บาลีวันละคำ

ยันตระ (บาลีวันละคำ 709)

ยันตระ

อ่านว่า ยัน-ตฺระ

บาลีเป็น “ยนฺต” อ่านว่า ยัน-ตะ

ยนฺต” มีรากศัพท์ดังนี้ –

(1) ยา (ธาตุ = ไป, ถึง) + อนฺต ปัจจัย ลบสระที่สุดธาตุ

: ยา > + อนฺต = ยนฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปถึงกิริยานั้น” คือแสดงกิริยานั้นๆได้ “สิ่งที่ทำอาการนั้นๆ ไปด้วยมือและเท้าเป็นต้น

(2) ยต (ธาตุ = พยายาม) + ปัจจัย ซ้อน นฺ

: ยต < + + = ยนฺต + = ยนฺต แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องมือที่พยายามในการยกขึ้นยกลงเป็นต้นได้” = หุ่นยนต์

ยนฺต หมายถึง วิธีการสำหรับหยิบจับ, สิ่งที่คิดขึ้น, อุบาย, เครื่องมือ, เครื่องยนต์, กลไก (a means for holding, contrivance, artifice, instrument, machine, mechanism)

ยนฺต” สันสกฤตเป็น “ยนฺตฺร” (ยัน-ตฺระ)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) ห้าม to restrain or forbid

(2) เครื่องยนตร์ทั่วไป; การห้ามหรือระงับ;a machine, any implement or apparatus; restraining or checking

ยนฺต ยนฺตฺร ในภาษาไทยใช้เป็น ยนต์ ยนตร์ ยันตร ยันตร์

พจน.54 บอกไว้ว่า –

(1) ยนต์, ยนตร์ : (คำนาม) เครื่องกลไก, เครื่องจักรที่ให้กําเนิดพลังงานหรือทําให้วัตถุเคลื่อนที่. (ป. ยนฺต; ส. ยนฺตฺร).

(2) ยันตร-, ยันตร์ : [ยันตฺระ-, ยัน] (คำนาม) ยนตร์

หมายเหตุ :

ยันตระ” ที่เป็นชื่อเฉพาะ มีความหมายอย่างไรย่อมเป็นไปตามเจตนาของเจ้าของชื่อ

: มนุษย์สร้าง “ยันตระ” ขึ้นมาเป็นเครื่องมือรับใช้

: แต่มนุษย์จำนวนมากกลายเป็นผู้รับใช้ “ยันตระ

#บาลีวันละคำ (709)

26-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *