บาลีวันละคำ

สูตร (บาลีวันละคำ 2,388)

สูตร

คำสั้น แต่ความหมายยาว

สูตร” ในภาษาไทยอ่านว่า สูด บาลีเป็น “สุตฺต” (สุด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สุจ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น ตฺ

: สุจฺ + = สุจฺต > สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยาวออกไป

(2) สุ (ธาตุ = ไหล, หลั่ง) + ปัจจัย ซ้อน ตฺ

: สุ + ตฺ + = สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พจนะที่หลั่งเนื้อความออกมา” “พจนะที่ยังเนื้อความให้หลั่งไหลออกมาเหมือนแม่โคหลั่งน้ำนม

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + ตา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ตา > ), ซ้อน ตฺ

: สุ + ตฺ + ตา = สุตฺตา > สุตฺต + = สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พจนะที่รักษาอรรถไว้ด้วยดี

(4) สุจ (ธาตุ = ประกาศ, ให้แจ่มแจ้ง) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น ตฺ

: สุจฺ + = สุจฺต > สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พจนะที่ประกาศเนื้อความ

สุตฺต” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้

(1) ด้าย, เส้นด้าย (a thread, string)

(2) ส่วนของปิฎกทางพุทธศาสนา the (discursive, narrational) part of the Buddhist Scriptures containing the suttas or dialogues, later called Sutta-piṭaka).

(3) หนึ่งในองค์แห่งหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า (หนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์) (one of the divisions of the Scriptures)

(4) กฎ, มาตรา (a rule, a clause)

(5) บท, หมวด, คำสนทนา, ข้อความ, ข้อสนทนา (a chapter, division, dialogue, text, discourse)

(6) ฉันท์โบราณ, คำอ้างอิง (an ancient verse, quotation)

(7) หนังสือเกี่ยวกับกฎ, เรื่องราวเก่าๆ, ตำรา (book of rules, lore, text book)

บาลี “สุตฺต” สันสกฤตเป็น “สูตฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “สูตฺร” ไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สูตฺร : (คำนาม) ‘สูตร์,’ ด้ายทั่วไป; วิธี, นิเทศในนีติหรือศาสตร์; พากย์สั้นอันบอกวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งในไวยากรณ์, ตรรกวิทยา, ฯลฯ; มติหรือศาสนบัตร์ในนีติ; thread or string in general; an axiom or a rule, a precept in morals or science; a short sentence intimating some rule in grammar, logic, &c.; an opinion or decree in law.”

ในภาษาไทย “สูตร” มีความหมายหลายอย่างเช่นกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “สูตร” ไว้ 3 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) สูตร ๑ : (คำนาม) กฎสําหรับจดจํา เช่น สูตรคูณ สูตรคณิตศาสตร์; ส่วนประกอบที่กำหนดขึ้นในการปรุงยา อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น. (ส.; ป. สุตฺต).

(2) สูตร ๒ : (คำนาม) ชื่อหลักธรรมในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า พระสูตร เช่น มงคลสูตร กาลามสูตร; ข้อความทางปรัชญาที่เรียบเรียงร้อยกรอง หรือย่อขึ้นไว้สำหรับท่องจำ เช่น โยคสูตร นยายสูตร สูตรสนธิ.

(3) สูตร ๓ : (คำนาม) มุ้ง, ม่าน, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสูตร หรือ พระวิสูตร.

ข้อสังเกต :

คำว่า “สูตร” ที่หมายถึงส่วนหนึ่งในพระไตรปิฎก คือในชุดที่เราเรียกกันว่า พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ในภาษาไทยถ้าเรียกโดยใช้คำว่า “ปิฎก” ลงท้าย เรานิยมเรียกว่า พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก

โปรดสังเกตว่า “พระสูตร” (คำในชุดพระไตรปิฎก) เราไม่เรียกว่า “พระสูตรปิฎก” แต่เรียกว่า “พระสุตตันตปิฎก” (-สุด-ตัน-ตะ-)

และในพระสุตตันตปิฎกก็มีเรื่องราวเป็นตอนๆ เช่น ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ก็ตอนหนึ่ง กาลามสูตร ก็ตอนหนึ่ง มงคลสูตร ก็ตอนหนึ่ง ซึ่งก็เรียกว่า “พระสูตร” เหมือนกัน แต่เป็น “พระสูตร” ในพระสุตตันตปิฎกอีกทีหนึ่ง หรือจะเรียกให้งงหน่อยๆ ก็เรียกว่า “พระสูตรในพระสูตร” – นี้เป็นคำที่ควรสังเกต

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สูตรมีไว้สำหรับท่องจำ

: แต่ลงมือทำคือของจริง

#บาลีวันละคำ (2,388)

26-12-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *