บาลีวันละคำ

กิตติกรรมประกาศ (บาลีวันละคำ 2,255)

กิตติกรรมประกาศ

อ่านว่า กิด-ติ-กำ-มะ-ปฺระ-กาด

แยกคำเป็น กิตติ + กรรม + ประกาศ

(๑) “กิตติ

บาลีเป็น “กิตฺติ” (มีจุดใต้ ตฺ ตัวแรก) อ่านว่า กิด-ติ รากศัพท์มาจาก กิตฺตฺ (ธาตุ = กล่าวถึง, พูดด้วยดี) + อิ ปัจจัย

: กิตฺต + อิ = กิตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ความดีอันเขากล่าวถึง” หมายถึง คําเล่าลือ, คําสรรเสริญ, ชื่อเสียง, ความรุ่งโรจน์, เกียรติยศ (fame, renown, glory, honour)

กิตฺติ” สันสกฤตเป็น “กีรฺติ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “กีรฺตฺติ” และ “กีรฺติ” บอกไว้ดังนี้ :

(สะกดตามต้นฉบับ)

กีรฺตฺติ, กีรฺติ : (คำนาม) เกียรติ, ความบันลือ, ศรี (ยศสฺหรือสง่า), อนุเคราะห์, อนุกูลย์; ธันยวาท; ศัพท์, เสียง; อาภา, โศภา; โคลน, สิ่งโสโครก; ความซ่านทั่ว; มูรติทิพยศักดิ์ของพระกฤษณ; fame, renown, glory; favour; approbation; sound; light, lustre; mud, dirt; diffusion, expansion; one of the Mātrikās or personified divine energies of Krishṇa.”

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กมฺม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

(๓) “ประกาศ

บาลีเป็น “ปกาส” อ่านว่า ปะ-กา-สะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + กาสฺ (ธาตุ = ส่องแสง, ส่งเสียง) + ปัจจัย

: + กาสฺ = ปกาสฺ + = ปกาส แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ส่องสว่างทั่ว” “ผู้ส่งเสียงไปทั่ว

ปกาส” ในบาลีมักใช้ในความหมายว่า แสงสว่าง, ความสว่าง (light)

ถ้าใช้ในความหมายว่า การอธิบาย, การทำให้ทราบ, ข่าวสาร, หลักฐาน, การชี้แจง, การประกาศ, การเผยแพร่ (explaining, making known; information, evidence, explanation, publicity) บาลีนิยมใช้ในรูป “ปกาสน” (ปะ-กา-สะ-นะ) ( + กาสฺ + ยุ > อน = ปกาสน)

ปกาส สันสกฤตเป็น “ปฺรกาศ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปฺรกาศ : (คำนาม) ‘ประกาศ,’ สูรยาตบะ, สูรยาโลก, แสงแดด; โศภา, ประภา; ความเบิกบาน, ความสร้าน, ความแสดงไข; หัวเราะ; ยิ้ม; ความเปิดเผยหรือแพร่หลาย; ธาตุสีขาวหรือธาตุหล่อระฆัง; sunshine; luster, light, expansion, diffusion, manifestation; a laugh; a smile; publicity; white or bellmetal.”

ในภาษาไทยใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “ประกาศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประกาศ : (คำกริยา) ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. (คำนาม) ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของบริษัท; ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).”

การประสมคำ :

กิตฺติ + กมฺม = กิตฺติกมฺม > กิตติกรรม แปลว่า “กรรมอันเป็นเกียรติ” “การกระทำอันควรยกย่อง

กิตฺติกมฺม + ปกาส = กิตฺติกมฺมปกาส > กิตติกรรมประกาศ แปลว่า “การบอกกล่าวให้รู้ถึงการกระทำอันควรยกย่อง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กิตติกรรมประกาศ : (คำนาม) ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).”

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานบอกว่า “กิตติกรรมประกาศ” บัญญัติจากคำอังกฤษว่า acknowledgement (โปรดสังเกตว่า คำอังกฤษในวงเล็บตามพจนานุกรมฯ สะกด acknowledgements)

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล acknowledgement ว่า ยอมรับ, รับรอง, แจ้งว่าได้รับ (จดหมาย)

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล acknowledgement เป็นบาลีดังนี้ –

(1) sampaṭicchana สมฺปฏิจฺฉน (สำ-ปะ-ติด-ฉะ-นะ) = การยอมรับ, การรับรอง

(2) paṭijānana ปฏิชานน (ปะ-ติ-ชา-นะ-นะ) = การรับรู้, การยอมรับ, การเห็นพ้อง, การรับปาก

อภิปราย :

ดูคำแปล acknowledgement เป็นบาลี จะเห็นว่าทั้ง “สมฺปฏิจฺฉน” และ “ปฏิชานน” ไม่ได้มีความหมายใกล้เคียงกับ “กิตฺติกมฺมปกาส > กิตติกรรมประกาศ” เลย

น่าจะเป็นเพราะข้อความส่วนที่เป็น acknowledgement ในวิทยานิพนธ์นิยมเขียนขอบคุณบุคคลต่างๆ อันเป็นการประกาศเกียรติคุณ หรือความจริงก็คืออุปการคุณ ที่มีต่อกันเป็นส่วนตัวระหว่างบุคคลนั้นๆ กับผู้ทำวิทยานิพนธ์ เมื่อนิยมเขียน acknowledgement ให้มีความหมายเช่นนั้นกันมากๆ เข้า acknowledgement จึงกลายเป็น “การบอกกล่าวให้รู้ถึงการกระทำอันควรยกย่อง” หรือ “กิตติกรรมประกาศ” อันเป็นความหมายเฉพาะกรณีดังที่นิยมใช้กัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: “อยู่มาจนป่านนี้ ทำไมไม่มีใครให้กิตติกรรมประกาศ”

: ถ้ายมบาลตวาด ท่านจะตอบว่ากระไร

#บาลีวันละคำ (2,255)

15-8-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย