บาลีวันละคำ

ญาตกสังคหะ (บาลีวันละคำ 3,298)

ญาตกสังคหะ

สงเคราะห์ญาติ

คำในพระสูตร: ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ยา-ตะ-กา-นัน-จะ สัง-คะ-โห) 

ญาตกสังคหะ” อ่านว่า ยา-ตะ-กะ-สัง-คะ-หะ

แยกศัพท์เป็น ญาตก + สังคหะ 

(๑) “ญาตก

บาลีอ่านว่า ยา-ตะ-กะ รากศัพท์มาจาก ญา (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย + สกรรถ (กะ-สะ-กัด, ลง – ข้างท้าย มีความหมายเท่าเดิม)

: ญา + = ญาต + = ญาตก (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันเขารู้กันว่าเป็นใคร” หมายถึง ญาติพี่น้อง, ผู้มีสายโลหิตเดียวกัน, วงศ์ญาติ (a relation, relative, kinsman) 

คำว่า “ญาตก” เขียนแบบไทย ไม่มีคำอื่นต่อท้าย สะกดเป็น “ญาตกะ” (ยา-ตะ-กะ) คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

(๒) “สังคหะ

เขียนแบบบาลีเป็น “สงฺคห” อ่านว่า สัง-คะ-หะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + คหฺ (ธาตุ = จับ, ยึด, ถือเอา) + (อะ) ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น งฺ (สํ > สงฺ)

: สํ > สงฺ + คหฺ = สงฺคหฺ + = สงฺคห แปลตามศัพท์ว่า “การจับยึดไว้พร้อมกัน” 

สงฺคห” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การรวม, การรวบรวม, การสะสม (collecting, gathering, accumulation) 

(2) การประกอบ, การเก็บรวบรวม, การกอปรด้วย, การจัดชั้นหรือประเภท (comprising, collection, inclusion, classification) 

(3) การรวม, การประกอบความรู้สึก, องค์ (inclusion, constitution of consciousness, phase) 

(4) การประมวล, การรวบรวมคัมภีร์ (recension, collection of the Scriptures) 

(5) อัธยาศัยดี, ความกรุณา, ความเห็นใจ, ความเป็นมิตร, การช่วยเหลือ, การค้ำจุน, การป้องกัน, การอนุเคราะห์ (kind disposition, kindliness, sympathy, friendliness, help, assistance, protection, favour) 

ในที่นี้ “สงฺคห” ใช้ในความหมายตามข้อ (5) 

บาลี “สงฺคห” สันสกฤตเป็น “สงฺคฺรห” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “สงฺคฺรห” ไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สงฺคฺรห : (คำนาม) ‘สังคระหะ, สงเคราะห์,’ รจนาและสังเขป; ปริคณนา, ปริสังขยา, นามาวลี, รายชื่อ; ปริมาณ, สมุหะ, คณะ; การระงับ; การหยิบฉวย-จับกุม-หรือถือเอา; ประสาทน์; การปรนปรือหรือให้ความสุขด้วยประการต่างๆ; การคุ้มครองหรือรักษา; ที่เก็บติปาฐะ; สัญญา; ความสูง; เวค, ความเร็ว; การกำหมัด; อุตสาหะ; compilation and abridgment; a catalogue, a list, a list of names; quantity, collection; restraining; seizing, laying hold of, or taking; propitiating, pleasing or satisfying; protecting or guarding; a place where anything is kept; agreement or contract; assent or promise; loftiness; velocity; clenching the fist; effort.”

บาลี “สงฺคห” สันสกฤต “สงฺคฺรห” ภาษาไทยใช้เป็น “สงเคราะห์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สงเคราะห์ : (คำนาม) การช่วยเหลือ, การอุดหนุน, เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์; การรวบรวม เช่น หนังสือนามสงเคราะห์. (คำกริยา) อุดหนุน เช่น สงเคราะห์เด็กกำพร้า. (ส. สงฺคฺรห; ป. สงฺคห).”

ญาตก + สงฺคห = ญาตกสงฺคห (ยา-ตะ-กะ-สัง-คะ-หะ) แปลว่า “การสงเคราะห์ญาติ” 

ญาตกสงฺคห” เขียนแบบไทยเป็น “ญาตกสังคหะ” อ่านว่า ยา-ตะ-กะ-สัง-คะ-หะ

ขยายความ :

มงคลข้อที่ 17 ในมงคล 38 ตามนัยแห่งมงคลสูตร คำบาลีในพระสูตรว่า “ญาตกานญฺจ สงฺคโห” (ยา-ตะ-กา-นัน-จะ สัง-คะ-โห) แปลว่า “การสงเคราะห์ญาติ” 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [353] มงคล 38 บอกไว้ว่า –

17. ญาตกานญฺจ สงฺคโห (สงเคราะห์ญาติ — Ñātakasaṅgaha: rendering aid to relations)

…………..

ในคัมภีร์ท่านแสดงวิธีและอานิสงส์ของ “ญาตกสังคหะ = การสงเคราะห์ญาติ” ไว้ตอนหนึ่งดังนี้ –

…………..

สงฺคโห  นาม  เตสํ  โภคปาริชุญฺเญน  วา  พฺยาธิปาริชุญฺเญน  วา  อภิหตานํ  อตฺตโน  สมีปํ  อาคตานํ  ยถาพลํ  ฆาสจฉาทนธนธญฺญาทีหิ  สงฺคณฺหนํ.  โส  ปสํสาทีนํ  ทิฏฺฐธมฺมิกานํ  สุคติคมนาทีนญฺจ  สมฺปรายิกานํ  วิเสสานํ  อธิคมเหตุโต  มงฺคลนฺติ  วุจฺจติ.  ตสฺมา  โส  กตฺตพฺโพว. 

ญาติเหล่านั้นมาหาตน (หรือตนทราบข่าวว่า) สิ้นไร้ไม้ตอกหรือเจ็บไข้ได้ป่วย การเกื้อกูลด้วยของกิน ผ้านุ่งห่ม ทรัพย์ และธัญญาหารเป็นต้นตามกำลัง ชื่อว่าการสงเคราะห์. 

การสงเคราะห์ญาตินั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุบรรลุคุณพิเศษทั้งหลายอันเป็นไปในชาติปัจจุบันมีความสรรเสริญเป็นต้น และเป็นไปในสัมปรายภพมีการถึงสุคติเป็นต้น. 

เพราะฉะนั้น การสงเคราะห์ญาตินั้นบุคคลควรทำแท้.

ที่มา: มังคลัตถทีปนี ภาค 2 ข้อ 93 หน้า 80

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าประโยชน์ตนสำคัญที่สุด

: ประโยชน์ตนของญาติและเพื่อนมนุษย์ก็สำคัญพอๆ กัน

—————–

#บาลีวันละคำ (3,298) (ชุดมงคล 38)

23-6-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *