บาลีวันละคำ

วินัยกรรม-พินัยกรรม (บาลีวันละคำ 1,105)

วินัยกรรม-พินัยกรรม

คำคู่นี้มีคำบาลี 2 คำ คือ วินัย + กรรม

(๑) “วินัย

บาลีเป็น “วินย” (วิ-นะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก วิ ( = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + นี (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย แผลง อี (ที่ นี) เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: วิ + นี = วินี > (อี เป็น เอ =) วิเน > (เอ เป็น อย =) วินย + = วินย แปลตามศัพท์ว่า “อุบายเป็นเครื่องนำไป” หรือ “การนำไปอย่างวิเศษ” ความหมายที่เข้าใจกันคือ กฎ, ระเบียบแบบแผน, ข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ

วินย” ในบาลีใช้ในความหมายหลายอย่าง คือ :

(1) การขับออก, การเลิก, การทำลาย, การกำจัดออก (driving out, abolishing, destruction, removal)

(2) กฎ, วิธีพูดหรือตัดสิน, ความหมาย, วาทวิทยา (วิชาการใช้ถ้อยคำ) (rule, way of saying or judging, sense, terminology)

(3) วินัย, จรรยา, ศีลธรรม, ความประพฤติที่ดี (norm of conduct, ethics, morality, good behavior)

(4) ประมวลจรรรยา, วินัยสงฆ์, กฎ, จรรยาบรรณหรือพระวินัย (code of ethics, monastic discipline, rule, rules of morality or of canon law)

วินย” ภาษาไทยใช้ว่า “วินัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วินย-, วินัย : (คำนาม) ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).”

(๒) “กรรม” บาลีเป็น “กมฺม” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ก)-รฺ, ลบ ที่ -(มฺม)

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำ” “สิ่งที่ทำ

บาลี “กมฺม” สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

วินย + กมฺม = วินยกมฺม > วินัยกรรม มีความหมายว่า “การปฏิบัติตามวินัย” กล่าวคือ ระเบียบแบบแผนของสังคมนั้นๆ กำหนดให้ทำอะไรอย่างไร ก็ทำตามนั้น สำหรับพระสงฆ์ เช่น ต้องสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน สำหรับชาวบ้าน เช่น ต้องเสียภาษี

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

วินัยกรรม : การกระทำเกี่ยวกับพระวินัย หรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การอธิษฐานบริขาร การวิกัปบาตรและจีวร การปลงอาบัติ การอยู่ปริวาส เป็นต้น”

ในภาษาไทยมีคำว่า “พินัยกรรม” ตามรูปศัพท์ก็มาจาก “วินัยกรรม” นั่นเอง (เว้นไว้แต่จะได้มีการศึกษาสืบค้นจนพบว่า “พินัย” ในคำว่า “พินัยกรรม” นี้เป็นภาษาอื่น ไม่ได้แผลงมาจาก “วินยวินัย” ในภาษาบาลี)

: วินยกมฺม > วินัยกรรม > พินัยกรรม

แต่ “พินัยกรรม” ในภาษาไทยมีความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พินัยกรรม : (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำนาม) คำสั่งของบุคคลที่กําหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).”

แถม-ถามเป็นความรู้ :

๑ พจน.54 บอกว่า “พินัยกรรม” คำอังกฤษว่า will

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล will (คำนาม) เป็นบาลีไว้หลายคำ คือ :

(1) chanda ฉนฺท (ฉัน-ทะ) = ความพอใจ, ความต้องการ

(2) sankappa สงฺกปฺป (สัง-กับ-ปะ) = ความคิดเห็น, ความจำนง

(3) abhilāsa อภิลาส (อะ-พิ-ลา-สะ) = ความอยากได้, ความปรารถนา, ความประสงค์

(4) icchā อิจฺฉา (อิด-ฉา) ความต้องการ, ความประสงค์

(5) accayadānapaṇṇa อจฺจยทานปณฺณ (อัด-จะ-ยะ-ทา-นะ-ปัน-นะ) = หนังสือแสดงเจตนามอบให้เมื่อตาย

๒ ภิกษุ ก. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้ภิกษุ ข. และนาย ค. คนละเท่าๆ กัน

ถามว่า เมื่อภิกษุ ก. มรณภาพ ทรัพย์สินตามพินัยกรรมจะเป็นของใคร ?

: ถ้าสังคมไม่รักษาวินัย

: จะเหลืออะไรไว้รักษาสังคม

3-6-58

ต้นฉบับ

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย