บาลีวันละคำ

อนันตริยกรรม (บาลีวันละคำ 1,057)

อนันตริยกรรม

อ่านว่า อะ-นัน-ตะ-ริ-ยะ-กำ

ประกอบด้วย อนันตริย + กรรม

(๑) “อนันตริย

เขียนแบบบาลีเป็น “อนนฺตริย” (อะ-นัน-ตะ-ริ-ยะ) ประกอบด้วย + อนฺตร + อิย

อนฺตร” รากศัพท์มาจาก อติ (ธาตุ = ผูก) + อร ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุแล้วแปลงเป็น , ลบสระที่สุดธาตุ

: อติ > อํติ > อนฺติ > อนฺต + อร = อนฺตร แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่ผูกสองข้างไว้” หมายถึง ภายใน, ระหว่าง (inside, in between)

กระบวนการทางไวยากรณ์ :

(ไม่, ไม่มี, ไม่ใช่) แปลงเป็น “อน” (อะ-นะ) ในกรณีที่คำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (ในที่นี้คำหลังคือ “อนฺตรอนฺ– เป็นสระ) + อนฺตร + อิย ปัจจัย

: > อน + อนฺตร = อนนฺตร + อิย = อนนฺตริย แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีระหว่าง” หมายถึง ไม่มีอะไรคั่นอยู่หรือเหลืออะไรอยู่ในระหว่างกลาง, ติดตามไปอย่างใกล้ชิด, ไม่หยุดหย่อน, ต่อไป, ติดต่อกัน (having or leaving nothing in between, immediately following, incessant, next, adjoining)

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กรรม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย –

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

อนันตริย + กรรม = อนันตริยกรรม แปลว่า “กรรมที่ให้ผลไม่มีระหว่าง

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [245] แสดงเรื่อง “อนันตริยกรรม” ไว้ดังนี้ :

อนันตริยกรรม 5 (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลรุนแรงต่อเนื่องไป โดยไม่มีกรรมอื่นจะมากั้นหรือคั่นได้ — Anantariya-kamma: immediacy-deeds; heinous crimes which bring immediate, uninterrupted and uninterruptible results) :

1. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา — Mātughāta: matricide)

2. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา — Pitughāta: patricide)

3. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์ — Arahantaghāta: killing an Arahant)

4. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป — Lohituppāda: causing a Buddha to suffer a contusion or to bleed)

5. สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์ — Saŋghabheda: causing schism in the Order)

……..

ข้อควรเข้าใจ :

ผลแห่งอนันตริยกรรม กล่าวตามสำนวนภาษาวัดว่า “ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน” หมายความว่า ผู้ทำอนันตริยกรรมไม่ว่าจะข้อใดข้อหนึ่ง แม้ว่าก่อนหน้านั้นหรือต่อมาภายหลังจะได้บำเพ็ญบุญมากมายขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่สามารถไปเกิดในภพภูมิเทวดาได้เลย และแม้จะได้ฟังธรรมปฏิบัติจิตภาวนาขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่สามารถจะบรรลุมรรคผลใดๆ ได้เลย เมื่อสิ้นบุญในภพภูมิมนุษย์แล้วต้องเกิดในนรกสถานเดียว

สัจธรรม :

อนันตริยกรรมผูกพันกับนรก-สวรรค์

นรก-สวรรค์ผูกพันกับความเชื่อของมนุษย์

๑ นรกสวรรค์ไม่ใช่ความจริงตามความเชื่อ

แต่เป็นความจริงตามความจริง

๒ เชื่อหรือไม่เชื่อ เป็นสิทธิ

แต่การทำความเห็นให้ตรงกับความจริง เป็นหน้าที่

๓ ถ้าใช้สิทธิ แต่ไม่ทำหน้าที่ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึงความจริง

10-4-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย