บาลีวันละคำ

นภศูล (บาลีวันละคำ 2,592)

นภศูล

สะกดคนละอย่างกับ “นพศูล

อ่านว่า นบ-พะ-สูน

ประกอบด้วยคำว่า นภ + ศูล

(๑) “นภ

บาลีอ่านว่า นะ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) (ไม่, ไม่ใช่) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีวัตถุอะไรเลย

(2) น (จาก นตฺถิ = ไม่มี) + (จาก ภูมิ = แผ่นดิน) + ปัจจัย

: + = นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีแผ่นดิน

(3) (ไม่, ไม่ใช่) + ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภี > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่พวกนกไม่กลัว

นภ” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง หมอก, ไอน้ำ, เมฆ, ทองฟ้า (mist, vapour, clouds, sky)

ในที่นี้ “นภ” หมายถึง ท้องฟ้า

(๒) ศูล

บาลีเป็น “สูล” (สู- เสือ) อ่านว่า สู-ละ รากศัพท์มาจาก สูลฺ (ธาตุ = ทิ่มแทง) + ปัจจัย

: สูลฺ + = สูล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทิ่มแทง

สูล” (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) หลาว, ไม้แหลม (a sharp-pointed instrument, a stake)

(2) เหล็กแหลม (a spit)

(3) ความเจ็บปวดอย่างสาหัส (an acute, sharp pain)

บาลี “สูล” สันสกฤตเป็น “ศูล” (บาลี เสือ, สันสกฤต ศาลา)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ศูล” ไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศูล : (คำนาม) ความปวดจัดหรือปวดจี๋, ดุจ อุทรศูล (ปวดท้อง), ท้องขึ้นท้องเฟ้อและจุกเสียด, ฯลฯ; อาวุธ; เหล็กแหลม; ธวัช, ธง; นักษัตรโยคที่เก้า; มฤตยุ; หญิงแพศยา; เครื่องสวนทวารหรือเสียบนักโทษ; หอก, ตรีศูลหรือสามง่าม, แหลน, ฯลฯ; a sharp pain, as belly ache; colic, &c.; a weapon; an iron pin or spit; a banner, an ensign; the ninth astrological Yoga; that of the lunar mansion; death; a whore; a stake for impaling criminals, an instrument used for putting them to death; a spear or dart, a trident, a pike, &c.”

นภ + สูล = นภสูล (นะ-พะ-สู-ละ) แปลตามศัพท์ว่า “หอกที่เสียบขึ้นไปในท้องฟ้า

นภสูล” ในภาษาไทย “สูล” สะกดตามสันสกฤตเป็น “ศูล” คำนี้จึงสะกดเป็น “นภศูล” อ่านว่า นบ-พะ-สูน

อภิปราย :

คำนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ 2 คำ คือ “นพศูล” (นพ- พ พาน สะกด) และ “นภศูล” (นภ- สำเภา สะกด) และเก็บคู่กันไว้ทั้ง 2 คำ คือแห่งหนึ่งเก็บเป็น “นพศูล, นภศูล” (นพ- พาน ขึ้นก่อน) อีกแห่งหนึ่งเก็บเป็น “นภศูล, นพศูล” (นภ- สำเภา ขึ้นก่อน) บทนิยามหรือคำจำกัดความเหมือนกันทั้ง 2 แห่ง คือบอกว่าเป็นคำนาม หมายถึง —

“เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกาลําภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก.”

มีคำถามว่า คำนี้ถ้าสะกดเป็น “นพศูล” (นพ- พาน สะกด) จะแปลว่าอะไร

นพ” แปลว่า ใหม่ หรือ เก้า (จำนวน 9)

นพศูล” ก็ต้องแปลว่า “หอกใหม่” หรือ “หอกเก้าเล่ม

ยังไม่พบหลักนิยมว่า เครื่องประดับยอดปรางค์ที่ทำเป็นรูปหอกจะต้องมีหอกจำนวน 9 เล่มเสมอไป เป็นเหตุให้ชื่อเครื่องประดับชนิดนี้สะกดว่า “นพศูล” อันแปลว่า “หอกเก้าเล่ม” เทียบได้กับคำว่า “นพปฎล” ที่แปลว่า “เพดานเก้าชั้น” ในคำว่า “นพปฎลเศวตฉัตร” ซึ่งแปลว่า “ฉัตรขาวเก้าชั้น” เพราะมีหลักนิยมว่า เศวตฉัตรของพระมหากษัตริย์จะต้องมีเก้าชั้นเสมอไป

ดังนั้น ที่สะกดเป็น “นพศูล” ก็คงจะต้องหาคำอธิบายกันต่อไปว่าหมายถึงอะไร

ผู้เขียนบาลีวันละคำมีความเห็นว่า คำนี้สะกด “นภศูล” (น สำเภา) อันแปลว่า “หอกที่เสียบขึ้นไปในท้องฟ้า” น่าจะสมเหตุสมผลมากกว่า

…………..

ดูก่อนภราดา!

: นภศูล-หลาวเสียบฟ้า

เพื่อบูชาเทพองค์ใด

: กิเลส-หลาวเสียบใจ

ถอนออกได้บูชาธรรม

#บาลีวันละคำ (2,592)

18-7-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *