บาลีวันละคำ

สมเพช (บาลีวันละคำ 1,921)

สมเพช

อ่านว่า สม-เพด

สมเพช” ถ้าเทียบเป็นรูปคำในบาลีก็ตรงกับ “สํเวค” (สัง-เว-คะ) และ “สํเวชน” (สัง-เว-ชะ-นะ)

(๑) “สํเวค” รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อม, ร่วมกัน) + วิชฺ (ธาตุ = มี, เป็น, รู้สึก) (นัยหนึ่งว่า วิชิ ธาตุ = กลัว, หวั่นไหว. ลบสระที่สุดธาตุ : วิชิ > วิช) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-(ชฺ) เป็น เอ, แปลง เป็น

: สํ + วิชฺ = สํวิช + = สํวิชณ > สํวิช > สํเวช > สํเวค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ความรู้สึกร่วมกัน” (2) “ความกลัวพร้อม

สํเวค” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้

(1) ความปั่นป่วน, ความกลัว, ความกังวล; (agitation, fear, anxiety)

(2) ความตื่นเต้น (thrill)

(3) ความรู้สึกทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นโดยการคำนึงถึงความทุกข์ยากของสัตวโลก (religious emotion caused by contemplation of the miseries of this world)

(4) ความรู้สึกเร้าเตือนให้เร่งทำกิจที่พึงทำ (sense of urgency)

(๒) “สํเวชน” รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + วิชฺ (ธาตุ = มี, เป็น, รู้สึก) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อิ ที่ วิ-(ชฺ) เป็น เอ (วิชฺ > เวช)

: สํ + วิชฺ = สํวิชฺ + ยุ > อน = สํวิชน > สํเวชน แปลตามศัพท์ว่า “การรู้สึกร่วมกัน” หมายถึง ปั่นป่วน, ปลุกปั่น, สังเวช (agitating, moving)

สํเวชน” ในภาษาไทยนิยมใช้เป็น “สังเวช

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สังเวช, สังเวช– : (คำกริยา) รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้วสังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).”

สํเวค” หรือ “สํเวชน” เป็น “สมเพช” ได้อย่างไร

(1) ก่อนจะเป็น “สํเวค” คำนี้ต้องผ่านการเป็น “สํเวช” (ดูข้างต้น)

(2) “สํเวชน” ในภาษาไทยใช้เป็น “สังเวช” เขียนแบบบาลีก็คือ “สํเวช

ในที่นี้จึงขอจับเอา “สํเวช” เป็นหลัก (แต่โปรดทราบว่าในบาลีไม่มีรูปศัพท์ “สํเวช” มีแต่ที่แปลง “สํเวช” เป็น “สํเวค”)

กระบวนการกลายรูป :

– แปลงนิคหิตที่ สํ– เป็น มฺ : สํ > สมฺ ในบาลีมีจุดใต้ ทำให้ มฺ เป็นตัวสะกด อ่านว่า สำ ไม่ใช่ สะ-มะ แต่เมื่อใช้ในภาษาไทย เราอ่านว่า สม จึงไม่ใส่ไม้หันอากาศ

– แปลง เป็น : –เวช > –เพช

: สํเวช > สมฺเวช > สมฺเพช > สมเพช

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายที่ใช้ในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

สมเพช : (คำกริยา) สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).”

ขยายความ :

พระพุทธศาสนาสอนว่า เรื่องที่ควรนำมาพิจารณาให้เกิดความสังเวช แล้วเร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อมมาในทางกุศล เกิดความคิดไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความดี มีอยู่ 8 เรื่อง คือ –

(1) ความเกิด

(2) ความแก่

(3) ความเจ็บ

(4) ความตาย

(5) การเกิดในภพภูมิที่ไม่เจริญ เช่นเป็นสัตว์เดรัจฉาน

(6) ความทุกข์ที่ได้รับในอดีตชาติ

(7) ความทุกข์ที่จะต้องประสบในชาติต่อไป

(8) ความทุกข์ที่กำลังได้รับในชาตินี้ เช่นทำอย่างไรจึงจะมีกิน ทำอย่างไรจึงจะอยู่รอด

…………..

อภิปราย :

คำว่า “สมเพช” ชวนให้นึกถึงคำในภาษาไทยที่น่าจะนำมาเข้าชุดกันได้อีก 2 คำ คือ “สังเวช” และ “ทุเรศ” เรียงตามลำดับน่าจะเป็นดังนี้ –

(1) สังเวช : น่าสังเวช = สลดใจ + สงสาร

(2) สมเพช : น่าสมเพช = สลดใจ + ตำหนิ

(3) ทุเรศ : น่าทุเรศ = สลดใจ + รังเกียจ

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านปรารถนาจะใช้คำไหนเติมลงในช่องว่างแห่งหัวใจ

: น่าดีใจที่เกิดเป็นมนุษย์ ทำดีก็ดีได้สุดสุดแสนวิเศษ

: แต่ก็น่า……….พวกที่ทำชั่วก็ช่างชั่วได้สุดสุดไม่แพ้กัน

12-9-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย