บาลีวันละคำ

ประเทศไม่เฮงซวย (บาลีวันละคำ 1,881)

ประเทศไม่เฮงซวย

ถ้าจำเป็นจะต้องพูดคำว่า “ประเทศเฮงซวย” เป็นบาลี จะใช้คำว่าอะไร?

คำว่า “ประเทศ” ในภาษาไทย อาจใช้คำบาลีธรรมดาที่นึกได้ง่ายๆ ได้ 3 คำ คือ เทส, ปเทส, รฏฺฐ

(๑) “เทส” อ่านว่า เท-สะ รากศัพท์มาจาก ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: ทิสฺ + = ทิสณ > ทิส > เทส แปลตามศัพท์ว่า แปลตามศัพท์ว่า “ที่แสดงให้รู้” “ที่ประกาศให้ปรากฏ” หมายถึง จุด, หัวข้อ, ส่วน, สถานที่, ภาค, ถิ่น, ประเทศ (point, part, place, region, spot, country)

(๒) “ปเทส” อ่านว่า ปะ-เท-สะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสสรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: + ทิสฺ = ปทิสฺ + = ปทิสณ > ปทิส > ปเทส แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนเป็นเหตุปรากฏแห่งหมู่” หมายถึง เครื่องแสดง, ที่ตั้ง, ขอบเขต, แถบ; แดน, จุด, สถานที่ (indication, location, range, district; region, spot, place)

(๓) “รฏฺฐ” อ่านว่า รัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รฐฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ฐต (คือ ที่ ร + ปัจจัย)เป็น ฏฐ ( –ฐต > –ฏฺฐ)

: รฐฺ + = รฐต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นที่เป็นไปแห่งชาวเมือง

(2) รชิ (ธาตุ = เจาะ, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบสระท้ายธาตุ (รชิ > รช), แปลง ชต เป็น ฏฐ

: รชิ > รช + = รชต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นเหตุให้พระราชาทั้งหลายทำลายป้อมค่ายกัน” (ในการเข้ายื้อแย่งเพื่อยึดครองดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง)

รฏฺฐ” ความหมายที่เข้าใจกันก็คือ ดินแดน, อาณาจักร, ประเทศ, แผ่นดิน, บ้านเมือง

ในภาษาไทย ท่านให้ตัด ปฏัก ออก “รฏฺฐ” จึงเขียนเป็น“รัฐ” ถ้าอยู่ท้ายคำ อ่านว่า รัด (เคยมีนิยมพูดกันเป็น รัด-ถะ อยู่บ้าง) ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายอ่านว่า รัด-ถะ- เช่นในคำว่า “รัฐบาล” อ่านว่า รัด-ถะ-บาน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รฏฺฐ” ว่า reign, kingdom, empire; country, realm (รัฐ, อาณาจักร, จักรวรรดิ, ประเทศ, แผ่นดิน)

ภาษาไทยพูดว่า “ประเทศ” คำบาลีที่ตรงที่สุดคือ “รฏฺฐ

ส่วนคำว่า “เฮงซวย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) เฮง : (ภาษาปาก) (คำวิเศษณ์) โชคดี, เคราะห์ดี. (จ. เฮง ว่า โชคดี).

(2) ซวย : (ภาษาปาก) (คำวิเศษณ์) เคราะห์ร้าย, อับโชค. (จ.).

(3) เฮงซวย : (ภาษาปาก) (คำวิเศษณ์) เอาแน่นอนอะไรไม่ได้, คุณภาพต่ำ, ไม่ดี, เช่น คนเฮงซวย ของเฮงซวย เรื่องเฮงซวย. (จ. เฮง ว่า โชคดี, ซวย ว่า เคราะห์ร้าย, เฮงซวย ว่า ไม่แน่นอน).

ความหมายของ “เฮงซวย” ตามความรู้สึกของคนทั่วไปคือ เลวทรามต่ำช้า ใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ไร้ค่าอย่างสิ้นดี ซ้ำมีแต่ความเสียหาย

ความหมายดังกล่าวนี้ น่าจะตรงกับคำอังกฤษว่า bad หรือ very bad

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล bad เป็นบาลีดังนี้ –

(1) duṭṭha ทุฏฺฐ (ทุด-ถะ) = ชั่วร้าย, เลวทราม

(2) pāpī ปาปี (ปา-ปี) = ชั่วร้าย, เลวทราม

(3) nindita นินฺทิต (นิน-ทิ-ตะ) = ถูกตำหนิ, ถูกนินทา

(4) garahita ครหิต (คะ-ระ-หิ-ตะ) = ถูกตำหนิ, ถูกติเตียน

(5) asundara อสุนฺทร (อะ-สุน-ทะ-ระ) = ไม่สวย, ไม่งาม

(6) asuddha อสุทฺธ (อะ-สุด-ทะ) = ไม่สะอาด

(7) sadosa สโทส (สะ-โท-สะ) = มีข้อเสียหาย, มีแต่สิ่งที่เป็นโทษ

…………..

อภิปราย :

ถ้าจำเป็นจะต้องพูดคำว่า “ประเทศเฮงซวย” เป็นบาลี ก็น่าจะต้องใช้คำว่า “ทุฏฺฐรฏฺฐ” (ทุด-ถะ-รัด-ถะ) แปลตามศัพท์ว่า “บ้านเมืองอันโทษประทุษร้ายแล้ว” คือบ้านเมืองที่เลวทราม หรือ “ประเทศเฮงซวย”

ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี (มังคลัตถทีปนี ภาค 1 ข้อ 81 หน้า 86) ตอนอธิบายมงคลข้อว่า “ปฏิรูปเทสวาส = การอยู่ในถิ่นที่สมควร” ท่านแสดงลักษณะของ “ปฏิรูปเทส” ไว้ดังนี้ –

(1) ยตฺถ  จตสฺโส  ปริสา  วิจรนฺติ = ประเทศที่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จำเริญธรรมอยู่

(2) ยตฺถ  ทานาทีนิ  ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ  ปวตฺตนฺติ = ประเทศที่มีการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุกันอยู่ทั่วถ้วน

(3) ยตฺถ  นวงฺคสตฺถุสาสนํ  ทิปฺปติ = ประเทศที่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารุ่งเรืองไพโรจน์อยู่

ประเทศใดมีลักษณาการดังว่ามานี้ ท่านว่าประเทศนั้นแลคือ “ปฏิรูปเทส” ซึ่งพอจะแปลให้เข้ากับกระแสได้ว่า “ประเทศไม่เฮงซวย

เรามาช่วยกันทำประเทศของเราให้เป็น “ประเทศไม่เฮงซวย” กันดีกว่า

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข

: ประเทศไทยจะเป็นประเทศไม่เฮงซวย

3-8-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย