บาลีวันละคำ

โลกันตรนรก (บาลีวันละคำ 2,312)

โลกันตรนรก

อย่าเขียนผิดเป็น โลกันตนรก

อ่านว่า โล-กัน-ตะ-ระ-นะ-รก

ประกอบด้วยคำว่า โลกันตร + นรก

(๑) “โลกันตร

บาลีเป็น “โลกนฺตร” (โล-กัน-ตะ-ระ) ประกอบด้วยคำว่า โลก + อนฺตร

(ก) “โลก” บาลีอ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , แผลง อุ ที่ ลุ-(ชฺ) เป็น โอ

: ลุชฺ + = ลุชณ > ลุช > โลช > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป

(2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น , แผลง อุ เป็น โอ

: ลุจฺ + = ลุจ > ลุก > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป

(3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ, ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: โลกฺ + = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น

โลก” มีความหมายหลายหลาก เช่น โลก, แผ่นดิน, จักรวาล, คน, มนุษยชาติ, ประชาชน, สัตว์ (world, earth, universe, man, mankind, people, beings)

(ข) “อนฺตร” อ่านว่า อัน-ตะ-ระ รากศัพท์มาจาก อติ (ธาตุ = ผูก) + อร ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุ (อติ > อํติ) แล้วแปลงนิคหิตเป็น นฺ (อํติ > อนฺติ), ลบสระที่สุดธาตุ (-ติ > )

: อติ > อํติ > อนฺติ > อนฺต + อร = อนฺตร (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่ผูกสองข้างไว้” หมายถึง ภายใน, ระหว่าง (inside, in between)

โลก + อนฺตร = โลกนฺตร แปลว่า “ระหว่างโลก” หมายถึง ช่องว่างระหว่างโลกแต่ละโลก (the space between the single worlds)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “โลกันตร์” (โล-กัน) ซึ่งมาจากคำว่า “โลกนฺตร” บอกไว้ดังนี้ –

โลกันตร์ : (คำนาม) ชื่อนรกขุมหนึ่งเป็นที่ลงโทษที่หนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด. (ป. โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก; ส. ว่า โลกอื่น).”

(๒) “นรก

บาลีอ่านว่า นะ-ระ-กะ รากศัพท์ประกอบด้วย –

(1) นี (ธาตุ = นำไป) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง อี ที่ นี เป็น (นี > ), แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), ลง อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (นี > + + ณฺวุ > อก)

: นี > + = นร + ณฺวุ > อก = นรก

(2) นร (ธาตุ = นำไป) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก

: นร + ณฺวุ > อก = นรก

นรก” แปลตามศัพท์ว่า “ภูมิที่นำคนบาปไป” นอกจากหมายถึง ภูมินรก ดังที่เราเข้าใจกันแล้ว ยังแปลว่า หลุมลึก หรือ เหว อีกด้วย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นรก” ว่า a pit และไขความอีกนัยหนึ่งว่า a name for Niraya, purgatory; a place of torment for the deceased (ชื่อสำหรับเรียกแดนนิรยะ คือนรก; สถานที่ทรมานผู้ที่ตายไปแล้ว)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นรก : (คำนาม) แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. (ป., ส. นรก ว่า เหว).”

โลกนฺตร + นรก = โลกนฺตรนรก (โล-กัน-ตะ-ระ-นะ-ระ-กะ) แปลว่า “นรกอันมีอยู่ในระหว่างโลก

โลกนฺตรนรก” เขียนในภาษาไทยเป็น “โลกันตรนรก

โปรดสังเกตว่า “โลกันตรนรก” ไม่ใช่ “โลกันตนรก

โลกันตร-” มี ร เรือ ด้วย ไม่ใช่ “โลกันต-” ไม่มี ร เรือ

โลกันตร-” (โล-กัน-ตะ-ระ-) แปลว่า “ในระหว่างโลก” (the space between the single worlds)

โลกันต-” (โล-กัน-ตะ-) แปลว่า “ที่สุดของโลก” (the end [spatial] of the world)

เป็นคนละคำคนละความหมายกัน และต่างกันโดยสิ้นเชิง

โลกันตนรก” (คำผิด) ไม่มี

มีแต่ “โลกันตรนรก

แต่เมื่อว่าตามหลักภาษาบาลี คำนี้ต้องเป็น “โลกันตริกนรก” (โล-กัน-ตะ-ริ-กะ-นะ-รก)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ไขความคำว่า “โลกันตริกนรก” ว่า –

A group of Nirayas or Purgatories situated in the lokantara, 8,000 yojanas in extent, pitch dark, which were filled with light when Gotama became the Buddha. (กลุ่มเมืองนรกซึ่งตั้งอยู่ในโลกกันตระ, นรกเหล่านี้มีระยะ 8,000 โยชน์ มืดมนหนัก แต่เกิดมีแสงสว่างไปทั่วเมื่อพระโคดมทรงเป็นพระพุทธเจ้า)

คัมภีร์พระพุทธศาสนาอธิบายเรื่อง “โลกันตริกนรก” ไว้ดังนี้ –

…………..

โลกันตริกนรก

นรก (ตามที่กล่าวมาแล้ว) เหล่านี้ตั้งอยู่ภายในจักรวาฬทั้งหมด เว้นแต่โลกันตริกนรกอยู่ภายนอกจักรวาฬ. ด้วยเหตุนั้นในอรรถกถาแห่งอัจฉริยัพภูตสูตรเป็นต้น จึงได้กล่าวว่า “ได้ยินว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นโคจรไปโดยท่ามกล่างภูเขาจักรวาฬ. แต่โลกันตริกนรกอยู่เลยภูเขาจักรวาฬออกไป. เพราะฉะนั้นพระจันทร์พระอาทิตย์จึงไม่พอจะส่องแสงไปในโลกันตริกนรกนั้น.” อนึ่ง ในอัจฉริยัพภูตสูตรเป็นต้นได้กล่าวไว้ว่า “โลกันตริกนรกเหล่านั้นไม่ถูกคลุม ไม่ถูกปิด มืด มืดสนิท.”

อรรถกถาอัจฉริยัพภูตสูตรเป็นต้นนั้นว่า “อธิบายคำว่า โลกันตริกนรก: โลกันตริกนรกขุมหนึ่งๆ อยู่ในระหว่างจักรวาฬทุกๆ ๓ จักรวาฬเปรียบเหมือนช่องว่างในท่ามกลางของล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือบาตร ๓ ใบ ซึ่งจรดกันและกันตั้งอยู่. โลกันตริกนรกนั้น มีปริมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์. คำว่า ไม่ถูกคลุม หมายความว่า เปิดโล่งอยู่เป็นนิตย์. คำว่า ไม่ถูกปิด หมายความว่า แม้เบื้องล่างก็ไม่มีที่เหยียบยืน. คำว่า มืด คือเป็นที่มืด. คำว่า มืดสนิท หมายความว่า ประกอบด้วยความมืดอันทำให้ตาบอด โดยห้ามเสียซึ่งความบังเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ. ได้ยินว่าจักษุวิญญาณไม่เกิดได้ในโลกันตริกนรกนั้น. มีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็สัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดในโลกันตริกนรกนั้น ได้ทำกรรมอะไรไว้จึงไปบังเกิด? ตอบว่า สัตว์เหล่านั้นได้กระทำความผิดอย่างหยาบช้าทารุณต่อมารดาบิดา และสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม และทำกรรมอย่างสาหัสอื่นๆ มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้นทุกวันๆ ราวกะนายโจร เช่น อภัยโจร และนาคโจรเป็นต้นในในตามพปัณณิทวีป (ประเทศลังกา). อัตภาพของสัตว์นรกเหล่านั้นมีประมาณ ๓ คาวุต. เป็นสัตว์มีเล็บยาวดุจค้างคาว. สัตว์นรกเหล่านั้นเอาเล็บเกี่ยวที่เชิงจักรวาฬเหมือนค้างคาวเอาเล็บเกี่ยวที่ต้นไม้ฉะนั้น ในเวลาที่เอามือควานไปถูกกันและกันเข้าก็จะสำคัญว่า “เราได้ภักษาแล้ว” กระเถิบเข้าหา (เพื่อจะจับกิน) ก็กลิ้งจะตกไปบนน้ำรองโลก. เมื่อถูกลมกระทบก็แตกราวกะผลมะซางสุกตกไปในน้ำ. และพอตกลงไปก็ย่อยไปเหมือนก้อนแป้งในน้ำกรดอย่างแรง.”

ที่มา: จักรวาฬทีปนี หอสมุดแห่งชาติ ตรวจชำระเรียบเรียง กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ.2523 หน้า 116-117 (ภาคภาษาไทย)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ภาษาอาจอ้างได้ว่าเข้าใจผิด

: แต่ทำทุจริต นรกไม่ให้สิทธิ์อ้างได้เลย

#บาลีวันละคำ (2,312)

11-10-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *