บาลีวันละคำ

โลมา (บาลีวันละคำ 2,011)

โลมา = ขน

ลำดับ 2 ในอาการสามสิบสอง

อ่านว่า โล-มา

โลมา” รูปคำเดิมเป็น “โลม” (โล-มะ) รากศัพท์มาจาก ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, แผลง อุ ที่ ลุ เป็น โอ (ลุ > โล)

: ลุ + = ลุม > โลม (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาตัดเมื่อยาวขึ้น” “สิ่งที่ควรตัดออก” หมายถึง ขน

มีศัพท์ที่หมายถึง “ขน” เช่นเดียวกับ “โลม” อีก 2 ศัพท์ คือ “โรม” (โร-มะ) และ “ตนุรุห” (ตะ-นุ-รุ-หะ)

โรม” รากศัพท์มาจาก รุหฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย, ลบ หฺ ที่สุดธาตุ, แผลง อุ ที่ รุ-(หฺ) เป็น โอ (รุหฺ > รุ > โร)

: รุหฺ > รุ + = รุม > โรม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งอกขึ้นมา

ตนุรุห” รากศัพท์มาจาก ตนุ (ตัว, ร่างกาย) + รุหฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย

: ตนุ + รุหฺ = ตนุรุหฺ + = ตนุรุหฺ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งอกขึ้นในร่างกาย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โลม” แบบให้คำจำกัดความว่า the hair of the body (ขนของร่างกาย) และเพื่อให้เห็นว่าต่างจาก “ผม” จึงขยายความไว้ว่า whereas kesa is the hair of the head only (ส่วน “เกส” คือ ขนของศีรษะเท่านั้น)

โลม” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) พหูพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “โลมา” แปลว่า ขนทั้งหลาย

…………..

ขยายความ :

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวถึงจำนวนขนตามร่างกายของมนุษย์ไว้ว่า –

นวุติโลมกูปสหสฺสานิ (นะ-วุ-ติ-โล-มะ-กู-ปะ-สะ-หัด-สา-นิ) (คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 2 อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส หน้า 30)

แปลตามศัพท์ว่า “พันแห่งขุมขนเก้าสิบ

= เก้าสิบพัน = 90,000 ขุม

วิชาสรีรวิทยาสมัยใหม่จะรับรองหรือปฏิเสธตัวเลขนี้ ยังไม่เป็นที่ปรากฏ

……..

โลมา” เป็น 1 ในกรรมฐานที่เรียกว่า “ตจปัญจกกรรมฐาน” (กรรมฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า) อันพระอุปัชฌาย์จะพึงบอกแก่กุลบุตรผู้เข้ามาอุปสมบทในพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้น ประกอบด้วย “เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ” (ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง)

การใช้ “โลมา” เป็นอุปกรณ์ปลงกรรมฐาน ท่านให้พิจารณาโดยนัยเดียวกับ “เกสา

ในบทสวด “พระอาการสามสิบสอง” กล่าวถึง “โลมา” ไว้ดังนี้ –

๏ โลมาคือขน……….งอกทั่วตัวตน……..ไม่เป็นแก่นสาร

เก้าล้านแสนเส้น…….นับเป็นประมาณ…..เครื่องไม่เข้าการ

สาบสูญบรรลัย๏ ๚ะ๛

…….

คำว่า “โลมา” ที่นำมาใช้ในภาษาไทยที่คุ้นกันดีคือคำว่า “อนุโลม” แปลตามศัพท์ว่า “ตามขน” คู่กับ “ปฏิโลม” แปลว่า “ทวนขน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนุโลม : (คำกริยา) ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี. (คำวิเศษณ์) ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แม้จะไม่เชื่อเรื่องบุญกรรม ก็ไม่ควรทำสกปรก

: เพราะถึงเวลาตกนรก ยมบาลท่านไม่อนุโลม

—————-

(ตามคำอาราธนาของคุณครูอนันต์ นาควิจิตร)

ภาพประกอบ: จาก google

ควรตามไปดูคำว่า “อาการ 32” ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ด้วย:

#บาลีวันละคำ (2,011)

14-12-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย