บาลีวันละคำ

จันทรคติ – สุริยคติ (บาลีวันละคำ 2,980) [2]

จันทรคติสุริยคติ

รากเหง้าของเรา

รากเหง้าของใคร

จันทรคติ” อ่านว่า จัน-ทฺระ-คะ-ติ แยกคำเป็น จันทร + คติ

สุริยคติ” อ่านว่า สุ-ริ-ยะ-คะ-ติ แยกคำเป็น สุริย + คติ

(๑) “จันทร

บาลีเป็น “จนฺท” (จัน-ทะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) จทิ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ, รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุแล้วแปลงนิคหิตเป็น นฺ (จทิ > จํทิ > จนฺทิ), ลบสระที่สุดธาตุ คือ อิ ที่ (จ)-ทิ (จทิ > จท)

: จทิ > จํทิ > จนฺทิ > จนฺท + = จนฺท แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ยังสัตว์โลกให้พอใจ” (คือเมื่อเห็นแล้วผู้คนก็ชื่นใจ พอใจ) (2) “ผู้รุ่งเรืองด้วยสิริ” (คือมีแสงสว่างผ่องใส)

(2) ฉนฺท (ความพอใจ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น

: ฉนฺท + = ฉนฺทก > ฉนฺท > จนฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังความพอใจให้เกิด

จนฺท” (ปุงลิงค์) หมายถึง ดวงจันทร์ (the moon) คำไทยเรียก “เดือน”

บาลี “จนฺท” สันสกฤตเป็น “จนฺทฺร” (จัน-ทฺระ) ภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จันทร-, จันทร์ : (คำนาม) ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).”

(๒) “สุริย

บาลีอ่านว่า สุ-ริ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุร (ความกล้า) + อิย ปัจจัย

: สุร + อิย = สุริย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังความกล้าให้เกิดขึ้นแก่ชาวโลก

(2) สุ (ธาตุ = เบียดเบียน) + อิส ปัจจัย, ลง อาคมระหว่าง สุ + อิส (สุ + + อิส), แปลง ที่ อิส เป็น (อิส > อิย)

: สุ + + อิส = สุริส > สุริย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนความกลัวของสัตวโลกด้วยการกำจัดความมืด

(3) สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + (ยะ) ปัจจัย, แปลง สรฺ เป็น สุริ

: สรฺ + = สรย > สุริย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่โคจรเรื่อยไป

สุริย” (ปุงลิงค์) หมายถึง ดวงอาทิตย์ (the sun) ซึ่งนิยมทับศัพท์ว่า สุริยะ, สุริยา, สูรย์ ภาษาไทยใช้ว่า ตะวัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุริย-, สุริยะ : (คำนาม) พระอาทิตย์, ดวงตะวัน. (ป. สุริย; ส. สูรฺย); (คำที่ใช้ในโหราศาสตรฺ) ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).”

(๓) “คติ

รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ติ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (คมฺ > )

: คมฺ + ติ = คมติ > คติ แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาอันบุคคลพึงดำเนิน

คติ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การไป (going)

(2) การจากไป, การผ่านไป (going away, passing on)

(3) ทางไป, โดยเฉพาะหลังจากตายไป, ชะตากรรม, ที่เกี่ยวกับภพอื่น (course, esp after death, destiny, as regards another existence)

(4) ความประพฤติ, ภาวะหรือฐานะของความเป็นอยู่, ขอบเขตของภพ, ความเป็นอยู่, ธาตุ (behaviour, state or condition of life, sphere of existence, element)

(5) แดนแห่งความเป็นอยู่ 5 อย่างของสัตว์โลก (the five realms of existence) (คือ นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต มนุษย์ และเทพ = คติ 5)

ในที่นี้ “คติ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) และ (2)

จันทร + คติ = จันทรคติ

สุริย + คติ = สุริยคติ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) จันทรคติ : (คำนาม) วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึงเดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. (ส.).

(2) สุริยคติ : (คำนาม) วิธีนับวันและเดือนแบบสากล โดยถือกําหนดตําแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก เช่น วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๓๑ เป็นการนับวันทางสุริยคติ เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม เป็นการนับเดือนทางสุริยคติ.

อภิปราย :

คำว่า “จันทรคติ” และ “สุริยคติ” ไม่มีปัญหาในทางรูปศัพท์ แต่อาจมีปัญหาในทางความเข้าใจสำหรับคนไทยรุ่นใหม่

จับหลักแบบง่ายๆ “จันทรคติ” คือขึ้นแรม “สุริยคติ” คือวันที่

คติของไทยเราแต่เดิมนั้นบอกวันเดือนปีทางจันทรคติ คือ –

(1) “วัน” บอกเป็นขึ้นแรม เช่น ขึ้น 1 ค่ำ (หรือขึ้นค่ำ 1) แรม 2 ค่ำ

(2) “วันในรอบสัปดาห์” คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เป็นต้น

(3) “เดือนไทย” คือ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน 3 เป็นต้น

(4) “ปีนักษัตร” คือ ชวด ฉลู ขาล เป็นต้น

เช่นวันนี้ วันอาทิตย์ แรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปีชวด

ถ้าอ่านพงศาวดารหรือจดหมายเหตุเก่าๆ จะพบการบอกวันเดือนปีเป็นจันทรคติทั้งสิ้น

พึงทราบว่า วันเดือนปีในพระพุทธศาสนาก็กำหนดเป็นจันทรคติเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันนี้เราบอกวันเดือนปีกันเป็นสุริยคติ คือบอกเป็นวันที่ 1 2 3 เดือนมกรา กุมภา ที่ยังบอกตรงกันก็เพียง “วันในรอบสัปดาห์” คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร ส่วนปีก็ใช้ปีศักราช คือใช้ปีพุทธศักราชอย่างเป็นทางการ แต่ทุกวันนี้มีการบอกปีเป็นคริสต์ศักราชกันเกร่อไปหมดแล้ว อีกไม่นานคงมีการประกาศให้ใช้ปีคริสต์ศักราชเป็นทางการ

ที่ว่ามานี้ไม่ได้แปลว่า เราควรย้อนกลับไปใช้วันเดือนปีทางจันทรคติในชีวิตประจำวันเหมือนเมื่อก่อน แต่หมายความว่าเราควรศึกษาเรียนรู้คติเดิมของเราเอาไว้

สมมุติว่า มีฝรั่งมาถามเราว่า วันนี้กี่ค่ำ คนไทยสมัยใหม่คงตอบไม่ได้

แล้วถ้าฝรั่งคนนั้นเกิดตอบได้ บอกถูก เราจะอายฝรั่งเขาไหม

หรือว่าเราไม่รู้จักแล้วว่าอายเป็นอย่างไร?

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าไม่รู้จักรากเหง้าของตัวเอง

: เวลาล้วงกระเป๋ากางเกงจะเจออะไร?

#บาลีวันละคำ (2,980)

9-8-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *