บาลีวันละคำ

ปกรณ (บาลีวันละคำ 120)

ปกรณ

อ่านว่า ปะ-กะ-ระ-นะ

ในภาษาไทยใช้ว่า  “ปกรณ์” อ่านว่า ปะ-กอน

ปกรณ” ประกอบด้วย + กรฺ + ยุ

” เป็นคำอุปสรรค (ประกอบข้างหน้าคำอื่น) แปลว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก (เลือกคำแปลตามบริบท)

กรฺ” (กะ-ระ) เป็นรากศัพท์ (ธาตุ) แปลว่า ทำ, กระทำ

ยุ” เป็นคำปัจจัย (ประกอบข้างท้ายธาตุ) แปลว่า การ-, ความ-

ปกติ ยุ แปลงเป็น “อน” (อะ-นะ) แต่ถ้าพยัญชนะท้ายของธาตุ เป็น หรือ ต้องแปลง ยุ เป็น “อณ” ( เณร)

ดังนั้น + กรฺ + ยุ จึง = ปกรณ

ปกรณปกรณ์” แปลตามศัพท์ว่า “การทำทั่ว” แต่คำนี้ใช้ในความหมายอื่นด้วย คือ การประกอบ, โอกาส, คำอธิบาย, การจัด, งานประพันธ์, หนังสือ, ข้อความตอนหนึ่งในเรื่อง (undertaking paragraph), ตำรา, คัมภีร์

ปกรณ” ที่หมายถึงคัมภีร์ มักใช้ประกอบท้ายชื่อคัมภีร์นั้นๆ เช่น

เนตติปกรณ์ = คัมภีร์เนตติ

วิสุทธมัคคปกรณ์ = คัมภีร์วิสุทธิมรรค

ในพระไตรปิฎก พบใช้กับคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก เช่น

ธัมมสังคณีปกรณ์ = คัมภีร์ธรรมสังคณี

วิภังคปกรณ์  = คัมภีร์วิภังค์

ภาษาไทยเรียกปกรณ์ว่า “คัมภีร์” ภาษาบาลีใช้ว่า ปกรณ

ในภาษาไทย คำว่า “ปกรณ์” มีที่ใช้น้อย นอกจากเป็นภาษาเขียนเฉพาะเรื่อง และใช้เป็นชื่อบุคคล เช่น Pakorn Pukahuta ผู้เป็น “ต้นเหตุ” ของบาลีวันละคำประจำวันนี้

ขอให้เพื่อนๆ facebook ขอบคุณ Pakorn Pukahuta โดยทั่วกันด้วย

บาลีวันละคำ (120)

5-9-55

ปกรณ

การประกอบ, วรรค (พูดถึงกฎหมาย) ที่รับรองอย่างใดอย่างหนึ่ง (undertaking paragraph [of the law]), โอกาส, คำอธิบาย, การจัด, งานประพันธ์, หนังสือ. โดยปกติใช้กับชื่อหนังสือเท่านั้น กล่าวคือพระอภิธรรม

ปกรณ์

  [ปะกอน] น. คัมภีร์, ตํารา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).

ปกรณ นป.

การทำทั่ว, โอกาส, ตำรา, คัมภีร์.

(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ปกรณ

คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ

(ประมวลศัพท์)–

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย