บาลีวันละคำ

สทารสันโดษ (บาลีวันละคำ 2,530)

สทารสันโดษ

คำที่ควรจะแปลกันใหม่

อ่านว่า สะ-ทา-ระ-สัน-โดด

ประกอบด้วยคำว่า + ทาร + สันโดษ

(๑) “

อ่านว่า สะ ตัดมาจาก “สก” (สะ-กะ) รากศัพท์มาจาก (สะ. = ตน) + (กะ)

” (กะ) ตัวนี้ ภาษาไวยากรณ์บาลีเรียกว่า “สกรรถ” อ่านว่า กะ-สะ-กัด

คำว่า “สกรรถ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สกรรถ : (คำนาม) เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).”

สกรรถ” จึงหมายถึง อักษร ที่ลงข้างท้ายศัพท์ เมื่อลงแล้วศัพท์นั้นมีความหมายเท่าเดิม

: + = สก (สะ-กะ) คงแปลว่า “ของตน” (own) เท่าเดิม

อีกนัยหนึ่ง จะว่า “” ตัวนี้เป็น “” ที่แปลว่า “ของตน” ในตัวเองอยู่แล้ว ไม่ต้องลง “สกรรถ” ดังนี้ก็ได้

(๒) “ทาร

บาลีอ่านว่า ทา-ระ รากศัพท์มาจาก ทรฺ (ธาตุ = แตก, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา ตามกฎ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (ทรฺ > ทาร)

: ทรฺ + = ทรณ > ทร > ทาร (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้แตกกัน” (คือเป็นผู้แยกสามีออกจากครอบครัวของเขา)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็แปล “ทาร” ว่า a young woman, esp. married woman, wife (สตรีสาว, โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีที่แต่งงานแล้ว, ภรรยา)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

ทาร– : (คำแบบ) (คำนาม) เมีย เช่น ทารทาน คือ การให้เมียเป็นทาน. (ป., ส.).”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับแก้คำนิยามใหม่เป็นดังนี้ –

ทาร– : (คำแบบ) (คำนาม) เมีย เช่น สทารสันโดษ คือ การยินดีเฉพาะเมียของตน. (ป., ส.).”

(๓) “สันโดษ

บาลีเป็น “สนฺโตส” (สัน-โต-สะ) รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อม, ดี) + ตุสฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น นฺ (สํ > สนฺ), แผลง อุ ที่ ตุ เป็น โอ (ตุสฺ > โตส)

: สํ + ตุส = สํตุสฺ + = สํตุสณ > สํตุส > สนฺตุส > สนฺโตส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเหตุยินดีพร้อม” หมายถึง ความยินดี, ความพอใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดีในของของตน, ความยินดีตามฐานะ, ความรู้สึกว่ามีความสุขตามฐานะ (satisfaction, contentment)

สนฺโตส” ในภาษาไทยใช้เป็น “สันโดษ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สันโดษ : (คำนาม) ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือสันโดษ. (ภาษาปาก) (คำกริยา) มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).”

การประสมคำ :

สก + ทาร ลบ ที่ ส (สก > )

: สก + ทาร = สกทาร > สทาร แปลว่า “เมียของตน

สทาร + สนฺโตส = สทารสนฺโตส (สะ-ทา-ระ-สัน-โต-สะ) แปลว่า “ความพอใจด้วยเมียของตน

สทารสนฺโตส” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สทารสันโดษ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

สทารสันโดษ : ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม), จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า “สทารสันโดษ” ไว้ แต่มีกล่าวถึงในบทนิยามคำว่า “ทาร-” ดังนี้ (อ้างแล้วข้างต้น) –

ทาร– : (คำแบบ) (คำนาม) เมีย เช่น สทารสันโดษ คือ การยินดีเฉพาะเมียของตน. (ป., ส.).”

ได้ความตามพจนานุกรมฯ ว่า “สทารสันโดษ” หมายถึง “การยินดีเฉพาะเมียของตน

อภิปราย :

ผู้เขียนบาลีวันละคำมีความเห็นว่า “สทารสันโดษ” ควรแปลว่า “การยินดีเฉพาะคู่ครองของตน” เหตุผลคือ “สทารสันโดษ” เป็นหลักเบญจธรรมที่คู่กับเบญจศีล กล่าวคือ –

(1) เมตตากรุณา คู่กับ ปาณาติบาต

(2) สัมมาอาชีวะ (หรือ ทาน) คู่กับ อทินนาทาน

(3) สทารสันโดษ (หรือ กามสังวร) คู่กับ กาเมสุมิจฉาจาร

(4) สัจจะ คู่กับ มุสาวาท

(5) สติสัมปชัญญะ (หรือ อัปปมาทะ) คู่กับ สุราเมรยฯ

จะเห็นได้ว่า ทั้งชายและหญิงสามารถปฏิบัติเบญจธรรมได้ทุกข้อ แต่ถ้าแปล “สทารสันโดษ” (เบญจธรรมข้อ 3) ว่า “การยินดีเฉพาะเมียของตน” ก็จะกลายเป็นว่าเบญจธรรมข้อนี้ปฏิบัติได้เฉพาะผู้ชาย แต่ผู้หญิงปฏิบัติไม่ได้

แต่ถ้าแปล “สทารสันโดษ” ว่า “การยินดีเฉพาะคู่ครองของตน” เบญจธรรมข้อนี้ก็ปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง

อนึ่ง โปรดสังเกตว่า ในหลักธรรมข้อนี้ ถ้าประสงค์จะให้หมายถึงเฉพาะ “ภรรยา” หรือ “เมีย” “สทารสันโดษ” ก็น่าจะใช้คำว่า “สภริยาสันโดษ

ถ้าใช้อย่างนี้ก็จะยืนยันได้ชัดเจนว่าหมายถึงเฉพาะ “ภรรยา” หรือ “เมีย

การที่ท่านใช้คำว่า “สทารสันโดษ” ย่อมเป็นอันแสดงเจตจำนงชัดเจนว่า “ทาร” ในที่เช่นนี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะภรรยา แต่หมายถึงทั้งภรรยาและสามี หรือหมายถึง “เมีย” ก็ได้ และหมายถึง “ผัว” ก็ได้ นั่นคือหมายถึงคนที่ครองคู่กัน

จริงอยู่ ในข้อความทั่วไป “ทาร” หมายถึง a young woman, married woman, wife (สตรีสาว, สตรีที่แต่งงานแล้ว, ภรรยา) ดังที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษแปลไว้ แต่ในบางบริบท “ทาร” มุ่งถึง “คู่ครอง” มากกว่าที่จะเจาะจงเฉพาะ “ภรรยา” หรือ “เมีย” ดังที่มักเข้าใจกัน (แคบๆ) เช่นในคำว่า “สทารสันโดษ” นี้เป็นต้น

ด้วยเหตุผลดังแสดงมา ผู้เขียนบาลีวันละคำขอประกาศว่า คำว่า “สทารสันโดษ” ต้องแปลว่า “การยินดีเฉพาะคู่ครองของตน” จึงจะชอบด้วยเหตุผล

ดูเพิ่มเติม: “ทาโร อันว่าเมีย ” บาลีวันละคำ (2,527) 14-5-62

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ครอบครัวแตกแยกจะไม่มี

: ถ้าฝึกใจให้ยินดีเฉพาะคู่ครองของตัว

#บาลีวันละคำ (2,530)

17-5-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *