บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง กรรมของภาษาไทย

ต่อไปคำว่า “บดินทร” (คำเต็มว่า “จักรีนฤบดินทร ”) ตรงนี้ถูกบังคับด้วยฉันทลักษณ์ เนื่องจากหลักนิยมของพระปรมาภิไธยท่านกำหนดให้มีคำสัมผัสสระระหว่างวรรคด้วย

ดูที่วรรคต่อไปจะเป็น “สยามินทราธิราช” ซึ่งอ่านว่า สะ-หฺยา-มิน– จะเห็นได้ว่า -มิน- ถูกจงใจให้รับสัมผัสมาจากคำสุดท้ายของวรรคก่อน คือ “บดินทร

ดังนั้น จึงบังคับให้ต้องอ่าน “บดินทร” ว่า บอ-ดิน เป็นพยางค์สุดท้าย นั่นก็คือ –ทร ตรงนี้ไม่ต้องอ่าน เพราะ –

๑ ถ้าอ่านว่า บอ-ดิน-ทฺระ คำในวรรคต่อไปก็ไม่รับสัมผัส

คำที่พอจะลากเข้ามารับสัมผัสได้ก็มีแต่ “สยาม-” แต่จะต้องอ่านตัดคำให้เป็น สะ–หฺยาม และต้องเน้นเสียงหนักที่พยางค์ สะ- เพื่อให้รับสัมผัสกับ –ทฺระ

จักรีนฤบดิน-ทฺระ  สะ–ยามินทราธิราช

ลองอ่านดูก็จะเห็นได้ว่าเสียงขรุขระ ไม่ไพเราะแต่ประการใดเลย

๒ ถ้าอ่านว่า บอ-ดิน-ทอน คำในวรรคต่อไปก็ไม่รับสัมผัสอีกเช่นกัน เพราะ “สยามินทราธิราช” ไม่มีพยางค์ไหนออกเสียงสระ -ออน- เพื่อให้สัมผัสกับ -ทอน- ได้เลย

สรุปว่า “บดินทร” อ่านว่า บอ-ดิน

–ทร ที่อยู่ท้ายคำไม่ต้องอ่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *