บาลีวันละคำ

ธรรมสังเวช (บาลีวันละคำ 1,092)

ธรรมสังเวช

อ่านว่า ทำ-มะ-สัง-เวด

บาลีเป็น “ธมฺมสํเวค” อ่านว่า ทำ-มะ-สัง-เว-คะ

ประกอบด้วย ธมฺม + สํเวค

(๑) “ธมฺม” (ทำ-มะ)

รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และ ต้นปัจจัย

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม สันสกฤตเป็น ธรฺม เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม

ธมฺมธรรม” มีความหมายหลายหลาก คือ :

สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

(๒) “สํเวค” (สัง-เว-คะ)

รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อม, ร่วมกัน) + วิชฺ (ธาตุ = มี, เป็น, รู้สึก) (นัยหนึ่งว่า วิชิ ธาตุ = กลัว, หวั่นไหว. ลบสระที่สุดธาตุ : วิชิ > วิช) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-(ชฺ) เป็น เอ, แปลง เป็น

: สํ + วิชฺ = สํวิช + = สํวิชณ > สํวิช > สํเวช > สํเวค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ความรู้สึกร่วมกัน” (2) “ความกลัวพร้อม

สํเวค” ความหมายตามศัพท์คือ ความปั่นป่วน, ความกลัว, ความกังวล; ความตื่นเต้น, ความหวั่นไหว (agitation, fear, anxiety; thrill, moving)

ความหมายทางศาสนาคือ ความรู้สึกทางธรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการคำนึงถึงความทุกข์ยากของสัตวโลก (religious emotion caused by contemplation of the miseries of this world), ความรู้สึกเร้าเตือนให้เร่งทำกิจที่พึงทำ (sense of urgency)

ธมฺม + สํเวค = ธมฺมสํเวค แปลว่า “ความสลดใจโดยธรรม

ธมฺมสํเวค ในในภาษาไทยเป็น “ธรรมสังเวช” (ธรรม + สังเวช)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ธรรมสังเวช : (คำนาม) ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แสดงความหมายของคำว่า “สังเวช” และ “ธรรมสังเวช” ไว้ดังนี้ :

(1) สังเวช : ความสลดใจให้ได้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึกหรือทำให้ฉุกคิด, ความรู้สึกกระตุ้นใจให้คิดได้ ให้คิดถึงธรรม ให้ตระหนักถึงความจริงของชีวิต และเร้าเตือนให้ไม่ประมาท; ตามความหมายที่แท้ของศัพท์ สังเวช คือ “สังเวค” แปลว่าแรงเร่ง แรงกระตุ้น หรือพลังที่ปลุกเร้า หมายถึง แรงกระตุ้นเร้าเตือนใจ ให้ได้คิดหรือสำนึกขึ้นมาได้ ให้คิดถึงธรรม หรือตระหนักถึงความจริงความดีงาม อันทำให้ตื่นหรือถอนตัวขึ้นมาจากความเพลิดเพลิน ความหลงระเริงปล่อยตัวมัวเมา หรือความประมาท แล้วหักหันไปเร่งเพียรทำการที่ตระหนักรู้ว่าจะพึงทำด้วยความไม่ประมาทต่อไป แต่ในภาษาไทย สังเวช มีความหมายหดแคบลงและเพี้ยนไป กลายเป็นความรู้สึกสลดใจ หรือเศร้าสลด แล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ซึ่งกลายเป็นตรงข้ามกับความสังเวชที่แท้.

(2) ธรรมสังเวช : ความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์).

: สังเวชไทย สลดใจแล้วไม่อยากทำดี

: สังเวชบาลี เร่งทำความดีเพราะสลดใจ

17-5-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย