บาลีวันละคำ

รโชหรณํ รชํ หรติ (บาลีวันละคำ 2,100)

รโชหรณํ รชํ หรติ

คาถาดับไฟ ฯลฯ

อ่านว่า ระ-โช-หะ-ระ-นัง ระ-ชัง หะ-ระ-ติ

มี 3 คำ คือ (๑) รโชหรณํ (๒) รชํ (๓) หรติ

(๑) “รโชหรณํ

ประกอบด้วยคำว่า รโช + หรณํ

(ก) “รโช” รูปคำเดิมคือ “รช” (ระ-ชะ) รากศัพท์มาจาก

(1) รญฺชฺ (ธาตุ = กำหนัด, ย้อม) + ปัจจัย, ลบ ญฺ ที่ รญฺชฺ (รญฺชฺ > รช)

: รญฺชฺ + = รญฺช > รช แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เปื้อน

(2) รถี (ถนน) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ ถี ที่ (ร)-ถี (รถี > ), ลบ นฺ ที่สุดธาตุ (ชนฺ > ) และลบ กฺวิ

: รถี + ชนฺ = รถีชนฺ + กฺวิ = รถีชนฺกฺวิ > รชนกฺวิ > รชน > รช แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เกิดบนถนน

รช” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ฝุ่น, ของโสโครก; ละอองที่เปื้อน (dust, dirt; staining dust)

(2) มลทิน, ความสกปรก, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์ (stain, dirt, defilement, impurity)

รช” (ปุงลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เปลี่ยนรูปเป็น “รโช

(ข) “หรณํ” รูปคำเดิมคือ “หรณ” (หะ-ระ-นะ) รากศัพท์มาจาก หรฺ (ธาตุ = นำไป, นำออก) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น

: หรฺ + ยุ > อน = หรน > หรณ แปลตามศัพท์ว่า “การนำออกไป” หมายถึง ถือเอา, ยึด, เอาไป (taking, seizing, removing)

รช > รโช + หรณ = รโชหรณ (ระ-โช-หะ-ระ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “การนำฝุ่นออกไป

รโชหรณ” หมายถึง –

(1) การนำฝุ่นออกไป, การทำความสะอาด (dirt-taking, cleaning)

(2) ผ้าขี้ริ้วเปียก, ผ้าถูพื้น, ผ้าปัดฝุ่น (wet rag, floor-cloth, duster)

รโชหรณ” (นปุงสกลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เปลี่ยนรูปเป็น “รโชหรณํ

(๒) “รชํ

รูปคำเดิมคือ “รช” (ความหมายเดียวกับ “รช” ข้างต้น) ทำหน้าที่เป็น “กรรม” ในประโยค จึงต้องแจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เปลี่ยนรูปเป็น “รชํ

(๓) “หรติ

เป็นคำกริยา (บาลีเรียก “กิริยา”) จำพวกที่เรียกว่า “กิริยาอาขยาต” รากศัพท์มาจาก หรฺ (ธาตุ = นำไป, นำออก) + ปัจจัย, ติ วิภัตติ แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น

: หรฺ + + ติ = หรติ แปลว่า “ย่อมนำไป

แทรกหลักวิชา :

๑ “วิภัตติ” (วิ-พัด) ในบาลีไวยากรณ์มี 2 อย่าง คือ วิภัตตินาม สำหรับแจกคำนามให้เปลี่ยนรูปไปต่างๆ และ วิภัตติกิริยาอาขยาต สำหรับประกอบคำให้เป็นกริยา

๒ ในที่นี้ “ติ” เป็นวิภัตติกิริยาอาขยาต ปัจจุบันกาล บังคับว่าประธานต้องเป็นปฐมบุรุษ (คือผู้-หรือสิ่งที่ถูกพูดถึง แต่ในไวยากรณ์ไทย ปฐมบุรุษ หมายถึงตัวผู้พูด) เอกพจน์

หรติ” (กิริยาอาขยาต) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ถือไป (to carry); เอาไปด้วย (to take with one)

(2) นำมา; ให้ (to bring; to offer)

(3) เอา, เก็บ (ผลไม้) (to take, gather [fruits])

(4) ไปเอามา, ซื้อมา (to fetch, buy)

(5) ถือไป, เอาออกไป (to carry away, to remove)

(6) เลิก, ไม่เอา, ยกเลิก (to do away with, to abolish)

(7) เอาไปด้วยพละกำลัง, ปล้น, ขโมย (to take away by force, to plunder, steal)

(8) เปลื้อง, เอาออก, ทำลาย (to take off, to destroy)

(9) ฆ่า (to kill)

ประกอบคำทั้งหมดเข้าเป็นประโยคว่า “รโชหรณํ รชํ หรติ

แปลความว่า “ผ้าเช็ดธุลีย่อมขจัดธุลีออกไป

อภิปราย :

รโชหรณํ รชํ หรติ” นี้ นักเล่นคาถานับถือกันว่าเป็น “คาถาดับไฟ” และน่าจะนับถือเป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ในด้านอื่นๆ อีกด้วย

คาถาบทนี้มีที่มาจากเรื่องพระจุลปันถกเถระ เรื่องย่อๆ คือ ในสมัยพุทธกาล พี่น้อง 2 คน คือมหาปันถกและจุลปันถก บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา พระมหาปันถกเถระบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่พระจุลปันถกพอบวชแล้วกลายเป็นคนปัญญาทึบ พี่ชายให้ท่องคาถา 4 วรรค ล่วงไป 4 เดือนยังจำไม่ได้ ถูกพระพี่ชายตำหนิ น้อยใจจะลาสิกขา พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ภาวนาว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ” ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้เพียงชั่วเวลาไม่นาน

จะเห็นได้ว่า ตามเรื่องเดิม คำนี้เป็น “รโชหรณํ รโชหรณํ” และไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับการดับไฟหรือมีนัยที่ศักดิ์สิทธิ์อันใด

ต่อมาคงจะมีเกจิเปลี่ยนคำไปตามความคิดของตน

ผู้เขียนบาลีวันละคำใคร่จะสันนิษฐานว่า เดิมอาจจะคิดเพียงเอาคำ “รโชหรณํ” มาล้อเสียง ซึ่งถ้าผวนคำก็ควรจะเป็น “รโชหรณํ รชํ หรโณ” (ระ-โช-หะ-ระ-นัง ระ-ชัง หะ-ระ-โน) แต่จะเป็นด้วยผู้แปลงพอจะมีความรู้ทางบาลีอยู่บ้าง หรือเห็นว่าผวนแบบนั้นฟังดูเป็นคำคะนองไปหรืออย่างไรสักอย่าง จึงเลี่ยงไปเป็น “รโชหรณํ รชํ หรติ” เป็นเจตนาจะให้ถูกหลักบาลีไวยากรณ์ หรืออาจถูกหลักเข้าโดยบังเอิญประการใดประการหนึ่ง จาก “รโชหรณํ รโชหรณํ” จึงกลายเป็น “รโชหรณํ รชํ หรติ” ไปด้วยประการฉะนี้

จึงควรทราบไว้ว่า “รโชหรณํ รชํ หรติ” ไม่ใช่คำเดิม เป็นคำที่แปลงมา แต่สามารถแปลเป็นไทยได้ถูกหลักไวยากรณ์ กล่าวคือ –

รโชหรณํ” แปลว่า “ผ้าเช็ดธุลี” เป็นประธานในประโยค

หรติ” แปลว่า “ย่อมนำไป” (คือขจัดออกไป) เป็นกริยา

รชํ” แปลว่า “ซึ่งธุลี” เป็นกรรมในประโยค

แปลทั้งประโยคได้ความว่า “ผ้าเช็ดธุลีย่อมขจัดธุลีออกไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ร่างกายสกปรก โรคถามหา

: จิตใจสกปรก นรกถามหา

#บาลีวันละคำ (2,100)

13-3-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย