน

อธิบายขยายความ :

ผู้รู้ท่านมองชีวิตว่าดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เหมือนก้อนเขฬะคือน้ำลายที่ปลายลิ้น

น้ำลายถ้าอยู่ในปากตามปกติก็คงอยู่ได้นานพอสมควร ต่อเมื่อเรากลืนลงคอไป น้ำลายก็หมดไปในปากนั่นเอง

แต่เมื่อใดที่เราประสงค์จะถ่มน้ำลายทิ้ง เราก็ตวัดตะล่อมน้ำลายให้มาอยู่ที่ปลายลิ้น แล้วเราก็ถ่มทิ้งไปอย่างง่ายดายในฉับพลันทันที

ชีวิตมนุษย์นั้นก็น้อยนิดเหมือนก้อนเขฬะหรือน้ำลายที่ปลายลิ้น ดังสำนวนในพระสูตรบรรยายไว้ ดั่งนี้ –

…………..

พลวา  ปุริโส  ชิวฺหคฺเค  เขฬปิณฺฑํ  สญฺญูหิตฺวา  อปฺปกสิเรเนว  วเมยฺย  เอวเมว  โข  พฺราหฺมณ  เขฬปิณฺฑูปมํ  ชีวิตํ  มนุสฺสานํ  ปริตฺตํ ลหุกํ  พหุทุกฺขํ  พหูปายาสํ  มนฺตาย  โผฏฺฐพฺพํ  กตฺตพฺพํ  กุสลํ  จริตพฺพํ  พฺรหฺมจริยํ  นตฺถิ  ชาตสฺส  อมรณํ.

คนที่มีแรงตามปกติตะล่อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้นแล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ชีวิตมนุษย์ทั้งหลายก็อุปมาเหมือนก้อนเขฬะที่ปลายลิ้นฉันนั้นเหมือนกัน มีอยู่ชั่วเวลาน้อยนิด พลันจะแตกดับ มีทุกข์มาก คับแค้นขัดข้องมาก ควรจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยสติปัญญา ควรประกอบกุศลกรรม ทำชีวิตให้สะอาด ชีวิตที่เกิดแล้วจะไม่ตายนั้นไม่มี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ตอนเขารักเรา เหมือนน้ำลายในปาก

: แต่พอเขาหมดอยาก เราก็เหมือนน้ำลายปลายลิ้น

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

#บาลีวันละคำ (2,941)

1-7-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *