บาลีวันละคำ

อาวรณ์ (บาลีวันละคำ 322)

อาวรณ์

ไทยอ่านว่า อา-วอน บาลีเป็น “อาวรณ” อ่านว่า อา-วะ-ระ-นะ

อาวรณ” มาจาก อา + วร (ธาตุ = ห้าม, ป้องกัน) + ยุ (ปัจจัย = อน แปลง เป็น : อา + วร + (ยุ = อน ) อณ = อาวรณ แปลตามศัพท์ว่า “ห้ามทั่วไป

อาวรณ” ในภาษาบาลีหมายถึงการขัดขวาง, การปกปิด, การปิดกั้น, เครื่องกั้น และขยายไปถึงฉาก, โล่, ทำนบ, ป้อม, กำแพง, เชิงเทิน

ถ้าเป็นกริยาก็หมายถึง ปฏิเสธ, ขัดขวาง, ยับยั้ง, ไม่ยอม, ไม่ให้เข้า

อาวรณ์” ในภาษาไทยมักเข้าใจกันในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง นิยมใช้เข้าคู่กับ “อาลัย” เป็น “อาลัยอาวรณ์

ความหมายในภาษาไทยเป็น “ผล” ที่เกิดจาก “เหตุ” ตามความหมายในบาลี คือ เพราะถูกขัดขวางไม่ให้เข้าไปถึง- หรือออกไปหาคน เรื่อง หรือสิ่ง ที่ต้องการจะเข้าให้ถึงหรือไปหา จึงเกิดอาการห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง

อาลัย” ออกไปจากสิ่งนั้นไม่ได้ = “กลับไม่ได้”

อาวรณ์” เข้าไปหาสิ่งนั้นไม่ได้ = “ไปไม่ถึง”

ใครเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าจะเดินทางชีวิตหรือทางธรรมดา ท่านว่า น่าเวทนาพอๆ กัน

—————–

(การบ้านส่งครูพีร์ บีพีเค อีกคำหนึ่ง)

บาลีวันละคำ (322)

30-3-56

วรณ = ป้อม, กำแพง, ปราการ (ศัพท์วิเคราะห์)

วุโนตีติ วรโณ สิ่งที่ป้องกัน

วร ธาตุ (ในหนังสือว่า วุ ธาตุ)ในความหมายว่าป้องกัน ยุ ปัจจัย = อน แปลง น เป็น ณ

วรณ (บาลี-อังกฤษ) อ้าง สัน.ว่า เชิงเทิน, ป้อม, ปราการ rampart, causeway, wall

อาวรณ นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

การปกปิด, การกั้น, อุปสรรค, ฉาก, เครื่องกั้น, ริมฝีปาก, ทำนบ.

อาวรติ ก.

(ก) ย่อมห้าม, ย่อมปฏิเสธ;  (ข) ย่อมปิด, ย่อมกั้น

อาวรณ์ (ประมวลศัพท์)

เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง; ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง

อาวรณ  (บาลี-อังกฤษ)

ปิดกั้น, ไม่ให้เข้า, ต้านทาน

การกีดขวาง, อุปสรรค, การขัดขวาง

อาวรติ

ปิด, งดเว้น, ปฏิเสธ, ยับยั้ง, ระงับ, ไม่ยอม, ขัดขวาง

อาวรณ์

 [-วอน] ก. ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์.น. เครื่องกั้น, เครื่องกําบัง. (ป., ส.).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย