บาลีวันละคำ

รัชสมัย (บาลีวันละคำ 1,979)

รัชสมัย

อ่านว่า รัด-ชะ-สะ-ไหฺม

ประกอบด้วยคำว่า รัช + สมัย

(๑) “รัช

บาลีเป็น “รชฺช” (รัด-ชะ) รากศัพท์มาจาก ราช (พระราชา) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ (ณฺย > ), รัสสะ อา ที่ รา-(ช) เป็น อะ (ราช > รช), แปลง ที่ (รา)- กับ ที่ ณฺ ปัจจัย) เป็น ชฺช (ชฺ+ = ชฺช)

: ราช + ณฺย = ราชณฺย > รชณฺย > รชย > รชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นแห่งพระราชา

รชฺช” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง –

(1) ความเป็นพระราชา, ความเป็นเจ้า, อาณาจักร, จักรพรรดิ; รัชสมัย, ราชบัลลังก์ (kingship, royalty, kingdom, empire; reign, throne) (2) ความเป็นเอกราช, อำนาจอธิปไตย (sovereignty)

ขอให้สังเกตขั้นตอนการกลายรูปของ “รชฺช”จะผ่านการเป็น “ราชณฺย” ด้วย

ราชณฺย” อ่านว่า รา-ชัน-ยะ ถ้าเขียนแบบไทย การันต์ที่ ก็จะเป็น “ราชัณย์” ตรงกับรูปคำสันสกฤตที่เป็น “ราชนฺย” (ขั้นตอนนี้ “-ชัณ-” บาลีเป็น เณร) นี่ก็คือคำที่พูดกันในภาษาไทยว่า รา-ชัน นั่นเอง

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ราชนฺย : (คำนาม) ‘ราชนย์,’ กษัตริย์, นรผู้ไสนิกหรือกษัตริยวรรณ; นามของอัคนิ; ต้นไม้; a Kshatriya, a man of the military or regal tribe; a name of Agni; a tree.”

ราชา > ราชณฺย ( > ราชนฺย) > รชฺช > รัช

รชฺช” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่งเป็น “รัช” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัช ๒, รัช– : (คำนาม) ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).”

(๒) “สมย” (สะ-มะ-ยะ)

รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = บ่อยๆ, พร้อมกัน) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (อิ > เอ > อย), แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สม)

: สํ > สม + อิ > เอ > อย : สม + อย + = สมยณ > สมย แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ดำเนินไปเรื่อยๆ” (2) “สิ่งเป็นที่-หรือเป็นเหตุเป็นไปพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย

สมย” (ปุงลิงค์) ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การมาด้วยกัน, การรวมกัน; หมู่ชน, กลุ่มชน (coming together, gathering; a crowd, multitude)

(2) การคบค้าสมาคมกัน, การติดต่อ (consorting with, intercourse)

(3) เวลา, สมัย, ฤดู (time, point of time, season)

(4) เวลาอันบังควร, ฤดูกาล, สมัยหรือโอกาสที่สมควร (proper time, due season, opportunity, occasion)

(5) การประจวบกัน, พฤติการณ์, กาลเทศะ (coincidence, circumstance)

(6) สภาวะ, สถานะ; ขอบข่าย, เขตที่คลุมถึง (condition, state; extent, sphere)

(7) ที่สุด, การลงท้าย, การทำลายล้าง (end, conclusion, annihilation)

ในที่นี้ “สมย” ใช้ในความหมายตามข้อ (3) และ (4)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมัย : (คำนาม) เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).”

รชฺช + สมย = รชฺชสมย > รัชสมัย แปลตามศัพท์ว่า “เวลาแห่งการเป็นพระราชา

รัชสมัย” หมายถึง เวลาที่ครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งๆ

คำที่มีความหมายเหมือนกับ “รัชสมัย” คือ “รัชกาล

คำว่า “รัชกาล” มีความหมายโดยอนุโลมหมายถึง “องค์พระมหากษัตริย์ในรัชกาลนั้น ๆ” ด้วย เช่น “รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น”

แต่ “รัชสมัย” หมายถึง “เวลาที่ครองราชสมบัติ” เท่านั้น ไม่ได้หมายถึง “องค์พระมหากษัตริย์” (ดูเพิ่มเติมที่ “รัชกาล” บาลีวันละคำ (1,620) 10-11-59)

คำว่า “รัชสมัย” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ดูก่อนภราดา!

: โอกาสที่จะเลือกรัชสมัยอาจจะไม่มี

: แต่โอกาสที่จะเลือกทำความดีมีทุกรัชสมัย

#บาลีวันละคำ (1,979)

12-11-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย