บาลีวันละคำ

นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ (บาลีวันละคำ 1,158)

นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ

อ่านว่า นัด-จะ-คี-ตะ-วา-ทิ-ตะ-วิ-สู-กะ-ทัด-สะ-นะ

ประกอบด้วย นัจจ + คีต + วาทิต + วิสูกทัสสนะ

(๑) “นัจจ” (นัด-จะ)

บาลีเป็น “นจฺจ” รากศัพท์มาจาก นตฺ (ธาตุ = น้อมกาย, ฟ้อนรำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ , แปลง ตฺย (คือ –ตฺ ที่สุดธาตุ + (ณฺ-) ปัจจัย) เป็น จฺจ

: นตฺ + ณฺย = นตฺณฺย > นตฺย > นจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “การน้อมตัว” คือ การฟ้อนรำ, การเต้นรำ (dancing)

(๒) “คีต” (คี-ตะ)

รากศัพท์มาจาก

(1) เค (ธาตุ = ส่งเสียง) + อิ อาคม + ปัจจัย, ลบ เอ ที่ เค (เค > ), ทีฆะ (ยืดเสียง) อิ อาคมเป็น อี

: เค > + อิ = คิ + = คิต > คีต แปลตามศัพท์ว่า “เสียงที่พึงร้องออกมา

(2) คา (ธาตุ= ส่งเสียง) + อิ อาคม + ปัจจัย, ลบ อา ที่ คา (คา > ), ทีฆะ อิ อาคมเป็น อี

: คา > + อิ = คิ + = คิต > คีต แปลตามศัพท์ว่า “เสียงอันนักร้องเปล่งออกมา

คีต”หมายถึง ร้องเพลง, เพลงขับ (singing, a song)

(๓) “วาทิต” (วา-ทิ-ตะ)

รากศัพท์มาจาก วทฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + อิ อาคม + ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา

: วทฺ + อิ = วทิ + = วทิต > วาทิต แปลตามศัพท์ว่า “อันเขาประโคม” หมายถึง ดนตรีเครื่องประโคม (instrumental music)

(๔) “วิสูกทัสสนะ” (วิ-สู-กะ-ทัด-สะ-นะ)

บาลีเป็น “วิสูกทสฺสน” ประกอบด้วย วิสูก + ทสฺสน

(1) “วิสูก” (วิ-สู-กะ) รากศัพท์มาจาก วิ (พิเศษ, ต่าง) + สุจฺ (ธาตุ = ทิ่มแทง) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), ทีฆะ อุ ที่ สุ-(จฺ) เป็น อู, ลบที่สุดธาตุ

: วิ + สุจฺ = วิสุจ + ณฺวุ > อก = วิสุจก > วิสุก > วิสูก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ทิ่มแทงคำสอนโดยไม่คล้อยตาม” หมายถึง สิ่งที่เป็นข้าศึก

(2) “ทสฺสน” (ทัด-สะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = เห็น) + ยุ ปัจจัย, แปลง ทิสฺ เป็น ทสฺส, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ทิสฺ > ทสฺส + ยุ > อน = ทสฺสน แปลตามศัพท์ว่า “การเห็น” หมายถึง –

(1) การเห็น, การมองดู, การสังเกต, สิ่งที่ปรากฏ, รูปร่าง (seeing, looking; noticing; sight of, appearance, look)

(2) การเล็งเห็น, เครื่องรู้เห็น, การเห็นแจ้ง, ความเห็น, ทฤษฎี (perception, faculty of apperception, insight, view, theory)

วิสูก + ทสฺสน = วิสูกทสฺสน หมายถึง การดูสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ (unseemly shows)

นัจจ + คีต + วาทิต + วิสูกทัสสนะ = นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ (เขียนแบบไทย) แปลว่า การฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์

ข้อสังเกต :

ในหมู่ผู้คุ้นเคยกับคำนี้มักพูดคำแรกติดปากว่า “นัจจคี-“ (นัด-จะ-คี) ซึ่งเป็นการฉีกคำ เพราะ “นัจจ” (นัด-จะ- ฟ้อนรำ) เป็นคำหนึ่ง “คีต” (คี-ตะ- ขับร้อง) เป็นอีกคำหนึ่ง

นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ” เป็นศีลข้อที่ 7 ในศีล 10 และเป็นท่อนแรกของศีลข้อที่ 7 ในศีล 8

องค์ประกอบที่ตัดสินว่าเป็น “นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ” มี 3 คือ :

(1) นจฺจาทิตา เป็นการกระทำการละเล่นมีฟ้อนรำเป็นต้น

(2) ทสฺสนตฺถาย  คมนํ จัดการขวนขวายเพื่อจะได้ทำหรือได้เห็น

(3) ทสฺสนํ ได้กระทำหรือได้เห็นสมเจตนา

: พักผ่อนอยู่กับการงาน เป็นสุขยั่งยืนนานกว่าดูหนังดูละคร

27-7-58

ต้นฉบับ