บาลีวันละคำ

อุปสรรค = ใกล้สวรรค์ (บาลีวันละคำ 3,145)

อุปสรรค = ใกล้สวรรค์

แปลได้หรือไม่

อุปสรรค” ภาษาไทยอ่านว่า อุ-ปะ-สัก ก็ได้ อุบ-ปะ-สัก ก็ได้

บาลีเป็น “อุปสคฺค” อ่านว่า อุ-ปะ-สัก-คะ แยกศัพท์เป็น อุป + สคฺค

(ก) “อุป

ความรู้เกี่ยวกับคำว่า “อุป-” :

อุป-” (ขีด – ข้างหลังหมายความว่าไม่ใช้ตามลำพัง แต่ใช้นำหน้าคำอื่นเสมอ) อ่านว่า อุ-ปะ- เป็นคำจำพวกที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อุปสรรค

นักเรียนบาลีท่องจำคำแปลกันมาว่า “อุป : เข้าไป, ใกล้, มั่น

อุป” ในบาลีใช้ในความหมายตามบริบทต่างๆ ประมวลได้ดังนี้ –

(1) ข้างบน, บน (on upon, up)

(2) ข้างนอก (out)

(3) สุดแต่ (up to)

(4) สูงขึ้น, ข้างต้น (higher, above)

(5) ใกล้ชิด, ใกล้เคียง, ใกล้ (close by, close to, near)

(6) ทีเดียว, โดยประการทั้งปวง (quite, altogether)

(7) เกือบ, ราว ๆ, ค่อนข้าง, เล็กน้อย, รอง, โดย –, น้อย ๆ, ทำตามแบบ (nearly, about, somewhat, a little, secondary, by — , miniature, made after the style of)

(ข) “สคฺค” (สัก-คะ) รากศัพท์มาจาก สชฺ (ธาตุ = ขัดข้อง, ขวาง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , ซ้อน

: สชฺ > สค + = สคฺค + = สคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่ขัดขวางประโยชน์” (2) “ชี้แจงความหมาย

อุป + สคฺค = อุปสคฺค หมายถึง (1) เครื่องกีดขวาง, อุปสรรค, ความยุ่งยาก, อันตราย (attack, trouble, danger) (2) ศัพท์เฉพาะทางไวยากรณ์ คือ อุปสรรค, บุรพบท (prefix, preposition)

บาลี “อุปสคฺค” สันสกฤตเป็น “อุปสรฺค” ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “อุปสรรค

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “อุปสรรค” ไว้ว่า –

(1) เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่องขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค)

(2) คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ : อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง. ปักษ์ = ฝ่าย : ปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.

ขยายความ :

เป็นอันว่า คำที่เราเขียนว่า “อุปสรรค” ไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับ “สวรรค์

แต่มีนักคิดลองแยกศัพท์เป็น อุป + สคฺค ตามที่ตาเห็นนั่นแหละ หากแต่แยกแปลเป็นคนละคำ คือแปล “อุป” ว่า “ใกล้” แปล “สรรค” คือ “สคฺค” ว่า “สวรรค์” เอาคำแปลมารวมกันเป็นความหมายใหม่ คือ “อุปสรรค” แปลว่า “ใกล้สวรรค์” แล้วขยายความว่า ถ้าผ่านอุปสรรคไปได้ก็ใกล้สวรรค์ คือความสบายใจ

หรือพูดเล่นคำว่า “ถ้าผ่านอุปสรรคก็ได้อุปสรรค”

อุปสรรค” แรกหมายถึง “ข้อขัดข้อง

อุปสรรค” หลังหมายถึง “ใกล้สวรรค์

ว่าตามรูปคำ ก็ชวนให้คิดไปได้ แต่ถ้าว่าตามหลักคำ คือหลักภาษา ก็ไม่เอื้ออำนวยที่จะให้แปลเช่นนั้น

อุป” ในฐานะเช่นนี้ ความหมายของคำหนักไปทาง “รอง” หรือ “ต่ำกว่า” เช่น –

อุปนายก” คือรองจากนายก หรือต่ำกว่านายก ไม่ได้มีน้ำหนักไปทาง “ใกล้ (จะได้เป็น) นายก” หรืออุปนายกจะต้องได้เป็นนายกเสมอไป

อุปราช” คือรองจากพระราชา หรือต่ำกว่าพระราชา ไม่ได้มีน้ำหนักไปทาง “ใกล้ (จะได้เป็น) พระราชา” หรืออุปราชจะต้องได้เป็นพระราชาเสมอไป

อุปสรรค” ถ้าแปลให้อยู่ในฐานะเดียวกัน ก็คือ รองจากสวรรค์ หรือต่ำกว่าสวรรค์ ไม่ได้มีน้ำหนักไปทาง “ใกล้ (จะได้ขึ้น) สวรรค์” หรือใกล้สวรรค์แล้วจะต้องได้ขึ้นสวรรค์เสมอไป

แต่ข้อสำคัญ ในคัมภีร์บาลียังไม่พบคำว่า “อุปสคฺค” ที่ใช้ในความหมายว่า “ใกล้สวรรค์

ความหมายที่ว่า “ใกล้สวรรค์” ถ้าใช้คำบาลีตามหลักภาษาก็น่าจะเป็น “สคฺคสนฺติก” (สัก-คะ-สัน-ติ-กะ) เทียบคำว่า “นิพฺพานสนฺติก” แปลว่า “ใกล้พระนิพพาน” เช่นในคำว่า “นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก” แปลความว่า “อยู่ใกล้พระนิพพานเข้าไปทุกทีแล้ว

สคฺคสนฺติก” แปลว่า “ใกล้สวรรค์” ตรงตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องลากเอาคำว่า “อุปสรรค” มาจินตนาการให้พิสดารไปด้วยแต่ประการใด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จินตนาการแล้วนั่งฝัน

สวรรค์ก็มีแต่ในจินตนาการ

: จินตนาการแล้วลงมือปฏิบัติ

ก็เห็นสวรรค์ชัดๆ ในความเป็นจริง

#บาลีวันละคำ (3,145)

21-1-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย