บาลีวันละคำ

อนามย (บาลีวันละคำ 147)

อนามย

อ่านว่า อะ-นา-มะ-ยะ

ภาษาไทยใช้ว่า “อนามัย” (อะ-นา-ไม)

อนามย” มาจาก + อามย

” = ไม่ใช่, ไม่มี

อามย” แปลตามศัพท์ว่า (1) “อาการที่เสียดแทง” (2) “อาการที่เจ็บปวด” (3) “อาการที่เบียดเบียนร่างกายอย่างยิ่ง” (4) “อาการที่มาเบียดเบียน

แปลเอาความว่า ความเจ็บไข้, ความไม่สบาย, ความป่วยไข้, โรค, ความเจ็บไข้ได้ป่วย, อาพาธ, ความลำบาก

” เมื่อประสมกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ (ในที่นี้คือ “อา-”) แปลง เป็น “อน” (อะ-นะ) = = อน + อามย จึง = อนามย

อนามยอนามัย” จึงมีความหมายว่า ความสบาย, ความไม่มีโรค, ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย, ไม่ทรุดโทรม, มีสุขภาพดี, มีอนามัยดี, ไม่เสื่อมลง

ในภาษาไทยยังใช้ในความหมายว่า ถูกสุขลักษณะ, สะอาด, สิ่งที่ใช้เพื่อทำให้สะอาดและป้องกันสิ่งไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย

คำเตือน : อย่าห่วงอนามัยทางกายเสียจนลืมอนามัยทางใจ

บาลีวันละคำ (147)

2-10-55

อามย  ป.

ความเจ็บไข้, ความไม่สบาย.

(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

อามย

ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย; ตรงข้ามกับ อนามัย คือความสบาย, ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ (ประมวลศัพท์)

อามย = โรค, ความเจ็บไข้ (ศัพท์วิเคราะห์)

– อมติ รุชฺชตีติ อามโย อาการที่เสียดแทง, อาการที่เจ็บปวด

อมฺ ธาตุ ในความหมายว่าเสียดแทง, เจ็บ อย ปัจจัย

– อา ภุโส มิโนติ หึสตีติ อามโย อตฺตสมงฺคีนนฺติ อามโย อาการที่เบียดเบียนร่างกายอย่างยิ่ง

อา บทหน้า มิ ธาตุ ในความหมายว่าเบียดเบียน ณ ปัจจัย อิ เป็น เอ, เอ เป็น อย

– อามยติ คจฺฉตีติ อามโย อาการที่มาเบียดเบียน

อา บทหน้า มย ธาตุ ในความหมายว่าไป อ ปัจจัย

(ศัพท์วิเคราะห์)

อามย

(นิรุกติ ? เทียบ สัน. อามย etym.? cp. Sk. āmaya)

ความเจ็บป่วย, อาพาธ, ความลำบาก affliction, illness, misery;

เฉพาะที่เป็น อน (คุณ.) ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย, ไม่ทรุดโทรม, มีสุขภาพดี, มีอนามัยดี only as an˚ (adj.) not afflicted, not decaying, healthy, well

อนามย

(คุณ.) (น + อามย)

ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ, ไม่เสื่อมลง, มีอนามัย free from illness, not decaying, healthy

(บาลี-อังกฤษ)

อามัย

  น. ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย, ตรงข้ามกับ อนามัย คือ ความสบาย ความไม่มีโรค. (ป., ส.).

อนามัย

  น. ความไม่มีโรค, สุขภาพ.ว. เกี่ยวกับสุขภาพ, ถูกสุขลักษณะ, เช่น ข้าวอนามัย กรมอนามัย, (ปาก) สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน เช่น ผักอนามัย. (ป., ส.).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย