บาลีวันละคำ

อาภากรเกียรติวงศ์ (บาลีวันละคำ 1,448)

อาภากรเกียรติวงศ์

ผู้เกิดในวงศ์ตะวันอันมีเกียรติ

อ่านว่า อา-พา-กอน-เกียด-ติ-วง

ประกอบด้วย อาภากร + เกียรติ + วงศ์

(๑) “อาภากร

บาลีอ่านว่า อา-พา-กะ-ระ ประกอบด้วย (1) อาภา + กร (2) อาภา + อากร

(1) อาภา + กร

(ก) “อาภา” รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ

: อา + ภา = อาภา + กฺวิ = อาภากฺวิ > อาภา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รุ่งเรืองอย่างยิ่ง” หมายถึง การส่องแสง, ความงดงาม, ความรุ่งโรจน์, แสงสว่าง (shine, splendour, lustre, light)

(ข) “กร” บาลีอ่านว่า กะ-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย

: กรฺ + = กร แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “การทำ” หมายถึง ผลิต, ก่อ, ประกอบ, กระทำ (producing, causing, forming, making, doing)

(2) “ผู้ทำ” หมายถึง ผู้กระทำ (the maker)

(3)“อวัยวะเป็นเครื่องทำงาน” หมายถึง มือ (the hand)

อาภา + กร = อาภากร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำแสงสว่าง” หมายถึง ดวงอาทิตย์

(2) อาภา + อากร

(ก) “อาภา” (ดูข้างต้น)

(ข) “อากร” บาลีอ่านว่า อา-กะ-ระ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย

: อา + กรฺ = อากร + = อากร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำไปทั่วๆ” “ผู้ทำไปข้างหน้า” หมายถึง บ่อ, แหล่งกำเนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (a mine)

อาภา + อากร = อาภากร แปลตามศัพท์ “ผู้เป็นต้นกำเนิดของแสงสว่าง” หมายถึง ดวงอาทิตย์

(๓) “เกียรติ

บาลีเป็น “กิตฺติ” (กิด-ติ) รากศัพท์มาจาก กิตฺตฺ (ธาตุ = กล่าวถึง, พูดด้วยดี) + อิ ปัจจัย

: กิตฺต + อิ = กิตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ความดีอันเขากล่าวถึง” หมายถึง คําเล่าลือ, คําสรรเสริญ, ชื่อเสียง, ความรุ่งโรจน์, เกียรติยศ (fame, renown, glory, honour)

กิตฺติ” สันสกฤตเป็น “กีรฺติ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “กีรฺตฺติ” และ “กีรฺติ” บอกไว้ดังนี้ :

(สะกดตามต้นฉบับ)

กีรฺตฺติ, กีรฺติ : (คำนาม) เกียรติ, ความบันลือ, ศรี (ยศสฺหรือสง่า), อนุเคราะห์, อนุกูลย์; ธันยวาท; ศัพท์, เสียง; อาภา, โศภา; โคลน, สิ่งโสโครก; ความซ่านทั่ว; มูรติทิพยศักดิ์ของพระกฤษณ; fame, renown, glory; favour; approbation; sound; light, lustre; mud, dirt; diffusion, expansion; one of the Mātrikās or personified divine energies of Krishṇa.”

กิตฺติ > กีรฺติ เราเอามาแปลงรูปตามสูตรไทย คือ “อิ หรือ อี > เอีย

ดังนั้น : กิ-, กี– > เกีย– : กิตฺติ, กีรฺติ = เกียรติ

ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เกียรติ : (คำนาม) ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).”

(๔) “วงศ์

บาลีเป็น “วํส” (วัง-สะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วนฺ (ธาตุ = คบหา) + ปัจจัย, แปลง นฺ (ที่ (ว)-นฺ เป็นนิคหิต (วนฺ > วํ)

: วนฺ + = วนส > วํส แปลตามศัพท์ว่า “เชื้อสายที่แผ่ออกไป” (คือเมื่อ “คบหา” กันต่อๆ ไป คนที่รู้จักกันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น)

(2) วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (วสฺ > วํส)

: วสฺ + = วส > วํส แปลตามศัพท์ว่า “อยู่รวมกัน

วํส” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) ไม้ไผ่ (a bamboo)

(2) เชื้อชาติ, เชื้อสาย, วงศ์ตระกูล (race, lineage, family)

(3) ประเพณี, ขนบธรรมเนียมที่สืบต่อกันมา, ทางปฏิบัติที่เป็นมา, ชื่อเสียง (tradition, hereditary custom, usage, reputation)

(4) ราชวงศ์ (dynasty)

(5) ขลุ่ยไม้ไผ่, ขลุ่ยผิว (a bamboo flute, fife)

(6) กีฬาชนิดหนึ่งซึ่งอุปกรณ์การเล่นทำด้วยไม้ไผ่ (a certain game)

ในที่นี้ “วํส” ใช้ในความหมายตามข้อ (2)

วํส” ในภาษาไทยใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “วงศ์

อาภากร + เกียรติ + วงศ์ = อาภากรเกียรติวงศ์ มีความหมายว่า “ผู้เกิดในวงศ์ตะวันอันมีเกียรติ

………….

อาภากรเกียรติวงศ์” เป็นพระนามเดิมของผู้ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันในนาม “กรมหลวงชุมพร” หรือ “เสด็จเตี่ย” คือ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พุทธศักราช 2466 ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร

กองทัพเรือถวายพระสมัญญานามว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย” และกำหนดให้วันที่ 19 พฤษภาคม เป็น “วันอาภากร”

………….

: บางคนแม้มีชีวิตอยู่ก็ไม่มีใครรู้จัก

: บางคนตายแล้วยังมีคนรักไม่รู้จบ

ดูก่อนภราดา!

ท่านเลือกที่จะเป็นคนชนิดเช่นไรเล่า?

19-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย