บาลีวันละคำ

โบราณ (บาลีวันละคำ 758)

โบราณ

อ่านว่า โบ-ราน

บาลีเป็น “โปราณ” อ่านว่า โป-รา-นะ

รากศัพท์มาจาก ปุร +

ปุร” (ปุ-ระ) แปลว่า ก่อน (before), ข้างหน้า (in front of)

ใช้สูตร “ทีฆะ อะ เป็น อา” : ปุร > ปุรา และ “พฤทธิ์ อุ เป็น โอ” : ปุรา > โปรา

” (นะ) เป็นปัจจัย แทนคำว่า “มีมา” หรือ “มีอยู่” แปลง ( หนู) เป็น ( เณร)

: ปุร > ปุรา + > = ปุราณ > โปราณ

ในบาลีมีทั้งรูป “ปุราณ” และ “โปราณ

ปุราณโปราณ” มีสูตรในการหาความหมายว่า –

ปุรา ปุเร วา ภโว ปุราโณ” แปลว่า “สิ่งที่มีมาแต่เก่าก่อน หรือมีอยู่ในกาลก่อน ชื่อว่า ปุราณ

ในบาลี “ปุราณโปราณ” ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) บุคคล, สิ่งของ, เรื่องราว, กาลเวลา ที่เกิดขึ้น-มีมาแล้วในอดีต (ตรงกับความหมายที่เข้าใจกันในภาษาไทย)

(2) สิ่งที่ถูกใช้งานมาแล้ว (ไม่ว่าจะยังใช้ได้อยู่หรือใช้ไม่ได้อีกแล้วก็ตาม)

(3) ผู้ที่เคยเป็น หรืออยู่ในตำแหน่งฐานะใดๆ มาก่อน แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นแล้ว

(4) มรดก, ผลที่เกิดจากการประกอบการในอดีต (เช่น บุญเก่า)

ในภาษาไทยใช้ว่า “บุราณ” ก็มี “โบราณ” ก็มี พจน.54 บอกไว้ว่า –

(1) บุราณ : (คำวิเศษณ์) เก่า, ก่อน, เช่น คําบุราณท่านว่าไว้เป็นครู.

(2) โบราณ, โบราณ– : (คำวิเศษณ์) มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษรโบราณ หนังสือโบราณ, เก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ภาษาปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ.

หมายเหตุ :

(1) โบราณ กับ บูรณะ รูปคำชวนให้เข้าใจว่ามีความหมายเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า “บูรณะโบราณสถาน”

(2) โบราณ กับ บูรณะ เป็นคนละคำ คนละความหมายกัน

: ความดี ความถูกต้อง เป็นของโบราณ แต่ทันสมัย

——————

(จากคำถามพาดพิงของ Krislert Samphantharak)

#บาลีวันละคำ (758)

15-6-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *