บาลีวันละคำ

โลกาธิปไตย (บาลีวันละคำ 2,182)

โลกาธิปไตย

อ่านว่า โล-กา-ทิ-ปะ-ไต หรือ โล-กา-ทิบ-ปะ-ไต ก็ได้

(ตามพจนานุกรมฯ)

ประกอบด้วยคำว่า โลก + อธิปไตย

(๑) “โลก

บาลีอ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , แผลง อุ ที่ ลุ-(ชฺ) เป็น โอ

: ลุชฺ + = ลุชณ > ลุช > โลช > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป

(2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น , แผลง อุ เป็น โอ

: ลุจฺ + = ลุจ > ลุก > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป

(3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ, ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: โลกฺ + = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น

โลก” มีความหมายหลายหลาก เช่น โลก, แผ่นดิน, จักรวาล, คน, มนุษยชาติ, ประชาชน, สัตว์ (world, earth, universe, man, mankind, people, beings)

ขยายความ :

1 โลก หมายถึง ดินแดน แผ่นดิน วัตถุธาตุ หรือดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง คือโลกที่เรามองเห็นและอาศัยอยู่นี้ รวมทั้งดาวดวงอื่น

2 โลก หมายถึง สิ่งมีชีวิต เช่นคน สัตว์ เช่นในคำว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

3 โลก หมายถึง สังคม หมู่ชน ชุมชน เช่นในคำว่า โลกติเตียน เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

4 โลก หมายถึง ชีวิต อันประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ของแต่ละคน ที่สำนวนเก่าเรียกว่า “โลกคือกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก”

5 โลก หมายถึงวิสัยหรือธรรมดาของโลก เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย พบ พราก ได้ เสีย อิ่ม อด สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์

6 โลก หมายถึง ค่านิยม ความคิดจิตใจ ความประพฤติแบบหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับ “ธรรม” เช่น ดื่ม กิน เที่ยว เสพสุข เป็น “โลก” สงบ สำรวม ควบคุมขัดเกลาตนเอง เป็น “ธรรม

(๒) “อธิปไตย

บาลีเป็น “อาธิปเตยฺย” (อา-ทิ-ปะ-เตย-ยะ) รากศัพท์มาจาก อธิปติ + ณฺย ปัจจัย

(ก) “อธิปติ” (อะ-ทิ-ปะ-ติ) รากศัพท์มาจาก อธิ + ปติ

(1) “อธิ” (อะ-ทิ) เป็นคำอุปสรรค (คำที่ใช้ประกอบข้างหน้าคำนามหรือกริยาให้มีความหมายยักเยื้องออกไป) นักเรียนบาลีแปลกันว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายไว้ว่า –

1) บอกทิศทาง, จุดหมาย = จนถึง, เหนือ, ไปยัง, บน (up to, over, toward, to, on)

2) บอกสถานที่ = บนยอด, ข้างบน, เหนือ, บน (on top of, above, over)

(2) “ปติ” (ปะ-ติ) รากศัพท์มาจาก –

(ก) ปา (ธาตุ = รักษา, ดูแล) + ติ ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ปา เป็น อะ (ปา > )

: ปา + ติ = ปาติ > ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักษา

(ข) ปตฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อิ ปัจจัย

: ปตฺ + อิ = ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินไปข้างหน้า

ปติ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) พ่อบ้าน, นาย, เจ้าของ, ผู้นำ (lord, master, owner, leader)

(2) สามี (husband)

อธิ + ปติ = อธิปติ แปลตามศัพท์ว่า “เจ้านายผู้เป็นใหญ่

อีกนัยหนึ่ง “อธิปติ” รากศัพท์มาจาก อธิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) + ปา (ธาตุ = รักษา, ปกครอง) + ติ ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ปา เป็น อะ (ปา > )

: อธิ + ปา = อธิปา + ติ = อธิปาติ > อธิปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปกครองใหญ่

อธิปติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ผู้ปกครอง, เจ้าใหญ่ (ruler, master)

(2) ครอบครอง, ปกครอง, มีอำนาจเหนือ; อยู่ใต้อำนาจ หรือปกครองโดย- (ruling over, governing, predominant; ruled or governed by)

(ข) อธิปติ + ณฺย ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ -(ธิ) เป็น อา (อธิ > อาธิ), ลบ ณฺ ที่ ณฺย ปัจจัย, ซ้อน ยฺ ระหว่างศัพท์กับปัจจัย (-ปติ + ยฺ + ณฺย), แปลง อิ ที่ (ป)-ติ เป็น เอ (-ปติ > –ปเต)

: อธิปติ + ณฺย = อธิปติณฺย > อาธิปติณฺย > อาธิปติย > อาธิปติยฺย > อาธิปเตยฺย (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นผู้เป็นใหญ่ยิ่ง” หมายถึง อำนาจอธิปไตย, ความเป็นใหญ่, ความเป็นเอกราช, อำนาจ (supreme rule, lordship, sovereignty, power)

อาธิปเตยฺย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อธิปไตย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อธิปไตย : (คำนาม) อํานาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็นใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).”

โลก + อาธิปเตยฺย = โลกาธิปเตยฺย แปลว่า “ความมีโลกเป็นใหญ่

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โลกาธิปเตยฺย” ตามศัพท์ว่า “rule of the world” (การปกครองโลก) และบอกความหมายว่า dependence on public opinion, influence of material things on man (การอาศัยความคิดเห็นของประชาชน, โลกาธิปไตย)

โลกาธิปเตยฺย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “โลกธิปไตย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โลกาธิปไตย : (คำนาม) การถือโลกเป็นใหญ่. (ป. โลกาธิปเตยฺย).”

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [125] บอกไว้ดังนี้ –

โลกาธิปไตย : ความมีโลกเป็นใหญ่, ถือโลกเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภนิยมของโลกเป็นประมาณ (Lokādhipateyya: supremacy of the world or public opinion)

…………..

อธิปไตย 3 :

คำในชุด “อาธิปเตยฺย” เขียนแบบไทยว่า “อธิปไตย” มี 3 คำ คือ –

1 อัตตาธิปไตย = ความมีตนเป็นใหญ่ คือ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ

2 โลกาธิปไตย = ความมีโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมหรือเสียงกล่าวว่าของชาวโลกเป็นสำคัญ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ จะทำอะไรก็มุ่งจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยม ทำตามที่เขานิยมกัน หรือคอยแต่หวั่นกลัวเสียงกล่าวว่า

3 ธัมมาธิปไตย = ความมีธรรมเป็นใหญ่ คือ ถือธรรมเป็นใหญ่ นึกถึงความจริง ความถูกต้องสมควรก่อนแล้วจึงทำ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยมบาลไม่รับรู้ความนิยมของชาวโลก

: ขึ้นสวรรค์หรือลงนรกท่านตัดสินตามหลักนิยมของกรรม

…………..

ชี้แจง :

บาลีวันละคำ ตั้งใจเขียนให้เป็นคำที่สามารถยกไปอ้างอิงได้ความครบถ้วนในคำเดียว ไม่ได้โยงให้ไปดูความหมายของคำย่อยที่คำโน้นคำนี้อีกต่อหนึ่ง

เช่นเมื่อวานนี้เขียนคำว่า “อัตตาธิปไตย” อธิบายคำว่า “อธิปไตย” ไปแล้วในคำนั้น

วันนี้เขียนคำว่า “โลกาธิปไตย” ก็อธิบายคำว่า “อธิปไตย” ไว้ที่คำนี้อีก ซึ่งเป็นการซ้ำกับคำก่อน น่าจะบอกว่าให้ไปดูความหมายของคำว่า “อธิปไตย” ที่คำว่า “อัตตาธิปไตย” จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเขียนซ้ำอีก

แต่ถ้าทำเช่นนั้นผู้อ่านก็จะต้องมีคำว่า “อัตตาธิปไตย” เก็บแนบกันไว้อีกคำหนึ่ง มิเช่นนั้นจะรู้ความหมายของคำว่า “โลกาธิปไตย” ไม่ครบ

เวลาจะยกคำว่า “โลกาธิปไตย” ไปอ้างอิง แทนที่จะ one stop service ที่ “โลกาธิปไตย” คำเดียว ก็ต้องแนบคำว่า “อัตตาธิปไตย” ติดไปด้วย กลายเป็นรุงรัง “โดยจำเป็น” ไป

ขอญาติมิตรที่ติดตามอ่านโปรดเข้าใจโดยทั่วกัน

#บาลีวันละคำ (2,182)

3-6-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *