บาลีวันละคำ

ปริสุทฺโธ (บาลีวันละคำ 1,096)

ปริสุทฺโธ

ตั้งแต่พระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ มรณภาพตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นมา สื่อมวลชนได้เขียนและพูดคำว่า “ปริสุทฺโธ” กันบ่อยๆ เนื่องจากเป็นนามฉายาของท่าน เมื่อเรียกชื่อท่านก็เรียกนามฉายาควบกันไปด้วย

การเขียนและอ่านคำนี้ มีข้อที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องดังนี้ –

(๑) “ปริสุทฺโธ” เป็นคำบาลี ตามหลักการเขียนคำบาลีเป็นอักษรไทยต้องมีจุดใต้ ทหาร เพื่อให้ เป็นตัวสะกด

ถ้าเขียน “ปริสุทโธ” (ไม่ทีจุดใต้ ) จะต้องอ่านว่า ปะ-ริ-สุ-ทะ-โท ซึ่งไม่ใช่คำที่ถูกต้อง (เท่าที่อ่านพบ เขียนแบบไม่มีจุดใต้ กันเป็นส่วนมาก)

(๒) “ปริสุทฺโธปริ– ใช้อักษร ปลา ไม่ใช่ บริ ใบไม้ (ภาษาบาลีไม่มี ใบไม้)

(๓) “ปริสุทฺโธ” อ่านว่า ปะ-ริ-สุด-โท

ไม่ใช่ ปอ-ริ-สุด-โท หรือ บอ-ริ-สุด-โท

(๔) คนส่วนมากคุ้นกับคำว่า “บริสุทธิ์” อาจเขียนเพลินไปเป็น “บริสุทธิ์โธ” โปรดทราบว่าไม่ถูกต้อง “บริสุทธิ์” เป็นคำที่เขียนแบบไทย “ปริสุทฺโธ” เป็นคำบาลี จึงไม่มีคำที่เขียนเป็น “บริสุทธิ์โธ

หลักภาษาที่ควรทราบ :

ในภาษาบาลี “ปริสุทฺธิ” (ปะ-ริ-สุด-ทิ) เป็นคำนาม แปลว่า “ความบริสุทธิ์” ใช้ในภาษาไทยว่า “บริสุทธิ์

ปริสุทฺธ” (ปะ-ริ-สุด-ทะ) เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า “ผู้บริสุทธิ์” ถ้าเขียนในภาษาไทยก็จะเป็น “บริสุทธ” ( ไม่มีสระ อิ) แต่เราไม่ได้เอารูปคำนี้มาใช้ เมื่อหมายถึงบุคคล เราใช้ว่า “ผู้บริสุทธิ์” ไม่ใช้ว่า “ผู้บริสุท

(1) “ปริสุทฺธิ” (ปะ-ริ-สุด-ทิ) ประกอบด้วย ปริ + สุทฺธิ

ปริ” (ปะ-ริ) เป็นคำอุปสรรค แปลว่า รอบ, เวียนรอบ, ทั่วไป, เต็มไปหมด, รวมหมด

สุทฺธิ” (สุด-ทิ) รากศัพท์มาจาก สุธฺ (ธาตุ = สะอาด) + ติ ปัจจัย, แปลง ติ เป็น ทฺธิ, ลบ ธฺ ที่สุดธาตุ

: สุธฺ > สุ + ติ > ทฺธิ = สุทฺธิ แปลตามศัพท์ว่า “ความสะอาด

ปริ + สุทฺธิ = ปริสุทฺธิ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะเป็นเหตุหมดจดรอบด้านจากมลทินมีราคะเป็นต้นแห่งสัตว์โลก” หมายถึง ความบริสุทธิ์, การทำให้บริสุทธิ์, ความแท้จริง, คุณลักษณะที่เชื่อได้แน่นอน (purity, purification, genuineness, sterling quality)

(2) “ปริสุทฺธ” (ปะ-ริ-สุด-ทะ) ประกอบด้วย ปริ + สุทฺธ

ปริ” (เหมือนคำต้น)

สุทฺธ” (สุด-ทะ) รากศัพท์มาจาก สุธฺ (ธาตุ = สะอาด) + ปัจจัย, แปลง เป็น ทฺธ, ลบ ธฺ ที่สุดธาตุ, อีกนัยหนึ่งว่า แปลง กับ ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺธ

: สุธฺ > สุ + > ทฺธ = สุทฺธ

: สุธฺ + = สุธต (> + = ทฺธ) > สุทฺธ

ปริ + สุทฺธ = ปริสุทฺธ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้หมดจดรอบด้านจากมลทินมีราคะเป็นต้น” หมายถึง ผู้สะอาดรอบตัว, ผู้บริสุทธิ์, ผู้สมบูรณ์พร้อม (clean, clear, pure, perfect)

ปริสุทฺธ” ใช้เป็นคุณศัพท์ของเพศชาย ประกอบวิภัตติตามกฎบาลีไวยากรณ์เป็น “ปริสุทฺโธ

ปริสุทฺโธ” เป็นนามฉายาของพระเทพวิทยาคม : หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ (-สุทฺ-มีจุดใต้ ทฺ, อ่านว่า ปะ-ริ-สุด-โท) มีความหมายว่า “ผู้บริสุทธิ์

ทราบไว้เป็นความรู้ :

– พระภิกษุทุกรูปต้องมีนามฉายา (เรียกสั้นว่า “ฉายา”)

– นามฉายาเป็นภาษาบาลี พระอุปัชฌาย์เป็นผู้ตั้งให้ในวันทำพิธีอุปสมบท

– นามฉายาเขียนและอ่านตามหลักคำบาลี

: ผู้บริสุทธิ์รอบตัว ย่อมไม่กลัวอะไรเลย (แม้แต่ความตาย)

: แต่ผู้วางมาดว่าบริสุทธิ์ พอตอผุดเถอะ..มึงเอ๊ย

21-5-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย