บาลีวันละคำ

พาหะ-พ่าห์ (บาลีวันละคำ 398)

พาหะ-พ่าห์

บาลีเป็น “วาห” อ่านว่า วา-หะ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้นำไปให้ถึง” “ผู้พยายาม (ที่จะไป)” “เครื่องนำไป” มีความหมายว่า การบรรทุก, การนำไป, ผู้นำไป, ผู้นำหน้าไป, ม้า, เกวียน (รวมถึงยานพาหนะอื่นๆ) และ เป็นชื่อมาตราตวง อัตรา 100 ถังเท่ากับ 1 วาหะ เช่นที่เราพูดว่า “ข้าวเปลือกเกวียนละ…

เกวียน” คำนั้นก็คือ “วาห” คำนี้

วาห” ภาษาไทยใช้เป็น “พาหะ” (แปลง เป็น ) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายไว้ดังนี้ (1) ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ม้า (2) แขน (3) ตัวนํา เช่น ยุงก้นปล่องเป็นพาหะไข้มาลาเรีย

พาห-พาหะ” เป็นคำเดียวกับที่เขียนว่า “พ่าห์” (หรือ พาห) เช่น ครุฑพ่าห์ (= ครุฑแบก) ดุลพ่าห์ (ดุลพาห) (= ผู้ทรงไว้ซึ่งคันชั่ง = ผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม)

สมมุติฐาน

การอ่าน “พาห” ว่า “พ่า” ชวนให้เห็นว่าอักขรวิธีโบราณใช้ “” เป็นวรรณยุกต์เอก ดังที่คนเก่าเขียนว่า (โปรดสังเกตว่าที่ ไม่มีการันต์) –

เสนห ให้อ่านว่า สะ-เหฺน่

อุตสาห ให้อ่านว่า อุด-ส่า

เลห ให้อ่านว่า เล่

โลห ให้อ่านว่า โล่

พาห ให้อ่านว่า พ่า

คนสมัยใหม่ไม่เข้าใจหลักของท่าน ไปใส่วรรณยุกต์เอกแล้วการันต์ที่

ถ้าเป็นคำบาลีสันสกฤตที่มี อยู่ท้ายพยางค์ก็รอดตัวไป

แต่ถ้าไปโดนคำไทย เช่น “โลห” (ก็คือจะเขียน “โล่” นั่นเอง แต่ใช้ แทนไม้เอก) พอเขียนเป็น “โล่ห์” ไปพ้องกับบาลีว่า “โลห” ก็ว่าคนเก่าเขียนผิด เพราะโล่ไม่ได้ทำด้วยโลหะเสมอไป แก้เป็น “โล่”

: ไม่รู้ว่า “โลห” คือ “โล่” ไม่รู้ว่าใครโง่กว่ากัน

บาลีวันละคำ (398)

17-6-56

วาห” ภาษาไทยใช้เป็น “พาหะ” (แปลง เป็น ) ซึ่งรูปไปคล้ายกับ “พาหา” และ “พาหุ” ที่แปลว่า แขน ทั้งมาจากรากเดิมเดียวกัน คือแปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องนำไป” (พาหะ กับ พาหา/พาหุ เป็นคนละคำกัน)

วาห ๑ ม้า (หย ตุรงฺค ตุรค อสฺส สินฺธว) (ศัพท์วิเคราะห์)

วาหตีติ วาโห ผู้พยายาม

วาห ธาตุ ในความหมายว่าพยายาม อ ปัจจัย

วหตีติ วาโห ผู้นำไปให้ถึง

วห ธาตุ ในความหมายว่านำไปให้ถึง ณ ปัจจัย พฤทธิ์ อ เป็น อา

วาห ๒ เกวียน (มาตราตวงเท่ากับ ๑๐๐ ถังข้าวเปลือก)

วหตีติ วาโห ยานนำไป

วห ธาตุ ในความหมายว่านำไปให้ถึง ณ ปัจจัย พฤทธิ์ อ เป็น อา

พาหา แขน

วหติ เอตายาติ พาหา อวัยวะเป็นเครื่องนำไป

วห ธาตุ ในความหมายว่านำไป ณ ปัจจัย อา.อิต.พฤทธิ์ อ เป็น อา แปลง ว เป็น พ ลบสระหน้า

พาหุ แขน

วหติ อเนนาติ วาหุ, วาหุเอว พาหุ อวัยวะเป็นเครื่องนำไป

วห ธาตุ ในความหมายว่านำไป ณุ ปัจจัย พฤทธิ์ อ เป็น อา แปลง ว เป็น พ ลบสระหน้า

วาห (คุณ.นาม) (บาลี-อังกฤษ)

๑ การบรรทุก, การนำ; ผู้นำ carrying, leading; a leader

๒ เกวียน, พาหนะ; ของที่บรรทุกเต็มรถคันหนึ่ง a cart, vehicle; also cartload

วาห ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ผู้นำไป.

ป.

เกวียน.

พาหา อิต.

แขน, เสา, ด้าม.

พาหุ ป.,อิต.

แขน, เสา, ด้าม.

วาห ในคัมภีร์

สีลํ  สมฺพลเมวคฺคํ             สีลํ  ปาเถยฺยมุตฺตมํ 

สีลํ  เสฏฺโฐ  อติวาโห         เยน  วาติ  ทิโส ทิสํ ฯ

ศีลเป็นกำลังอย่างเลิศ

เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม

เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก

เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ

สีลวเถรคาถา พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ ข้อ ๓๗๘

วาหนะ

  [วาหะ-] น. พาหนะ. (ป., ส.).

วาหะ ๑

  ดู พาห ๑, พ่าห์.

วาหะ ๒

  น. ชื่อมาตราตวงอย่างหนึ่ง. (ป., ส.).

วาหินี

  น. ทัพ, กองทัพ; หมวด; แม่นํ้า, คลอง. (ส.).

พ่าห์, พาหะ ๑

  น. ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ม้า. (ป., ส. วาห).

พาหนะ

  [-หะนะ] น. เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).

พาหะ ๒, พาหา

  น. แขน. (ดู พาหุ). (ป., ส.).

พาหะ ๓

  น. ตัวนํา เช่น ยุงก้นปล่องเป็นพาหะไข้มาลาเรีย; (กฎ) คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏ แต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้.

พาหุ

  น. แขน. (ป., ส.).

สมมุติฐาน

อักขรวิธีโบราณ ใช้ ห แทนวรรณยุกต์เอก (ไม้เอก) ในคำที่มาจากบาลีสันสกฤต

เครดิต

ผู้เขียนรับราชการเป็นนักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ อ่านใบลาน-สมุดข่อย อยู่ ๓ ปี ๔ เดือน สังเกตเห็นหลักการนี้

ข้อพิสูจน์

เสนห ให้อ่านว่า สะ-เหฺน่

พาห ให้อ่านว่า พ่า เช่น พระครุฑพาห ดุลพาห

อุตสาห ให้อ่านว่า อุด-ส่า

แล้วเลยขยายไปถึงคำบางคำที่ไม่ใช่บาลีสันสกฤตก็พลอยใช้หลักนี้ด้วย เช่น

เล เขียนเป็น เลห คือต้องการให้อ่านว่า เล่

โล เขียนเป็น โลห คือต้องการให้อ่านว่า โล่

คนสมัยต่อมาไม่ได้สำเหนียกหลักอันนี้ พอเห็นคำว่า เลห อ่านว่า เล่ โลห อ่านว่า โล่ จึงเติมวรรณยุกต์เอกตามอักขรวิธีในสมัยของตน แล้วการันต์ที่ ห เพราะเห็นว่าไม่ได้ออกเสียง เลห จึงเขียนเป็น เล่ห์ โลห เป็น โล่ห์ เป็นเหตุให้คนข้างหลังพากันสันนิษฐานว่า เล่ห์ โล่ห์ เป็นคำบาลีสันสกฤต

เฉพาะ โล่ห์ รูปไปพ้องคำว่า โลหะ จึงลงความเห็นว่า โล่ (เครื่องปิดป้องศัตราวุธ) เขียนเป็น โล่ห์ เพราะคนเขียนแต่เดิมเข้าใจว่า โล่ ทำด้วยโลหะ  แต่โล่ไม่จำเป็นต้องทำด้วยโลหะ จึงแก้ให้เขียนเป็น โล่ ไม่ใช่ โล่ห์ แบบเดิม (คือไปเข้าใจว่าคนเก่าลากเข้าวัด แต่ที่จริงเป็นเพราะไม่สังเกตหลักของท่านเอง)

คำชวน

ขอเชิญผู้สนใจภาษา หาข้อพิสูจน์มาหักล้างสมมุติฐานข้างต้น เพื่อความถูกต้องทางวิชาการ

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย