บาลีวันละคำ

อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ [2] (บาลีวันละคำ 3,208)

อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ [2]

เขียนเป็นคำอ่านว่าอย่างไร

อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ” เป็นข้อความในคาถาที่พระสงฆ์สวดอนุโมทนา อยู่ในบทที่เรียกกันติดปากว่า “ยะถา-สัพพี” ข้อความเต็มๆ ในคาถาบทนี้มีดังนี้ –

อภิวาทนสีลิสฺส

นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน

จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ

อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.

(อะภิวาทะนะสีลิสสะ

นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโร  ธัมมา  วัฑฒันติ

อายุ  วัณโณ  สุขัง  พะลัง.)

คำแปล –

บุคคลผู้มีปรกติไหว้กราบ

มีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์

ธรรมสี่ประการย่อมเจริญ

คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

…………..

คำว่า “อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ” มักมีปัญหาในการเขียนเป็นบาลีไทยหรือเขียนเป็นคำอ่าน

หลักในการเขียนคำชุดนี้มีดังนี้

(๑) ถ้าจะเขียนแบบบาลีบาลี ก็เขียนว่า “อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

(๒) ถ้าจะเขียนแบบบาลีไทย หรือเขียนคำอ่าน ก็เขียนว่า “อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

(๓) ถ้าจะเขียนแบบภาษาไทย ก็เขียนว่า “อายุ วรรณะ สุขะ พละ

เขียนแบบภาษาไทยนั้นยึดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ที่คำว่า “วรรณ-, วรรณะ” บอกไว้ว่า –

“… ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ …”

ระวัง อย่าเขียนผิด :

คำว่า “วรรณะ” ถ้าจะเขียนแบบบาลี สะกดว่า “วณฺโณ” หรือ “วัณโณ” – เณร ไม่ใช่ หนู

คำว่า “สุขะ” ถ้าจะเขียนแบบบาลี สะกดว่า “สุขํ” หรือ “สุขังสุ ไข่ตัวเดียว ไม่ใช่ สุข+ขัง

คำว่า “พละ” ถ้าจะเขียนแบบบาลี สะกดว่า “พลํ” หรือ “พะลัง” ไม่ใช่ “พลัง

พลัง” เป็นการเขียนแบบคำไทย

เขียนแบบบาลีเป็น “พลํ”

เขียนแบบคำอ่านเป็น “พะลัง”

เขียนแบบภาษาไทยเป็น “พละ”

…………..

เขียนแบบบาลี: “อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

เขียนแบบคำอ่าน: “อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

เขียนแบบภาษาไทย: “อายุ วรรณะ สุขะ พละ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใส่ใจขึ้นอีกสักนิด

: คำผิดๆ ก็จะหมดไป

#บาลีวันละคำ (3,208)

25-3-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย