บาลีวันละคำ

กกุธภัณฑ์ (บาลีวันละคำ 2,509)

กกุธภัณฑ์

สัญลักษณ์แห่งความเป็นพระมหากษัตริย์

อ่านว่า กะ-กุด-ทะ-พัน

ประกอบด้วยคำว่า กกุธ + ภัณฑ์

(๑) “กกุธ

บาลีอ่านว่า กะ-กุ-ทะ รากศัพท์มาจาก –

(1) กกุ (ธาตุ = ถือเอา) + อุธ ปัจจัย, แปลง อุ ที่ (ก)-กุ เป็น อะ (กกุ > กก)

: กกุ > กก + อุธ = กกุธ แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะที่ถือเอา” (คือรองรับแอก) (2) “ของที่ต้องถือเอาไป

(2) กกฺ (ธาตุ = ห้าม) + อุธ ปัจจัย

: กกฺ + อุธ = กกุธ แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่ห้ามลม

(3) (ฟ้า) + กุ (แผ่นดิน) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และลบ กฺวิ

: + กุ = กกุ + ธรฺ = กกุธรฺ + กฺวิ = กกุธรฺกฺวิ > กกุธรฺ > กกุธ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทรงไว้ซึ่งฟ้าและแผ่นดิน”

กกุธ” (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) โหนกบนไหล่ของโค (the hump on the shoulders of a bull)

(2) หงอนไก่ (a cock’s comb)

(3) พระราชา (the king)

(4) ต้นไม้, ต้นกุ่ม (a tree, the Terminalia Arjuna)

(5) สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพระราชา (a king’s symbol or emblem)

(๒) “ภัณฑ์

เขียนแบบบาลีบาลีเป็น “ภณฺฑ” อ่านว่า พัน-ดะ รากศัพท์มาจาก ภฑิ (ธาตุ = ห่อ, เก็บ) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุ แล้วแปลงเป็น ,(ภฑิ > ภํฑิ > ภณฺฑิ), ลบสระที่สุดธาตุ และ

: ภฑิ > ภํฑิ > ภณฺฑิ + = ภณฺฑิก > ภณฺฑิ > ภณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบุคคลพึงห่อเก็บ” เดิมหมายถึงสิ่งซึ่งสามารถห่อแล้วเก็บไว้ได้ ต่อมาความหมายขยายไปถึงสิ่งของทั่วไป

ภณฺฑ (นปุงสกลิงค์) ในบาลี ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ของค้าขาย; สินค้า, สิ่งของ, ทรัพย์สมบัติ (stock in trade; collectively goods, wares, property, possessions)

(2) เครื่องใช้, วัตถุ, เครื่องมือ (implement, article, instrument)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัณฑ-, ภัณฑ์ : (คำนาม) สิ่งของ, เครื่องใช้. (ป.; ส. ภาณฺฑ).”

กกุธ + ภณฺฑ = กกุธภณฺฑ (กะ-กุ-ทะ-พัน-ดะ) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งของอันเป็นพระราชทรัพย์ที่จะต้องถือเอาไปด้วยเสมอเมื่อพระราชาเสด็จ” (2) “ของใช้ของกษัตริย์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กกุธภณฺฑ” ว่า ensign of royalty (เครื่องราชกกุธภัณฑ์) และขยายความไว้ว่า –

The 5 regalia are vāḷavījanī, uṇhīsa, khagga, chatta, pādukā: the fan, diadem, sword, canopy, slippers. (เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 5 อย่าง คือ วาฬวีชนี, อุณฺหีส, ขคฺค, ฉตฺต, ปาทุกา: วาลวีชนี, มงกุฎ, พระขรรค์, ฉัตร, ฉลองพระบาท)

กกุธภณฺฑ” ในภาษาไทยใช้เป็น “กกุธภัณฑ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กกุธภัณฑ์ : (คำนาม) สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่าของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).”

…………..

หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน้า 110 อธิบายคำว่า “เครื่องราชกกุธภัณฑ์” มีข้อความดังนี้

…………..

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ (ราด-ชะ-กะ-กุด-ทะ-พัน)

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ต้องทูลเกล้าฯ ถวายในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นประเพณีสืบเนื่องมาจากลัทธิพราหมณ์ โดยพระมหาราชครูพราหมณ์เป็นผู้ถวาย ประกอบด้วย พระมหาเศวตฉัตร พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ผู้มีธรรมไม่จำเป็นต้องมีอำนาจ

: แต่ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องมีธรรม

#บาลีวันละคำ (2,509)

26-4-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย