บาลีวันละคำ

นิทราชาคริต (บาลีวันละคำ 804)

นิทราชาคริต

อ่านว่า นิด-ทฺรา ชา-คฺริด

(ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554)

บาลีเป็น “นิทฺทาชาคริต” อ่านว่า นิด-ทา-ชา-คะ-ริ-ตะ

นิทฺทา” รากศัพท์มาจาก –

(1) นิ ( = เข้า, ลง) + ทา (ธาตุ = หลับ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ซ้อน ทฺ

: นิ + ทฺ + ทา = นิทฺทา + กฺวิ = นิทฺทา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาที่หลับ

(2) นินฺท (ธาตุ = ติเตียน) + ปัจจัย, ลบ นฺ (ที่ นินฺ-), ลง อา เครื่องหมายอิตถีลิงค์

: นินฺท > นิท + = นิทฺท + อา = นิทฺทา แปลตามศัพท์ว่า “กิริยาอันผู้คนติเตียน” (หมายถึงการนอนกลางวัน เนื่องจากกลางวันเป็นเวลาทำกิจการงาน ไม่ใช่เวลานอน ผู้นอนกลางวันจึงควรถูกตำหนิ)

นิทฺทา” ในบาลีเล็งถึง “การหลับ” (sleep) ไม่ว่าจะหลับในอิริบาบถใดๆ ก็ตาม มิใช่เล็งที่กิริยานอน (lying down) นอน ถ้าไม่หลับก็ไม่เรียกว่า นิทฺทา

ชาคริต” รากศัพท์มาจาก ชาครฺ (ธาตุ = สิ้นความหลับ > ตื่น) + อิ อาคม (“อาคม” คือการเพิ่มสระหรือพยัญชนะเมื่อเชื่อมคำ) + ปัจัย

: ชาครฺ + อิ = ชาคริ + = ชาคริต แปลว่า การตื่น, การระวังระไว หรือการคอยเฝ้าดู (waking, vigil)

ชาคริต” ในบาลี เป็นคำกริยา แปลว่า “ตื่นแล้ว” เป็นคำนาม แปลว่า “การตื่น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) นิทรา : (คำนาม) การหลับ, การนอนหลับ. (คำกริยา) หลับ, นอน, เช่น ให้หาวนิทราเป็นพ้นไป.

(2) ชาคริต (-คฺริด) : (คำกริยา) ตื่น, ระวัง. (ส.).

นิทราชาคริต เป็นการเอาคำว่า “นิทรา” กับ “ชาคริต” มารวมกัน

ในคัมภีร์บาลียังไม่พบคำที่ใช้รวมกันเช่นนี้

นิทราชาคริต” เป็นชื่อบทพระราชนิพนธ์ประเภทกลอนลิลิตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บความจากเรื่อง The Sleeper Awakened ซึ่งเป็นนิทานย่อยเรื่องหนึ่งในนิทานอาหรับราตรี (The Thousand and One Nights หรือ The Arabian Night’s Entertainments)

นิทรา = Sleeper

ชาคริต = Awakened

ข้อสังเกต :

(1) ชาคริต พจน.ฯ บอกคำอ่านว่า ชา-คฺริด (คฺร-ควบกล้ำ) และบอกว่าเป็นคำสันสกฤต ในบาลีก็มีคำรูปคำว่า “ชาคริต” ตรงกัน แต่อ่านว่า ชา-คะ-ริ-ตะ (คร- อ่านเรียงพยางค์) คำนี้ถ้ามาจากบาลี ต้องอ่านว่า ชา-คะ-ริด

(2) สมัยหนึ่ง (นานมาแล้ว เมื่อคนเรายังโง่ …) เคยได้ยินมีผู้อ่านคำว่า “นิทรา” ว่า นิด-ซา คำว่า “จันทรา” มีผู้อ่านว่า จัน-ซา ผู้เขียนบาลีวันละคำนี้ก็เคยอ่านตามแบบนั้น ต่อมาเมื่อได้ศึกษาพอรู้บ้าง จึงรู้ว่าอ่านผิด “ทร” ในคำว่า นิทรา จันทรา นี้คงอ่านเป็น ท ร ไม่ใช่เหมือนคำว่า ทรวง ทราย ทราบ ที่อ่าน ทร– เป็น

: หลับไม่ตื่น – ตาย

: หลับแล้วตื่น – รอดตาย

: หลับๆ ตื่นๆ – เสี่ยงตาย

: ตื่นจากความหลับ – พ้นเกิดพ้นตาย

#บาลีวันละคำ (804)

31-7-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *