บาลีวันละคำ

นครกัณฑ์ (บาลีวันละคำ 2,085)

นครกัณฑ์

กัณฑ์ที่ 13 ในมหาเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์

อ่านว่า นะ-คอน-กัน

ประกอบด้วยคำว่า นคร + กัณฑ์

(๑) “นคร

บาลีอ่านว่า นะ-คะ-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) นค (อาคารสูง เช่นปราสาท) + ปัจจัย

: นค + = นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่มีปราสาทเป็นต้น

(2) (แทนศัพท์ “ธนธญฺญาทิสมฺปุณฺณ” = สมบูรณ์ด้วยทรัพย์และ ข้าวเปลือกเป็นต้น หมายถึงเครื่องอุปโภคบริโภคมีบริบูรณ์) + ฆร (บ้านเรือน), แปลง เป็น

: + ฆร = นฆร > นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ซึ่งบ้านเรือนบริบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค

(3) นค (อาคารสูง เช่นปราสาท) + รา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (รา > )

: นค + รา = นครา > นคร + = นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่ถือเอาซึ่งสิ่งปลูกสร้างที่สูง” (คือมีสิ่งปลูกสร้างสูงๆ)

นคร” (นปุงสกลิงค์) ความหมายเดิมในบาลีหมายถึง ป้อม, ที่มั่น, ป้อมปราการ (a stronghold, citadel, fortress) ต่อมาจึงหมายถึง นครหรือเมือง (ที่มีป้อมค่าย) (a [fortified] town, city)

นคร” เป็นทั้งรูปบาลีและสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “นคร” ไว้ดังนี้ –

นคร : (คำนาม) ‘นคร,’ บุรี, กรุง, เมืองเอก, ‘เมืองใหญ่หรือราชธานี;’ a town, a city, a capital or metropolis.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นคร, นคร– : (คำนาม) เมืองใหญ่, กรุง. (ป., ส.).”

(๒) “กัณฑ์

บาลีเป็น “กณฺฑ” (กัน-ดะ) รากศัพท์มาจาก กฑิ (ธาตุ = ตัด, ทำลาย) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ -(ฑิ) แล้วแปลงเป็น ณฺ (กฑิ > กํฑิ > กณฺฑิ), ลบ และลบสระหน้า คือ อิ ที่ กฑิ (กฑิ > กฑ)

: กฑิ > กํฑิ > กณฺฑิ + = กณฺฑิก > กณฺฑก > กณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่ถูกตัด

กณฺฑ” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) ปล้องไม้หรือปล้องอ้อย, ปล้องไม้ไผ่หรือปล้องหญ้า; ก้านลูกศร, ลูกศร (the portion of a stalk or cane between one knot and another; the whole stalk or shaft; the shaft of an arrow, an arrow in general)

(2) ส่วน, ตอนหรือย่อหน้าของหนังสือ (a section, portion or paragraph of a book)

(3) ส่วนเล็กๆ, ชิ้นหรือก้อน (a small portion, a bit or lump)

(4) ส่วนหนึ่งของเวลา, สักประเดี๋ยว, ชั่วครู่, สักครู่ (a portion of time, for a while, a little)

ในที่นี้ “กณฺฑ” มีความหมายตามข้อ (2)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กัณฑ์ : (คำนาม) ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง, เช่น วานรกัณฑ์. (ป.; ส. กฤณฺฑ).”

นคร + กณฺฑ = นครกณฺฑ (นะ-คะ-ระ-กัน-ดะ) แปลว่า “(เรื่องราว) ตอนกลับเข้าเมือง

นครกณฺฑ” ภาษาไทยใช้ว่า “นครกัณฑ์

ขยายความ :

นครกัณฑ์” เป็นชื่อกัณฑ์ที่ 13 ของมหาเวสสันดรชาดก

ในคัมภีร์ชาดก (พระไตรปิฎกเล่ม 28 ข้อ 1257-1269 หน้า 448-453) เรียกชื่อกัณฑ์นี้ว่า “นครกณฺฑํ” (ดูภาพประกอบ) ซึ่งตรงกับที่ภาษาไทยใช้ว่า “นครกัณฑ์

เรื่องราวในกัณฑ์ “นครกัณฑ์” ว่าด้วยพระเวสสันดรทรงรับเชิญที่จะเสด็จกลับ แล้วทรงลาผนวช พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสั่งให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกพระเวสสันดรเป็นกษัตริย์ครองกรุงสีพีดุจกาลก่อน แล้วทรงยกทัพกลับเข้าพระนครสีพี

ข้อสังเกต :

(๑) ชื่อกัณฑ์ในมหาเวสสันดรชาดกที่ลงท้ายด้วยคำว่า “กณฺฑํ” อีกกัณฑ์หนึ่งคือกัณฑ์ที่ 3 คัมภีร์ชาดกใช้คำว่า “ทานกณฺฑํ” ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกใช้ชื่อว่า “ทานกัณฑ์” และกัณฑ์ที่ 13 นี้ คัมภีร์ชาดกใช้คำว่า “นครกณฺฑํ” ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกก็ใช้ชื่อว่า “นครกัณฑ์” ตรงกัน

(๒) เปรียบเทียบชื่อกัณฑ์ในคัมภีร์ชาดกกับชื่อกัณฑ์ในร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกเป็นดังนี้ –

กัณฑ์ที่ 1

คัมภีร์ชาดก = ทสวรคาถา

ร่ายยาวฯ = ทศพร

กัณฑ์ที่ 2

คัมภีร์ชาดก = หิมวนฺตํ

ร่ายยาวฯ = หิมพานต์

กัณฑ์ที่ 3

คัมภีร์ชาดก = ทานกณฺฑํ

ร่ายยาวฯ = ทานกัณฑ์

กัณฑ์ที่ 4

คัมภีร์ชาดก = วนปฺปเวสนํ

ร่ายยาวฯ = วนประเวศน์

กัณฑ์ที่ 5

คัมภีร์ชาดก = ชูชกปพฺพํ

ร่ายยาวฯ = ชูชก

กัณฑ์ที่ 6

คัมภีร์ชาดก = จุลฺลวนวณฺณนา

ร่ายยาวฯ = จุลพน

กัณฑ์ที่ 7

คัมภีร์ชาดก = มหาวนวณฺณนา

ร่ายยาวฯ = มหาพน

กัณฑ์ที่ 8

คัมภีร์ชาดก = ทารกปพฺพํ

ร่ายยาวฯ = กุมาร

กัณฑ์ที่ 9

คัมภีร์ชาดก = มทฺทีปพฺพํ

ร่ายยาวฯ = มัทรี

กัณฑ์ที่ 10

คัมภีร์ชาดก = สกฺกปพฺพํ

ร่ายยาวฯ = สักรบรรพ (สักกบรรพ)

กัณฑ์ที่ 11

คัมภีร์ชาดก = มหาราชปพฺพํ

ร่ายยาวฯ = มหาราช

กัณฑ์ที่ 12

คัมภีร์ชาดก = ฉกฺขตฺติยปพฺพํ

ร่ายยาวฯ = ฉกษัตริย์

กัณฑ์ที่ 13

คัมภีร์ชาดก = นครกณฺฑํ

ร่ายยาวฯ = นครกัณฑ์

(๓) ชื่อกัณฑ์ที่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 รวม 8 กัณฑ์ คือ –

กัณฑ์ที่ 1 ทศพร

กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์

กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์

กัณฑ์ที่ 6 จุลพน

กัณฑ์ที่ 7 มหาพน

กัณฑ์ที่ 8 กุมาร

กัณฑ์ที่ 11 มหาราช

กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์

(๔) ชื่อกัณฑ์ที่ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 รวม 5 กัณฑ์ คือ –

กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์

กัณฑ์ที่ 5 ชูชก

กัณฑ์ที่ 9 มัทรี

กัณฑ์ที่ 10 สักรบรรพ

กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์

ยังไม่ทราบเหตุผลว่า ที่มี ทำไมจึงมี และที่ไม่มี ทำไมจึงไม่มี

บางกัณฑ์ก็น่าสงสัยอย่างยิ่ง เช่น “ทานกัณฑ์” กับ “นครกัณฑ์

ทานกัณฑ์” มี แต่ทำไม่ “นครกัณฑ์” จึงไม่มี

หรือเมื่อ “นครกัณฑ์” ไม่มี แต่ทำไม “ทานกัณฑ์” จึงมี

เพราะทั้ง “ทาน” และ “นคร” ก็เป็นแม่คำด้วยกันทั้งคู่

กล่าวคือ เมื่อถึงคำว่า “ทาน-” แล้วไล่คำต่อไปถึง “-กัณฑ์” ได้ลูกคำว่า “ทานกัณฑ์

เมื่อถึงคำว่า “นคร-” ไล่คำต่อไป ก็ควรไปถึง “-กัณฑ์” และได้ลูกคำว่า “นครกัณฑ์” โดยทำนองเดียวกัน

แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น พจนานุกรมฯ มีคำว่า “ทานกัณฑ์” แต่ไม่มีคำว่า “นครกัณฑ์

จึงไม่ทราบว่าราชบัณฑิตยฯ ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเก็บคำ

…………..

ข้อมูลบางประการ :

สรุปวันเดือนปีที่นิราศพระนคร :

พระเวสสันดรนิราศพระนครเป็นเวลา 1 ปี 15 วัน ตามสำนวนในร่ายยาวกัณฑ์นครกัณฑ์ แสดงไว้ดังนี้ –

………..

ถ้าจะนับแต่วันบรรพชากำหนดนาน

ถึงเจ็ดเดือนจึงได้พระราชทานสองกษัตริย์

ชูชกพารีบรัดมาโดยมรรคา

สิบห้าวันจึงถึงพระพาราเชตุดร

แต่ตระเตรียมพลนิกรอยู่เจ็ดวัน

จึงได้ยกไปยังเขตขัณฑ์คิริยวงกต

กว่าจะบรรลุพระอาศรมบทถึงเดือนหนึ่งกับยี่สิบสามราตรี

แต่ยับยั้งอยู่ในพนาลีได้เดือนเศษ

จึงได้ยกพลนิวัตน์นิเวศเวียงชัย

สองเดือนจึงถึงกรุงไกรพระพิชัยสีพี

สิริเป็นปีหนึ่งกับสิบห้าราตรีไม่เคลื่อนคลา

จึงคืนเข้าพระพารานี้แล้วแล.

………..

อายุของพระเวสสันดร :

พระเวสสันดรครองราชสมบัติจนพระชนมายุ 120 พรรษาจึงสวรรคต ไปอุบัติเป็นสันดุสิตเทวราชเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต

กลับชาติ :

ชูชก กลับชาติมาเกิดเป็นพระเทวทัต

นางอมิตตดา = นางจิญจมาณวิกา

พรานเจตบุตร = พระฉันนเถระ

อัจจุตฤๅษี = พระสารีบุตรเถระ

ท้าวสักกเทวราช = พระอนุรุทธเถระ

พระวิษณุกรรม = พระมหาโมคคัลลานเถระ

เทพบุตรผู้จำแลงเป็นราชสีห์ = พระอุบาลีเถระ

เทพบุตรผู้จำแลงเป็นเสือโคร่ง = พระสีวลีเถระ

เทพบุตรผู้จำแลงเป็นเสือเหลือง = พระจุลนาคเถระ

เทพบุตรผู้จำแลงเป็นพระเวสสันดร = พระมหากัจจายนเถระ

เทพธิดาผู้จำแลงเป็นพระนางมัทรี = นางวิสาขามหาอุบาสิกา

ช้างปัจจัยนาค = พระมหากัสสปเถระ

นางช้างแม่ช้างปัจจัยนาค = นางกีสาโคตรมีศากยธิดา

พระเจ้ากรุงมัททราษฎร์ = พระเจ้ามหานาม

อำมาตย์นำสาร = พระอานนทเถระ

อำมาตย์ผู้จัดการมหาทาน = อนาถบิณฑิกเศรษฐี

พระเจ้ากรุงสญชัย = พระเจ้าสุทโธทนะ

พระนางผุสดี = พระนางสิริมหามายา

พระนางมัทรี = พระพิมพาเถรี

ชาลี = พระราหุลเถระ

กัณหา = พระอุบลวรรณาเถรี

พระเวสสันดร = พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า

……..

กัณฑ์ที่ 13 นครกณฺฑํ 48 พระคาถา

เพลงประจำกัณฑ์: เพลงกลองโยน

…………..

ดูก่อนภราดา!

ผู้บริหารบ้านเมืองย่อมมีอนาคตเป็น 2 สถาน คือ –

: ทำให้ประชาชนชื่นใจ ไปอยู่ไหนก็กลับได้ทุกเมือง

: ทำให้ผู้คนแค้นเคือง อาจไม่มีเมืองจะให้กลับ

#บาลีวันละคำ (2,085)

26-2-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย