บาลีวันละคำ

บุญนิธิ (บาลีวันละคำ 1,474)

บุญนิธิ

อ่านว่า บุน-ยะ-นิ-ทิ

ประกอบด้วย บุญ + นิธิ

(๑) “บุญ

บาลีเป็น “ปุญฺญ” อ่านว่า ปุน-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม, ลบ ณฺ, แปลง นฺย (คือ อาคม + (ณฺ)- ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ + + ณฺย = ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุชฺช + ชนฺ + = ปุชฺชชนฺ + ณฺย = ปุชฺชชนณฺย > ปุชนณฺย > ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย (คือ ที่ กรฺ + ที่ ณฺ) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุณฺณ + กรฺ = ปุณฺณกร + ณฺย = ปุณฺณกรณฺย > ปุกรณฺย > ปุรณฺย > ปุรฺย > ปุ (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “บุญ” เป็นอังกฤษว่า merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works. adj. meritorious; good.

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปุญฺญ” ว่า merit, meritorious action, virtue (บุญ, กรรมดี, ความดี, กุศล)

ปุญฺญ” สันสกฤตเป็น “ปุณฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปุณฺย : (คำคุณศัพท์) ‘บุณย, บุณย์,’ สาธุ, บริศุทธ์, ธรรมิก; สวย, น่ารัก; หอม; virtuous, pure, righteous; beautiful, pleasing; fragrant;- (คำนาม) สทาจาร, คุณธรรม; บุณย์หรือกรรมน์ดี; ความบริศุทธิ; virtue, moral or religious merit; a good action; purity.”

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. (คำวิเศษณ์) ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้คำนิยามใหม่เป็นว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) ความสุข เช่น หน้าตาอิ่มบุญ; การกระทําดีตามหลักคําสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด; ความดี เช่น ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ, คุณงามความดี เช่น เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก, ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น คนใจบุญ, ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน เช่น เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

(๒) “นิธิ

รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + อิ ปัจจัย, ลบ อา ที่ ธา (ตามสูตรว่า “ลบสระหน้า” เพราะอยู่หน้า อิ ปัจจัย) : ธา + อิ > + อิ

: นิ + ธา = นิธา > นิธ + อิ = นิธิ แปลตามศัพท์ว่า “ทรัพย์อันเขาฝังไว้

นิธิ” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) การวางลง, ที่เก็บ; ทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ (setting down, receptacle; hidden treasure)

(2) การใส่, เสื้อคลุม (putting on, a cloak)

ปุญฺญ + นิธิ = ปุญฺญนิธิ > บุญนิธิ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ขุมทรัพย์คือบุญ” (2) “การฝังไว้ซึ่งบุญ

อภิปราย :

ในภาษาไทย คำที่ลงท้ายว่า –นิธิ ที่คุ้นกันดีคือ “มูลนิธิ” คือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน

มูลนิธิ” ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย

อีกคำหนึ่งที่เสียงใกล้ๆ กัน คือ “ทุนนิธิ” วัตถุประสงค์ก็คล้ายกับมูลนิธิ แต่ไม่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย

เข้าใจว่า “ทุนนิธิ” นั้นคิดขึ้นมาเพื่อเลี่ยงความยุ่งยากของ “มูลนิธิ” นั่นเอง

บุญนิธิ” เป็นคำที่มีใช้ในคัมภีร์บาลี แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักในภาษาไทย มีผู้ใช้อยู่บ้างก็เฉพาะในการบรรยายธรรม

บุญนิธิ” หมายถึง สะสมบุญ สั่งสมบุญ หรือเก็บบุญใส่ย่ามเพื่อเป็นเสบียงเดินทางในสังสารวัฏ

ขอเสนอคำนี้เพื่อใช้พูดหรือเขียนในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นอีกคำหนึ่ง

: บำเพ็ญบุญ เพื่อเป็นบุญนิธิ

: บำเพ็ญสติ เพื่อเป็นฐานของบุญ

17-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย