บาลีวันละคำ

อนันตัง (บาลีวันละคำ 3,334)

อนันตัง

อะไรบ้างไม่มีที่สุด

อ่านว่า อะ-นัน-ตัง

อนันตัง” เขียนแบบบาลีเป็น “อนนฺตํ” รูปศัพท์เดิมเป็น “อนนฺต” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ ประสมขึ้นจากคำว่า + อนฺต 

(๑) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “อนฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ – จึงแปลง เป็น อน 

(๒) “อนฺต” 

อ่านว่า อัน-ตะ รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

+ อนฺต แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ

: > อน + อนฺต = อนนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีที่สุด” หมายถึง หาที่สุดมิได้, ไม่จบสิ้น, ไม่มีขอบเขต (endless, infinite, boundless)

อนนฺต” เป็นคุณศัพท์ ถ้าทำหน้าที่ขยายคำนาม เปลี่ยนรูปไปตามคำนามที่ไปขยาย ถ้าทำหน้าที่ขยายคำกริยา นิยมเปลี่ยนรูปเป็น “อนนฺตํ” หรือจะว่า อนนฺต + อํ (อัง) ทุติยาวิภัตติ (วิภัตตินามที่สอง) เอกวจนะ สำเร็จรูปเป็น “อนนฺตํ” ดังนี้ก็ได้

บาลี “อนนฺต” ในภาษาไทยใช้เป็น “อนันต-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “อนันต์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนันต-, อนันต์ : (คำวิเศษณ์) ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).”

ตามศัพท์ อนนฺต > อนันต์ ไม่ได้แปลว่า “มากล้น” แต่สิ่งใด “ไม่มีที่สุด” สิ่งนั้นย่อมส่อนัยว่า มากมาย มากเหลือล้นนั่นเอง

อนันต์” ใช้ควบกับ “อเนก” เป็น “อเนกอนันต์” คนเก่าๆ มักพูดเป็นภาษาปากว่า “อเนกอนันตัง” เช่น “มีสมบัติพัสถานตั้งเท่าไรไหนหนึ่งเป็นอเนกอนันตัง” หมายความว่า มีทรัพย์สมบัติมากมายล้นเหลือ 

หมายเหตุ: คำว่า “เท่าไรไหนหนึ่ง” เป็นคำสร้อยสี่พยางค์ มีความหมายว่า มากมาย นิยมพูดกันในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อันเป็นภูมิลำเนาของผู้เขียนบาลีวันละคำ ไม่ยืนยันและไม่แน่ใจว่าคนไทยในพื้นที่อื่นจะพูดอย่างนี้และเข้าใจความหมายนี้หรือไม่

แถม :

คัมภีร์อัฎฐสาลินีกล่าวไว้ว่า สิ่งที่เป็น “อนันตัง” คือหาที่สุดมิได้ มี 4 อย่าง คือ –

(1) อากาศ (อากาโส  อนนฺโต)

(2) จักรวาล (จกฺกวาฬานิ  อนนฺตานิ)

(3) หมู่สัตว์คือสรรพชีพ (สตฺตนิกาโย  อนนฺโต)

(4) พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (พุทฺธญาณํ  อนนฺตํ)

ขอเก็บความคำอธิบายในคัมภีร์มาเสนอไว้ในที่นี้ ดังนี้ 

…………..

การกำหนดอากาศว่า ในทิศบูรพา ในทิศปัจฉิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ว่ามีเท่านี้ร้อยโยชน์หรือเท่านี้พันโยชน์ ย่อมกำหนดไม่ได้ ถ้าเอาค้อนเหล็กเท่าขุนเขาพระสุเมรุสิทุบแผ่นดินให้ทะลุเป็นช่องแล้วโยนลงไป ค้อนเหล็กนั้นก็จะพึงตกลงไปโดยหามีที่รองรับไว้มิได้เลย ชื่อว่าอากาศเป็นอนันตะคือไม่มีที่สุดอย่างนี้

การกำหนดจำนวนจักรวาลทั้งหลายว่ามีหลายร้อยหรือว่าหลายพันหรือว่าหลายแสนจักรวาล ย่อมกำหนดไม่ได้ ผิว่าท้าวมหาพรหมทั้งสี่ผู้เกิดในอกนิฏฐภพ ผู้ประกอบด้วยความเร็วสามารถแล่นผ่านแสนจักรวาลไปเพียงชั่วเวลาลูกธนูผ่านเงาตาล พึงแล่นไปโดยความเร็วปานดังว่านั้นด้วยคิดว่าอาตมะจักดูที่สุดจักรวาล ดังนี้ ท้าวมหาพรหมเหล่านั้นไม่ทันเห็นที่สุดแห่งจักรวาลก็จะพึงดับขันธ์ไปเสียก่อนโดยแท้ ชื่อว่าจักรวาลทั้งหลายเป็นอนันตะคือไม่มีที่สุดอย่างนี้

การกำหนดจำนวนแห่งหมู่สัตว์คือสรรพชีพที่อยู่ในน้ำและที่อยู่บนบกในจักรวาลทั้งหลายว่ามีประมาณเท่านี้ๆ ย่อมกำหนดไม่ได้ หมู่สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นอนันตะคือไม่มีที่สุดอย่างนี้

พุทธญาณชื่อว่าเป็นอนันตะคือไม่มีที่สุดยิ่งกว่าอนันตะทั้งสามนั้นโดยแท้ หมู่สัตว์อันไม่มีที่สุดที่เกิดอยู่ในจักรวาลอันไม่มีที่สุดจะคิดเรื่องใดๆ คิดไปอย่างไม่มีที่สุด แต่พุทธญาณคือพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าย่อมสามารถกำหนดรู้ทันได้ทั้งหมดทั้งสิ้นทุกขณะจิตนั้นๆ พุทธญาณชื่อว่าเป็นอนันตะคือไม่มีที่สุดยิ่งกว่าอนันตะทั้งสามนั้นด้วยประการฉะนี้

…………..

บางท่านกล่าวว่า กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็เป็น “อนันตะ” หาที่สุดมิได้ด้วยเช่นกัน เช่น มีเท่านี้แล้วอยากได้เพิ่มเป็นเท่านั้น ครั้นพอมีเท่านั้นก็อยากได้เพิ่มเป็นเท่าโน้นต่อๆ ไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด

แต่กิเลสตัณหาก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถกำจัดให้สิ้นสุดลงได้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อะไรจะมีที่สุดหรือไม่มีที่สุดก็ช่างมัน

: แต่กิเลสในใจเราท่านนี่เมื่อไรจะทำให้มันสิ้นสุดลงเสียที?

#บาลีวันละคำ (3,334)

29-7-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *