บาลีวันละคำ

วิกาลโภชน์ (บาลีวันละคำ 1,157)

วิกาลโภชน์

อ่านว่า วิ-กาน-ละ-โพด (ตาม พจน.54)

แต่จะอ่านว่า วิ-กา-ละ-โพด ก็ได้

บาลีเป็น “วิกาลโภชน” อ่านว่า วิ-กา-ละ-โพ-ชะ-นะ

ประกอบด้วย วิกาล + โภชน

(๑) “วิกาล” (วิ-กา-ละ)

ประกอบด้วย วิ + กาล

1) “กาล” รากศัพท์มาจาก กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กล > กาล)

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน

กาล” ที่หมายถึง “เวลา” (time) ในภาษาบาลียังใช้ในความหมายที่ชี้ชัดอีกด้วย คือ :

(ก) เวลาที่กำหนดไว้, เวลานัดหมาย, เวลาตายตัว (appointed time, date, fixed time)

(ข) เวลาที่เหมาะสม, เวลาที่สมควร, เวลาที่ดี, โอกาส (suitable time, proper time, good time, opportunity)

2) วิ (พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + กาล = วิกาล แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ต่างไป” (คือไม่ตรงกับเวลาที่กำหนดในกรณีนั้นๆ)

(๒) “โภชน” (โพ-ชะ-นะ)

รากศัพท์มาจาก ภุชฺ (ธาตุ = กิน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อุ ที่ ภุ-(ชฺ) เป็น โอ (ภุชฺ > โภช)

: ภุชฺ + ยุ > อน = ภุชน > โภชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขากิน” “สิ่งที่ควรกิน” หมายถึง อาหาร, โภชนะ, ของกินโดยทั่วๆ ไป (food, meal, nourishment in general); การกิน (eating)

วิกาล + โภชน = วิกาลโภชน แปลว่า “การกินในเวลาวิกาล” คือการบริโภคอาหารผิดเวลาที่กำหนด

วิกาลโภชน” นิยมใช้ในภาษาไทยว่า “วิกาลโภชน์

คำว่า “เวลาวิกาล” ในทางพระวินัยมีคำจำกัดความ 2 นัย กล่าวคือ :

๑ กรณีบริโภคอาหารในเวลาวิกาล “เวลาวิกาล” หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่

๒ กรณีห้ามภิกษุณีเข้าไปในบ้านของชาวบ้านในเวลาวิกาล หรือกรณีเที่ยวเตร่ในเวลาวิกาล “เวลาวิกาล” หมายถึง ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดินไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิกาล, วิกาล– : (คำวิเศษณ์) ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้าบ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. (ป.).”

วิกาลโภชน์” เป็นศีลข้อที่ 6 ในศีล 8 และศีล 10

องค์ประกอบที่ตัดสินว่าเป็น “วิกาลโภชน์” มี 4 คือ :

(1) วิกาลตา บริโภคในเวลาตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไปจนถึงก่อนรุ่งอรุณของวันใหม่

(2) ยาวกาลิกตา อาหารที่บริโภคเป็นของที่อนุญาตให้บริโภคได้เช้าชั่วเที่ยง

(3) อชฺโฌหรณปโยโค นำอาหารเข้าสู่ร่างกาย

(4) เตน  อชฺโฌหรณํ กรณีกินทางปาก เมื่อกลืนอาหารล่วงลำคอลงไป

: การกินไม่ใช่เรื่องเสียเวลา

: แต่เรามักเสียเวลาไปกับเรื่องกิน

26-7-58

ต้นฉบับ