บาลีวันละคำ

มโนรถปูรณี (บาลีวันละคำ 3,102)

มโนรถปูรณี

เติมเต็มปรารถนาแห่งหัวใจ

อ่านว่า มะ-โร-รด-ถะ-ปู-ระ-นี

หรืออ่านอย่างขอไปที่ว่า มะ-โร-รด-ปู-ระ-นี (ไม่มี -ถะ-)

ประกอบด้วยคำว่า มโนรถ + ปูรณี

(๑) “มโนรถ

ภาษาไทยอ่านว่า มะ-โน-รด บาลีอ่านว่า มะ-โน-ระ-ถะ ประกอบด้วย มโน + รถ

(ก) “มโน” รูปคำเดิมเป็น “มน” (มะ-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มนฺ (ธาตุ = รู้) + (อะ) ปัจจัย

: มน + = มน แปลตามศัพท์ว่า “ตัวรู้

(2) มา (ธาตุ =นับ, กะ, ประมาณ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลบสระที่สุดธาตุ (มา > )

: มา > + ยุ > อน : + อน = มน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดนับอารมณ์

มโน” (< มน) หมายถึง ใจ, ความคิด (mind, thought)

มน” แจกรูปด้วยวิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์ จะเป็น “มโน” และตามกฎบาลีไวยากรณ์ว่าด้วย “มโนคณะศัพท์” กำหนดว่า เมื่อเป็นส่วนหน้าของคำสมาส ให้คงรูปเป็น มโน– เช่น มน + รม แทนที่จะเป็น มนรม ก็เป็น มโนรม

(ข) “รถ” บาลีอ่านว่า ระ-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รมฺ (ธาตุ = เล่น) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (รมฺ > )

: รมฺ + = รมถ > รถ แปลตามศัพท์ว่า “ยานเป็นเครื่องเล่น” หรือแปลถอดความว่า “ยานที่ยังให้เกิดสุขารมณ์ ความสนุกเพลิดเพลิน ความดีใจ

แรกที่มนุษย์ประดิษฐ์รถขึ้นมาน่าจะเพื่อการเล่นสนุก นักภาษาจึงให้ความหมายเช่นนี้ ต่อมาจึงใช้รถเพื่อการอื่นๆ เช่นการเดินทาง การขนส่ง และการรบ

(2) รหฺ (ธาตุ = ยึดถือ) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (รหฺ > )

: รหฺ + = รหถ > รถ แปลตามศัพท์ว่า “ยานอันเขายึดเป็นเจ้าของ

รถ” (ปุงลิงค์) ในบาลีในความหมายเดิม หมายถึง –

(1) รถมีสองล้อ, รถแข่งหรือรถออกศึก (a two-wheeled carriage, chariot)

(2) สุขารมณ์, ความสนุกเพลิดเพลิน, ความดีใจ (pleasure, joy, delight)

มน > มโน + รถ = มโนรถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สภาวะที่ใจเหมือนรถ เพราะหมุนวนไปในอารมณ์ต่างๆ” (2) “ใจที่เปรียบเหมือนรถ

มโนรถ” แปลเล่นสำนวนก็ว่า “ปรารถนาแห่งหัวใจ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลตามตัวไว้ว่า “what pleases the mind” (สิ่งที่ยังใจให้ยินดี) หมายถึง สิ่งที่พึงประสงค์, ความประสงค์ หรือปณิธาน (desired object, wish)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มโนรถ : (คำนาม) ความหวัง, ความประสงค์, ความใฝ่ฝัน. (ป., ส.).”

(๒) “ปูรณี

อ่านว่า ปู-ระ-นี รากศัพท์มาจาก –

(ก) ปูรฺ (ธาตุ = เต็ม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น

: ปูรฺ + ยุ > อน = ปูรน > ปูรณ แปลตามศัพท์ว่า “การทำให้เต็ม” หรือ “สิ่งที่ทำให้เต็ม” หมายถึง ทำให้เต็ม, ทำให้อิ่ม (filling)

(ข) ปูรณ + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปูรณ + อี = ปูรณี แปลว่า “(อรรถกถา) อันเป็นเหตุให้เต็ม

มโนรถ + ปูรณี = มโนรถปูรณี แปลความว่า “(อรรถกถา) อันยังความปรารถนาแห่งหัวใจให้เต็ม

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ว่า –

…………..

มโนรถปูรณี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในอังคุตตรนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสาจารย์เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาเก่าภาษาสิงหฬที่สืบมาแต่เดิมเป็นหลัก เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐.”

…………..

แถม :

พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร เป็น 1 ในพระไตรปิฎก แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 กลุ่ม เรียกว่า “นิกาย” คือ –

1 ทีฆนิกาย

2 มัชฌิมนิกาย

3 สังยุตนิกาย

4 อังคุตรนิกาย

5 ขุทกนิกาย

โบราณเอาคำแรกของชื่อนิกายทั้ง 5 มาเรียกรวมกันว่า “ทีมะสังอังขุ” นับถือกันว่าเป็น “หัวใจพระสุตตันตปิฎก” หรือ “หัวใจพระสูตร”

คัมภีร์ “มโนรถปูรณี” เป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายพระสุตตันตปิฎกเฉพาะส่วนที่เป็นอังคุตรนิกาย

คัมภีร์ “มโนรถปูรณี” พิมพ์เป็นอักษรไทยแบ่งเป็น 3 เล่ม หรือ 3 ภาค

หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยไม่ได้ใช้คัมภีร์มโนรถปูรณีเป็นแบบเรียนในชั้นใดๆ ทั้งสิ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เพียงแค่หยุดโหยหา

: ความปรารถนาก็เต็มทันที

#บาลีวันละคำ (3,102)

9-12-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย