บาลีวันละคำ

คณิตกรณ์ (บาลีวันละคำ 1,479)

คณิตกรณ์

สวย แต่ขายไม่ออก

อ่านว่า คะ-นิด-ตะ-กอน

ประกอบด้วย คณิต + กรณ์

(๑) “คณิต

บาลีอ่านว่า คะ-นิ-ตะ รากศัพท์มาจาก คณฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมหน้า หรือที่สุดธาตุ (คณฺ + อิ + )

: คณฺ + อิ + = คณิต แปลตามศัพท์ว่า “อันเขานับแล้ว

คณิต” ในทางไวยากรณ์เป็นรูปกิริยากิตก์อดีตกาลของ “คเณติ” (คะ-เน-ติ, รูปกิริยาอาขยาต ปัจจุบันกาล)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “คเณติ” ว่า to count, to reckon, to do sums (นับ, คำนวณ, บวกเลข)

คณิต” ในบาลี ใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึงสิ่งที่ถูกนับ, สิ่งที่ถูกกำหนดจำนวน

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

คณิต, คณิต– : (คำนาม) การนับ, การคํานวณ, วิชาคํานวณ, มักใช้เป็นคําหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต.”

(๒) “กรณ์

บาลีเป็น “กรณ” (กะ-ระ-นะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ยุ ปัจจัย แปลงเป็น อน (อะ-นะ) ประกอบท้ายธาตุที่ลงท้ายด้วย รฺ ให้แปลง เป็น

: กรฺ + ยุ > อน = กรน > กรณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การทำ” “เครื่องทำ” (คืออุปกรณ์หรือวิธีสำหรับทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง)

กรณ” ในบาลี หมายถึง –

(1) กระทำ, สร้าง, ก่อให้เกิด, ผลิต (doing, making, causing, producing)

(2) การสร้าง, การผลิต; การทำ, การประกอบ (the making, producing of; the doing, performance of)

คณิต + กรณ = คณิตกรณ > คณิตกรณ์ แปลตามประสงค์ว่า “เครื่องทำการคำนวณ

คณิตกรณ์” เป็นศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสภา (ราชบัณฑิตยสถาน) บัญญัติขึ้นแทนคำว่า computer

ราชบัณฑิตยสภาได้นำศัพท์ “คณิตกรณ์” พิมพ์ออกเผยแพร่ และให้ลองใช้กันดูตั้งแต่ พ.ศ.2533 ตามแนวคิดที่ว่า “การใช้เท่านั้นจะเป็นเครื่องตัดสินว่าศัพท์ใดใช้ได้ ศัพท์ใดควรแก้ไข”

ปรากฏว่า คำว่า “คณิตกรณ์” ไม่ติดตลาด คนนิยมใช้ตามคำอังกฤษว่า “คอมพิวเตอร์” ไม่ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ซ้ำยังตัดคำเรียกกันสั้นๆ ว่า “คอม” อีกด้วย

: คนเขลา มักทำตามที่คนอื่นคิด

: บัณฑิต คิดเองเป็น

22-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย