บาลีวันละคำ

อโสกจิต (บาลีวันละคำ 3,318)

อโสกจิต

จิตไร้เศร้า

คำในพระสูตร: อโสกํ (อะ-โส-กัง) 

อโสกจิต” อ่านว่า อะ-โส-กะ-จิด

อโสกจิต” เขียนแบบบาลีเป็น “อโสกจิตฺต” อ่านว่า อะ-โส-กะ-จิด-ตะ แยกศัพท์เป็น อโสก + จิตฺต 

(๑) “อโสก

อ่านว่า อะ-โส-กะ รากศัพท์มาจาก + โสก

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “โสก” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ จึงแปลง เป็น  

(ข) “โสก” อ่านว่า โส-กะ รากศัพท์มาจาก สุจฺ (ธาตุ = โศกเศร้า) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อุ ที่ สุ-(จฺ) เป็น โอ และแปลง เป็น (สุจฺ > โสจ > โสก)

: สุจฺ + = สุจณ > สุจ > โสจ > โสก (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความโศกเศร้า” หมายถึง ความเศร้า, ความโศก, ความทุกข์ใจ (grief, sorrow, mourning)

บาลี “โสก” ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “โศก” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โศก ๑, โศก– : (คำนาม) ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (พระอภัยมณี). (คำกริยา) ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. (คำวิเศษณ์) เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป. โสก).”

+ โสก = นโสก > อโสก แปลว่า “ไม่เศร้าโศก” หมายถึง ปราศจากความเศร้าโศก (without grief) 

อโสก” เขียนแบบที่เราคุ้นกันในภาษาไทยก็คือ “อโศก” ในที่นี้ขอสะกดเป็น “อโสก” แบบบาลี 

(๒) “จิตฺต” 

อ่านว่า จิด-ตะ รากศัพท์มาจาก จินฺต (ธาตุ = คิด) + ปัจจัย, ลบ นฺ ที่ จินฺตฺ (จินฺต > จิต

: จินฺต + = จินฺตต > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ทำหน้าที่คิด” (2) “สิ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์” หมายถึง จิต, ใจ, ความคิด (the heart, mind, thought)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จิตฺต” ไว้ดังนี้ –

The heart (psychologically), i. e. the centre & focus of man’s emotional nature as well as that intellectual element which inheres in & accompanies its manifestations; i. e. thought. (หัวใจ [ทางจิตวิทยา] คือศูนย์และจุดรวมของธรรมชาติที่เกี่ยวกับความรู้สึกของมนุษย์ กับส่วนของสติปัญญาซึ่งอยู่ในการแสดงออกเหล่านั้น; กล่าวคือ ความคิด)

จิตฺต” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “จิต” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จิต, จิต– : (คำนาม) ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบราณ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).”

อโสก + จิตฺต = อโสกจิตฺต (อะ-โส-กะ-จิด-ตะ) แปลว่า “จิตไม่เศร้าโศก” 

อโสกจิตฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อโสกจิต” (อะ-โส-กะ-จิด)

อโสกจิต” เป็นลักษณะจิตของผู้ที่ได้ฝึกฝนตนเองมาโดยลำดับตามแนวทางแห่งมงคลสูตร ตั้งแต่ไม่คบคนพาลเป็นต้นมาจนถึงทำพระนิพพานให้แจ้ง

เมื่อมาถึงขั้นนี้ ผลก็จะแสดงออก นั่นคือเมื่อถูกโลกธรรมกระทบ กล่าวคือเมื่อมีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ ได้รับสรรเสริญ ถูกนินทา ได้สุข ได้ทุกข์ จิตก็ไม่เศร้าโศก 

ขยายความ :

มงคลข้อที่ 36 ในมงคล 38 ตามนัยแห่งมงคลสูตร คำบาลีในพระสูตรว่า “อโสกํ” (อะ-โส-กัง) โดยที่ยังเกี่ยวเนื่องอยู่กับคำว่า “ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺสถูกโลกธรรมกระทบ จิต…” ดังนั้น มงคลข้อนี้จึงแปลว่า “ถูกโลกธรรมกระทบ จิตไม่เศร้าโศก” 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [353] มงคล 38 บอกไว้ว่า –

36. อโสกํ (จิตไร้เศร้า — Asokacitta: to have the mind which is free from sorrow)

…………..

ในพระไตรปิฎกท่านอธิบายลักษณะของ “โสกะ” ไว้ ซึ่งเมื่อเข้าใจโสกะแล้วก็เท่ากับเข้าใจ “อโสกะ” ได้ด้วย 

ความในพระไตรปิฎกเป็นดังนี้ –

…………..

กตโม  จ  ภิกฺขเว  โสโก. โย  โข  ภิกฺขเว  อญฺญตรญฺญตเรน  พฺยสเนน  สมนฺนาคตสฺส  อญฺญตรญฺญตเรน  ทุกฺขธมฺเมน  ผุฏฺฐสฺส  โสโก  โสจนา  โสจิตตฺตํ  อนฺโตโสโก  อนฺโตปริโสโก  อยํ  วุจฺจติ  ภิกฺขเว  โสโก.

ภิกษุทั้งหลาย โสกะเป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลาย ความโศก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ ความแห้งผาก ณ ภายใน ความโศก ณ ภายในของสัตว์ผู้ประจวบเข้ากับความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และถูกความทุกข์อันใดอันหนึ่งกระทบเข้าแล้ว อันใดเล่า ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า โสกะ.

ที่มา: มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 295

…………..

ในคัมภีร์ท่านแนะนำเพิ่มเติมไว้ดังนี้ –

…………..

อปิจ  ปุถุชฺชโน  นาม  สพฺพทา  อโสโก  ภวิตุํ  น  สกฺโกติเยว.  ตสฺมา  โสกการเณหิ  โลกธมฺเมหิ  ผุฏฺโฐ  ปฐมํ  โสจิโตปิ  สมาโน  ปจฺฉา  ตํ  ธมฺมสฺสวนาทินา  วิโนเทยฺย,  เอวํ  กโรนฺโต  หิ  สุขํ  วินฺทติ. 

อนึ่ง ธรรมดาปุถุชน ย่อมไม่อาจเพื่อจะเป็นผู้ไม่เศร้าโศกในกาลทุกเมื่อได้เลย เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้อันโลกธรรมอันเป็นเหตุแห่งความโศกกระทบแล้ว ถึงเบื้องต้นจะเศร้าโศก แต่ภายหลังควรบรรเทาความโศกนั้นด้วยการสดับพระธรรมเป็นต้น เพราะเมื่อทำอย่างนี้ย่อมได้พบกับความสุข.

ที่มา: มังคลัตถทีปนี ภาค 2 ข้อ 580 หน้า 447

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยกจิตให้อยู่เหนือกระแสโลก

: จะไม่ต้องเศร้าโศกตลอดไป

#บาลีวันละคำ (3,318) (ชุดมงคล 38)

13-7-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *