บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

การศึกษาบาลี : การศึกษาที่มุ่งคว้าแต่เงา

การศึกษาบาลี : การศึกษาที่มุ่งคว้าแต่เงา 

———————————

ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่จะถึงนี้ จะเป็นช่วงเวลาตรวจข้อสอบบาลี 

สถานที่ตรวจคือวัดสามพระยา กรุงเทพฯ

เป็นวันเวลาที่หลายคนรอคอย 

เราจะได้พระภิกษุสามเณรที่จบประโยค ๙ อีกจำนวนหนึ่ง-เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้ว

……………

ตอนที่มีการสอบบาลีสนามสอบวัดมหาธาตุ ราชบุรี ผมชวนญาติๆ ไปเลี้ยงพระสอบ-ดังที่เคยเล่ามาแล้ว 

ระหว่างวันเวลานั้นผมคิดอะไร-ก็เคยเล่ามาแล้ว 

นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดในช่วงเวลานั้น

ผมคิดอย่างนี้ ….

การสอบเพียง ๒-๓ วัน เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อวัดว่าเราจัดการกับข้อความในแผ่นกระดาษได้ดีแค่ไหน-ก็เท่านั้น

สาระจริงๆ ของการศึกษาบาลีอยู่ที่ความรู้ และความสามารถในการแสดงออกซึ่งความรู้นั้น 

เช่นการศึกษาสืบค้นพระคัมภีร์ 

การคิดขบข้อธรรม 

และการนำเสนอต่อผู้อื่นหรือต่อสังคม 

นี่ต่างหากคือตัวชี้วัดที่แท้จริง หรือ “ตัวจริง” ของการศึกษาบาลี

ระหว่าง – 

๑ การสอบผ่าน เพราะสามารถจัดการกับข้อความในแผ่นกระดาษได้ดี 

กับ – 

๒ การศึกษาสืบค้นพระคัมภีร์ การคิดขบข้อธรรม และการนำเสนอต่อผู้อื่นหรือต่อสังคมอยู่ตลอดเวลา 

เราควรต้องการอะไร? 

หลายท่านอยากตอบว่า ต้องการทั้งสอง 

แต่จริงๆ แล้ว การสอบผ่านเป็นเพียงตัวเลือกที่เป็น “ตัวลวง” หรือเป็นเพียง “เงา” ของตัวจริงเท่านั้น

แต่น่ากังวลตรงที่-เราส่วนมากในบัดนี้นิยมไล่คว้าเงามากกว่าที่จะคว้าตัวจริง 

ผลก็คือหลายท่านสามารถจับเงาได้สมปรารถนา 

แต่อนิจจา มีแต่ความว่างเปล่า 

ไม่มีตัวจริงอยู่ในเงานั้นเลย

อย่างดีที่สุดที่เราพูดกันในเวลานี้ก็คือ เมื่อท่านสอบได้ประโยคสูงสุดแล้ว ต่อไปท่านจะได้ “เป็นกำลัง” ของพระศาสนา 

ซึ่งก็ยังเป็นแต่เพียงความคาดหวัง 

ไม่มีแผน 

ไม่มีโครงการที่ชัดเจน 

จะให้ท่านไปทำอะไร 

เป็นกำลังแบบไหน 

เป็นกำลังให้ใคร

มองเห็นเป็นแต่เงาๆ

ภาพจริงเป็นอย่างไร …

ไม่รู้ 

ไม่มีใครรู้

แล้วแต่บุญกรรมจะนำไป 

……………

นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิด

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๕ มีนาคม ๒๕๖๓

๑๐:๔๒

———————-

ความเดิม

———————-

๒๑ มกราคม ๒๕๖๑

กระผมคิดอย่างนี้ …

การสอบเพียง ๒-๓ วัน เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อวัดว่าเราจัดการกับข้อความในแผ่นกระดาษได้ดีแค่ไหน-ก็เท่านั้น

สาระจริงๆ ของการศึกษาอยู่ที่ความรู้ ความสามารถในการแสดงออกซึ่งความรู้นั้น เช่นการศึกษาสืบค้น การคิดขบข้อธรรม และการนำเสนอต่อผู้อื่นหรือต่อสังคม นั่นต่างหากคือตัวชี้วัดที่แท้จริง หรือ “ตัวจริง” ของการศึกษา

ระหว่างการสอบผ่านเพราะสามารถจัดการกับข้อความในแผ่นกระดาษได้ดี กับการได้ปฏิบัติดำเนินตามสาระจริงๆ ของการศึกษาอยู่ตลอดเวลา 

เราควรต้องการอะไร? 

หลายท่านอยากตอบว่า ต้องการทั้งสอง 

แต่จริงๆ แล้ว การสอบผ่านเป็นเพียงตัวเลือกที่เป็น “ตัวลวง” หรือเป็นเพียง “เงา” ของตัวจริงเท่านั้น

แต่น่ากังวลตรงที่เราส่วนมากในบัดนี้นิยมไล่คว้าเงามากกว่าที่จะคว้าตัวจริง 

ผลก็คือหลายท่านสามารถจับเงาได้สมปรารถนา 

แต่อนิจจา มีแต่ความว่างเปล่า 

ไม่มีตัวจริงอยู่ในเงานั้นเลย

กระผมคิดอย่างนี้

๕ มีนาคม ๒๕๖๔

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *