บาลีวันละคำ

อัณฑะ (บาลีวันละคำ 720)

อัณฑะ

อ่านว่า อัน-ทะ

บาลีเขียน “อณฺฑ” อ่านตามหลักว่า อัน-ดะ

อณฺฑ” รากศัพท์มาจาก –

(1) อมฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ เป็น ณฺ

: อมฺ > อณ + = อณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นที่ไป” คือเป็นที่เกิดขึ้นแห่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

(2) อฑิ (ธาตุ = ออกไข่, วางไข่) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ แล้วแปลงเป็น ณฺ, ลบสระที่สุดธาตุ

: อฑิ > อํฑิ > อณฺฑิ > อณฺฑ + = อณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถูกไข่ออกมา

อณฺฑ หมายถึง (1) ไข่ an egg (2) ลูกอัณฑะ the testicles

พจน.54 บอกไว้ว่า –

อัณฑ-, อัณฑะ : (คำนาม) ส่วนหนึ่งของอวัยวะลับชาย, กระโปก; ไข่”

ข้อสังเกต :

(1) คำว่า “อัณฑะ” ภาษาไทยอ่านว่า อัน-ทะ แต่ในภาษาบาลีอ่านตามหลักว่า อัน-ดะ เทียบได้กับคำว่า มณฑป อ่านว่า มน-ดบ ไม่ใช่ มน-ทบ

(2) ในภาษาไทย มณโฑ บางคำออกเสียง บางคำออกเสียง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์บางอย่าง แต่ในภาษาบาลีออกเสียง ทุกคำ

(3) อักษร ณฺฑ ในภาษาบาลี เมื่อเขียนด้วยอักษรโรมัน ใช้อักษร ṇḍ (มีจุดใต้ n ทำให้เป็น และจุดใต้ d ทำให้เป็น ) เช่นคำว่า อณฺฑ เขียนว่า aṇḍa นี่คือเหตุผลที่บาลีออกเสียง เป็น

(4) ความหมายเด่นของ อณฺฑ คือ egg ศัพท์ว่า อณฺฑ ที่นักเรียนบาลีในเมืองไทยพบส่วนมากจะหมายถึง egg ไม่ใช่ the testicles ดังนั้น อณฺฑ ในห้วงนึกของคนเรียนบาลีจึงไม่มีเป็นอย่างอื่นนอกจาก egg

(5) นักบาลีรุ่นเก่าแปล อณฺฑ ว่า “ฟอง” ไม่ได้แปลว่า “ไข่” คนปัจจุบันมักเข้าใจว่า “ฟอง” เป็นลักษณนามเรียกไข่อย่างเดียว ความจริงแล้ว “ฟอง” หมายถึง “ไข่” โดยตรง

(6) อณฺฑ หมายถึง “กระโปก” (the testicles) ก็ได้ (กระโปก : ส่วนควบของอวัยวะเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้) ภาษาสุภาพเรียกอวัยวะนี้ว่า “ลูกอัณฑะ” ซึ่งเท่ากับใช้คำทับศัพท์นั่นเอง

(7) “ไข่” เป็นภาษาปากเรียก “กระโปก” ด้วย ซึ่งคำสุภาพใช้ว่า “ลูกอัณฑะ” ดังกล่าวแล้ว

(8) วงจรของคำแปล “อณฺฑอัณฑะ” จึงน่าจะเป็น ฟอง > ไข่ > กระโปก > อัณฑะ > ฟอง > ….

หมายความว่า แรกเริ่มแปลอัณฑะว่า ฟอง จากฟองหมายถึงไข่ จากไข่นึกถึงกระโปก จากกระโปกนึกถึงคำสุภาพว่า ลูกอัณฑะ คือวนกลับมาที่ “อัณฑะ” อีก

(9) จาก “อัณฑะ” จึงควรจะนึกถึง “ฟอง” คือ egg แต่คนส่วนมากเมื่อเห็นคำว่า “อัณฑะ” จิตจะประหวัดไปถึง the testicles ที่ใช้เรียกด้วยคำสุภาพว่า “ลูกอัณฑะ” ดังนั้น ความหมายเด่นของ “อัณฑะ” ในภาษาไทยกลายเป็น the testicles ในขณะที่นักบาลีมักจะนึกถึง “อัณฑะ” ในความหมายว่า egg

: จะพูดภาษาอะไร ก็ขอให้หัวใจตรงกัน

: ถึงจะคิดคนละอย่าง ก็คิดเพื่อสร้างสัมพันธ์

——————-

(เนื่องมาจากผู้เขียนบาลีวันละคำได้เขียนบทความเรื่อง “อัณฑะ นะ หิ แห” เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก สังเกตได้ว่าญาติมิตรส่วนหนึ่งที่อ่านยังเข้าใจว่า “อัณฑะ” มีความหมายอย่างเดียว จึงจำเป็นต้องเขียนคำว่า “อัณฑะ” ในบาลีวันละคำเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนอีกทางหนึ่ง)

#บาลีวันละคำ (720)

7-5-57

อัณฑะ

อ่านว่า อัน-ทะ

บาลีเขียน “อณฺฑ” อ่านตามหลักว่า อัน-ดะ

อณฺฑ” รากศัพท์มาจาก –

(1) อมฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ เป็น ณฺ

: อมฺ > อณ + = อณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นที่ไป” คือเป็นที่เกิดขึ้นแห่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

(2) อฑิ (ธาตุ = ออกไข่, วางไข่) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ แล้วแปลงเป็น ณฺ, ลบสระที่สุดธาตุ

: อฑิ > อํฑิ > อณฺฑิ > อณฺฑ + = อณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถูกไข่ออกมา

อณฺฑ หมายถึง (1) ไข่ an egg (2) ลูกอัณฑะ the testicles

พจน.54 บอกไว้ว่า –

อัณฑ-, อัณฑะ : (คำนาม) ส่วนหนึ่งของอวัยวะลับชาย, กระโปก; ไข่”

ข้อสังเกต :

(1) คำว่า “อัณฑะ” ภาษาไทยอ่านว่า อัน-ทะ แต่ในภาษาบาลีอ่านตามหลักว่า อัน-ดะ เทียบได้กับคำว่า มณฑป อ่านว่า มน-ดบ ไม่ใช่ มน-ทบ

(2) ในภาษาไทย มณโฑ บางคำออกเสียง บางคำออกเสียง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์บางอย่าง แต่ในภาษาบาลีออกเสียง ทุกคำ

(3) อักษร ณฺฑ ในภาษาบาลี เมื่อเขียนด้วยอักษรโรมัน ใช้อักษร ṇḍ (มีจุดใต้ n ทำให้เป็น และจุดใต้ d ทำให้เป็น ) เช่นคำว่า อณฺฑ เขียนว่า aṇḍa นี่คือเหตุผลที่บาลีออกเสียง เป็น

(4) ความหมายเด่นของ อณฺฑ คือ egg ศัพท์ว่า อณฺฑ ที่นักเรียนบาลีในเมืองไทยพบส่วนมากจะหมายถึง egg ไม่ใช่ the testicles ดังนั้น อณฺฑ ในห้วงนึกของคนเรียนบาลีจึงไม่มีเป็นอย่างอื่นนอกจาก egg

(5) นักบาลีรุ่นเก่าแปล อณฺฑ ว่า “ฟอง” ไม่ได้แปลว่า “ไข่” คนปัจจุบันมักเข้าใจว่า “ฟอง” เป็นลักษณนามเรียกไข่อย่างเดียว ความจริงแล้ว “ฟอง” หมายถึง “ไข่” โดยตรง

(6) อณฺฑ หมายถึง “กระโปก” (the testicles) ก็ได้ (กระโปก : ส่วนควบของอวัยวะเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้) ภาษาสุภาพเรียกอวัยวะนี้ว่า “ลูกอัณฑะ” ซึ่งเท่ากับใช้คำทับศัพท์นั่นเอง

(7) “ไข่” เป็นภาษาปากเรียก “กระโปก” ด้วย ซึ่งคำสุภาพใช้ว่า “ลูกอัณฑะ” ดังกล่าวแล้ว

(8) วงจรของคำแปล “อณฺฑอัณฑะ” จึงน่าจะเป็น ฟอง > ไข่ > กระโปก > อัณฑะ > ฟอง > ….

หมายความว่า แรกเริ่มแปลอัณฑะว่า ฟอง จากฟองหมายถึงไข่ จากไข่นึกถึงกระโปก จากกระโปกนึกถึงคำสุภาพว่า ลูกอัณฑะ คือวนกลับมาที่ “อัณฑะ” อีก

(9) จาก “อัณฑะ” จึงควรจะนึกถึง “ฟอง” คือ egg แต่คนส่วนมากเมื่อเห็นคำว่า “อัณฑะ” จิตจะประหวัดไปถึง the testicles ที่ใช้เรียกด้วยคำสุภาพว่า “ลูกอัณฑะ” ดังนั้น ความหมายเด่นของ “อัณฑะ” ในภาษาไทยกลายเป็น the testicles ในขณะที่นักบาลีมักจะนึกถึง “อัณฑะ” ในความหมายว่า egg

: จะพูดภาษาอะไร ก็ขอให้หัวใจตรงกัน

: ถึงจะคิดคนละอย่าง ก็คิดเพื่อสร้างสัมพันธ์

——————-

(เนื่องมาจากผู้เขียนบาลีวันละคำได้เขียนบทความเรื่อง “อัณฑะ นะ หิ แห” เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก สังเกตได้ว่าญาติมิตรส่วนหนึ่งที่อ่านยังเข้าใจว่า “อัณฑะ” มีความหมายอย่างเดียว จึงจำเป็นต้องเขียนคำว่า “อัณฑะ” ในบาลีวันละคำเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนอีกทางหนึ่ง)

#บาลีวันละคำ (720)

7-5-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *