บาลีวันละคำ

ผรุสวาท (บาลีวันละคำ 2,988)

ผรุสวาท

อภินันทนาการแด่นักด่า

อ่านว่า ผะ-รุ-สะ-วาด ก็ได้

อ่านว่า ผะ-รุด-สะ-วาด ก็ได้

(ตามพจนานุกรมฯ)

ประกอบด้วยคำว่า ผรุส + วาท

(๑) “ผรุส

บาลีอ่านว่า ผะ-รุ-สะ รากศัพท์มาจาก ปร (คนอื่น, สิ่งอื่น) + อุสฺ (ธาตุ = เร่าร้อน) + (อะ) ปัจจัย, แปลง ที่ -(ร) เป็น (ปร > ผร)

: ปร + อุสฺ = ปรุสฺ + = ปรุส > ผรุส แปลตามศัพท์ว่า “คำที่ยังคนอื่นให้เร่าร้อน

ผรุส” (นปุงสกลิงค์; คุณศัพท์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) หยาบ (rough)

(2) รุนแรง, ห้าว, กระด้าง, ขาดเมตตา [พูดถึงวาจา] (harsh, unkind, rough [of speech])

(3) โหดร้าย (cruel)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ผรุส– : (คำวิเศษณ์) หยาบ, หยาบคาย. (ป.).”

(๒) “วาท

บาลีอ่านว่า วา-ทะ รากศัพท์มาจาก วทฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (วท > วาท)

: วทฺ + = วทณ > วท > วาท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “คำเป็นเครื่องพูด

คำว่า “วาท” ที่ใช้ในภาษาบาลีมีความหมายกว้างกว่าที่เราเข้าใจกันในภาษาไทย กล่าวคือ :

(1) การพูด, คำพูด, การคุย (speaking, speech, talk)

(2) สิ่งที่พูดกัน, ชื่อเสียง, คุณสมบัติ, ลักษณะพิเศษ (what is said, reputation, attribute, characteristic)

(3) การสนทนา, การทะเลาะกัน, การโต้เถียง, ความขัดแย้ง, การคัดค้าน (discussion, disputation, argument, controversy, dispute)

(4) คำสอน, ทฤษฎี, ความเชื่อ, หลักความเชื่อ, ลัทธิ, นิกาย (doctrine, theory put forth, creed, belief, school, sect)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วาท, วาท– : (คำนาม) คําพูด, ถ้อยคํา; ลัทธิ, ความเห็น. (ป., ส.).”

ผรุส + วาท = ผรุสวาท อ่านแบบบาลีว่า ผะ-รุ-สะ-วา-ทะ อ่านแบบไทยว่า ผะ-รุ-สะ-วาด

ในคัมภีร์ยังไม่พบคำว่า “ผรุสวาท” (เช่น ผรุสวาโท ผรุสวาทํ) แต่พบคำว่า “ผรุสวาจา” (ผะ-รุ-สะ-วา-จา) มีใช้อยู่ทั่วไป

อาจกล่าวได้ว่า คำที่เราใช้ในภาษาไทยว่า “ผรุสวาท” นั้น ในบาลีนิยมใช้เป็น “ผรุสวาจา

ผรุสวาจา” มีความหมายเหมือน “ผรุสวาท

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ผรุสวาจา, ผรุสวาท : (คำนาม) คําหยาบ. (ป.).”

หมายเหตุ :

คำว่า “วาท” ที่แปลตามศัพท์ว่า “คำพูด” นั้น ในกรณีนี้หมายรวมไปถึงการเขียน การทำหรือใช้เครื่องหมาย การแสดงกิริยาท่าทาง ตลอดจนวิธีการสื่อสารอื่นๆ

…………..

แค่ไหนอย่างไรจึงจะถือว่าเป็น “ผรุสวาท” ตามหลักธรรม ท่านแสดงว่า มีองค์ประกอบ 3 ข้อ คือ –

(1) อกฺโกสิตพฺโพ ปโร = มีตัวผู้ที่จะถูกด่า ซึ่งอาจจะไม่ใช่คนด้วยกันเสมอไป อาจเป็นสัตว์ หรือสภาพดินฟ้าอากาศ หรืออะไรอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

(2) กุปิตจิตฺตํ = ผู้ด่ามีจิตเคียดแค้นขุ่นเคือง (จิตใจมีเมตตารักใคร่ แต่ปากแกล้งทำเป็นด่าไปอย่างนั้นเอง ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบข้อนี้)

(3) อกฺโกสนา = ลงมือด่า ด้วยการเปล่งวาจาออกมา หรือด้วยกิริยาท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ (นึกด่าอยู่ในใจ แต่ไม่ได้แสดงออก ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบข้อนี้)

ดูเพิ่มเติม: “ผรุสวาจา” บาลีวันละคำ (2,826) 8-3-63

คำเตือน :

ผรุสวาท” อ่านว่า ผะ-รุ-สะ-วาด ไม่ใช่ ผะ-รุ-สะ-หฺวาด และไม่ใช่แยกคำเป็น ผรุ + สวาท

คำนี้ไม่มีคำว่า “สวาท” ที่หมายถึง ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์

ที่ตาเห็นเป็น “สวาท” นั้น ไม่ใช่ ผรุ + สวาท แต่คือ ผรุส + วาท

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ผรุสวาทเป็นวาทกรรม –

: ของคนชอบทำสิ่งที่ตัวเองก็ไม่ชอบ

#บาลีวันละคำ (2,988)

17-8-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *