บาลีวันละคำ

สยามมกุฎราชกุมาร (บาลีวันละคำ 439)

สยามมกุฎราชกุมาร

สยาม” เป็นชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482; คำนี้หมายถึง “ของประเทศไทย” ก็ได้

มกุฎ” บาลีเป็น “มกุฏ” (มะ-กุ-ตะ, ฏ ปฏัก สะกด) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องประดับ” หมายถึงเครื่องสวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน และมีความหมายว่า ยอด, สูงสุด, ยอดเยี่ยม ภาษาไทยใช้ว่า “มกุฏ” (มะกุด) และ “มงกุฏ” (มง-กุด) (ฎ ชฏา สะกด)

ราชกุมาร” บาลีอ่านว่า รา-ชะ-กุ-มา-ระ คำว่า “กุมาร” แปลตามรากศัพท์ว่า “ผู้เล่นสนุก” “ผู้ขีดดินเล่น” “ผู้สนุกอยู่บนดิน” “ผู้อันบิดามารดาปรารถนา

ราชกุมาร” หมายถึง เจ้าชาย, โอรสของพระราชา

สยามมกุฎราชกุมาร” (สะ-หฺยาม-มะ-กุด-ราด-ชะ-กุ-มาน) แปลตามศัพท์ว่า “เจ้าชายผู้ได้รับมงกุฎแห่งสยาม” ขยายความว่า เจ้าชายแห่งสยามผู้ได้รับเครื่องประดับพระเศียรอันเป็นเครื่องหมายแห่งผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป

พระอิสริยยศ “สยามมกุฎราชกุมาร” (เทียบคำอังกฤษ The Crown Prince) นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงกำหนดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 เพื่อเป็นรัชทายาทแทนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า และตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งใช้สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

สยามมีพระราชกุมารที่ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” จนถึงปัจจุบันนับได้ 3 พระองค์ ได้แก่ –

1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร (ในรัชกาลที่ 5)

2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ในรัชกาลที่ 5)

3. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลปัจจุบัน)

: 28 กรกฎาคม วันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

ขอจงทรงพระเจริญ

บาลีวันละคำ (439)

28-7-56

มกุฏ, มุกุฏ = มงกุฏ, เทริด, ที่ครอบศีรษะ (กิรีฏ) (ศัพท์วิเคราะห์)

มกติ มณฺเฑติ เอเตนาติ มกุฏํ สิ่งเป็นเครื่องประดับ

มกิ ธาตุ ในความหมายว่าประดับ อุฏ ปัจจัย. แปลง อ เป็น อุ ได้รูปเป็น มุกุฏ บ้าง

(มกิ = มณฺฑเน ประดับ, ยายเน = ไป, ถึง)

มกุฏ ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

มงกุฏ, ยอด.

มกุฏ (อิต.) (บาลี-อังกฤษ)

เทริด, ตราที่เป็นเครื่องหมาย a crest

crest (สอ เสถบุตร)

๑. หงอน, ยอด เช่น ยอดภูเขาทอง ยอดของคลื่น ยอดหมวก ขึ้นไปถึงยอด

๒. ขนบนหัวไก่, ขนแผงคอม้า

๓. ตราประจำตระกูล

S. top,peak,crown

กุมาร (ศัพท์วิเคราะห์)

๑. ผู้เล่นสนุก

๒. ผู้อันบิดามารดาปรารถนา

๓. ผู้ขีดดินเล่น

๔. ผู้สนุกอยู่บนดิน

กุมาร (บาลี-อังกฤษ)

กุมาร, บุตร a young boy, son

กุมาร ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

กุมาร, เด็กชาย, เด็กวัยรุ่น; เทพเจ้าแห่งสงคราม.

ราชกุมาร ป.

ราชกุมาร, เจ้าชาย, โอรสของพระราชา.

สยาม, สยาม-

  [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.

มกุฎ

  [มะกุด] น. มงกุฎ.ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.).

มกุฎราชกุมาร

  [มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป.

มงกุฎ

  น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่องสวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย.ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.

(พจน.๔๒ – ฎ ชฎา สะกด)

กุมาร

  [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.

กุมารา

  (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).

สยามมกุฎราชกุมาร

The Crown Prince of Thailand (or Siam) (Thai: สยามมกุฎราชกุมาร: Sayammakutratchakuman)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารของประเทศไทย ซึ่งเป็นพระอิสริยยศของผู้ที่จะสืบราชสมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์ไทย โดยสยามมกุฎราชกุมารจะดำรงพระยศนี้ไปจนกว่าพระมหากษัตริย์จะสวรรคตหรือสละราชสมบัติ

พระอิสริยยศนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงกำหนดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 เพื่อเป็นรัชทายาทแทนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า และตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งใช้สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

ประวัติ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงตรากฎมณเฑียรบาลซึ่งมีการลำดับยศของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั่วไป ในกฎมณเฑียรบาลนั้นลำดับพระยศของพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเป็น “สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า” มีพระเกียรติยศเหนือกว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวง แต่ก็ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่า ตำแหน่งสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าเป็นรัชทายาท จนกระทั่ง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาพลเรือนขึ้น จึงทรงกำหนดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอซึ่งได้เฉลิมพระราชมณเฑียรแล้วทรงศักดินาหนึ่งแสนดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระมหาอุปราช แต่ตำแหน่งพระมหาอุปราชก็หาได้แต่งตั้งในทุกแผ่นดินไม่[1]

ส่วนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระมหาอุปราช (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) ในทุกรัชกาล โดยเป็นตำแหน่งสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ผู้มีความดีความชอบยิ่งใหญ่เฉพาะพระองค์ เมื่อพระมหาอุปราชพระองค์นั้นเสด็จสวรรคตแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีความชอบเสมอเหมือน พระมหากษัตริย์ก็มิทรงแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่พระมหาอุปราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคต พระองค์มีพระราชดำริว่า ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและอาจทำให้ชาวต่างประเทศเข้าใจสับสน และมีพระราชดำริว่า พระราชอิสริยยศ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช” ซึ่งเรียกว่า สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ที่ได้ตั้งขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เป็นตำแหน่งที่สอดคล้องตามแบบอย่างการสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในนานาอารยประเทศ ที่มีราชประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นมกุฎราชกุมารดำรงตำแหน่งรัชทายาท[2] จึงมีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2428 และโปรดให้มีตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะทรงเป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์สืบไป

รายพระนามสยามมกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จนถึงปัจจุบันนับได้ 3 พระองค์ ได้แก่

พระบรมฉายาลักษณ์สยามมกุฎราชกุมารความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์สถาปนาสิ้นสุดตำแหน่ง
Maha Vajirunhis.jpgสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชโอรส (ชั้นเจ้าฟ้า) พระองค์ใหญ่
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติแต่
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
14 มกราคม พ.ศ. 2429 [1]สวรรคต
(4 มกราคม พ.ศ. 2437)
King Vajiravudh portrait photograph.jpgสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชโอรส (ชั้นเจ้าฟ้า) พระองค์รอง
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติแต่
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
4 มกราคม พ.ศ. 2437[7]ครองราชสมบัติ
(23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
HRH Vajiralongkorn (Cropped).jpgสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชโอรส
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ประสูติแต่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515[8]อยู่ในตำแหน่ง
(ปัจจุบัน)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย