บาลีวันละคำ

อัมพาต (บาลีวันละคำ 1,221)

อัมพาต

อ่านว่า อำ-มะ-พาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัมพาต : (คำนาม) อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาตายไปกระดิกไม่ได้. (ส. อมฺ + วาต = โรคลม).”

พจน.54 บอกว่า อัมพาต มาจากสันสกฤต อมฺ + วาต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ไม่มีคำสำเร็จรูป “อมฺวาต” มีแต่ “วาต” บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) วาต : (ธาตุ = รากศัพท์) ไป; ประติบัท, รับใช้, รับราชการ; เปนสุข, เสพสุข; ให้ความสุขในการเดิรทาง; พัดเบาๆ, พัดหรือโบก; to go; to serve; to be happy; to give pleasure in travelling; to blow gently, to fan or ventilate.

(2) วาต : (คำนาม) ลม, อากาศ; วาตพยาธิ, โรคลมขัดตามข้อ, โรคเข้าข้อ, คำว่า ‘วาตโรค, สนธิวาต, สนธิวายุ’ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน; wind, air; rheumatism, gout.

อมฺ + วาต เทียบบาลีคือ (แผลงมาจาก = ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + วาต (ลม) = อวาต แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีลม

อธิบายลากเข้าความว่า ร่างกายส่วนที่ลมแล่นผ่านซ่านไปไม่ได้ ทำให้แข็งตึง (ไม่พบศัพท์ที่มีความหมายเช่นนี้ในคัมภีร์)

กระบวนการกลายรูป:

> อมฺ + วาต = อมฺวาต อ่านว่า อำ-วา-ตะ

๒ เสียง “อำ” ต้องปิดริมฝีปาก เมื่อต่อด้วย “วา-ต” ต้องเปิดริมฝีปาก ทำให้เกิดเสียง “มะ” ตามธรรมชาติของการเปล่งเสียง = อำ-มะ-วา-ตะ

อมฺวาต > อำ-มะ-วา-ตะ อ่านอย่างไทยเป็น อำ-มะ-วาด

๔ แผลง เป็น ตามหลักนิยมของภาษาไทย : อมฺวาต > อมฺพาต > อัมพาต > อำ-มะ-พาด

– เป็น อำ เทียบคำอื่นๆ เช่น –

อหิต (ไม่ใช่ประโยชน์, ไม่เป็นประโยชน์) > อำหิต > อำมหิต (ดุร้าย, ร้ายกาจ, ทารุณ, เหี้ยมโหด)

อมต (ไม่ตาย) > อมฤต > อำมฤต (นํ้าทิพย์, เครื่องทิพย์)

อมาตย์ > อำมาตย์ (ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา)

: ให้ทาน กลัวทรัพย์สินจะหมด

: ถือศีลสักสิกขาบท ไม่กล้า

: เจริญภาวนา ขยาด

> เป็นอาการของอัมพาตกินหัวใจ

2-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย