บาลีวันละคำ

สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ (บาลีวันละคำ 2,684)

สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ

ใช้ภาษาเป็นสะพานข้ามไปเรียนธรรม

สัจญาณ” อ่านว่า สัด-จะ-ยาน

กิจญาณ” อ่านว่า กิด-จะ-ยาน

กตญาณ” อ่านว่า กะ-ตะ-ยาน

(๑) “สัจญาณ” ประกอบด้วยคำว่า สัจ + ญาณ

(ก) “สัจ” บาลีเป็น “สจฺจ” (สัด-จะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (แทนศัพท์ว่า “สนฺต” = สัตบุรุษ, คนดี) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง ภู เป็น

: + ภู > = สจ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีในคนดีทั้งหลาย” (สัจจะจึงต้องเป็นไปในทางดี)

(2) สรฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ส)-รฺ (สรฺ > ), ซ้อน จฺ

: สรฺ > + จฺ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนทุกข์” (สัจจะจึงต้องใช้เพื่อแก้ทุกข์ คือแก้ปัญหา)

สจฺจ” เป็นคำนาม แปลว่า ความจริง (the truth), การยืนยันแน่นอน (a solemn asseveration) เป็นคุณศัพท์ แปลว่า จริง, แท้ (real, true)

สจฺจ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง เขียนเป็น “สัจ

(ข) “ญาณ” บาลีอ่านว่า ยา-นะ รากศัพท์มาจาก ญา (ธาตุ = รู้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น

: ญา + ยุ > อน = ญาน > ญาณ แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องช่วยรู้” “สิ่งที่เป็นเหตุให้รู้” “รู้สิ่งที่พึงรู้” หมายถึง ความรู้, ปัญญา, การหยั่งเห็น, ความเข้าใจ, การหยั่งรู้, การรับรู้, ความคงแก่เรียน, ทักษะ, ความฉลาด (knowledge, intelligence, insight, conviction, recognition, learning, skill)

ญาณ” ในความหมายพิเศษ หมายถึงปัญญาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างแจ่มชัดจนเกิดความสว่างไสวในดวงจิต หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษถึงเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

สจฺจ + ญาณ = สจฺจญาณ > สัจญาณ แปลว่า “การรู้ความจริง” คือรู้ความจริงในอริยสัจแต่ละข้อถูกต้องตรงกับความเป็นจริง เช่นทุกข์ ก็รู้ว่าทุกข์เป็นเช่นนั้นๆ จริงๆ

(๒) “กิจญาณ” ประกอบด้วยคำว่า กิจ + ญาณ

กิจ” บาลีเป็น “กิจฺจ” (กิด-จะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + ริจฺจ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ก)-รฺ (กรฺ > ) และ ที่ ริ-(จฺจ) (ริจฺจ > อิจฺจ)

: กรฺ > + ริจฺจ > อิจฺจ : + อิจฺจ = กิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่พึงทำ” หมายถึง หน้าที่, การงาน, การบริการ; พิธี, การกระทำ (duty, obligation, service, attention; ceremony, performance)

กิจฺจ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง เขียนเป็น “กิจ

กิจฺจ + ญาณ = กิจฺจญาณ > กิจญาณ แปลว่า “การรู้หน้าที่” คือรู้ว่า อริยสัจข้อไหนจะต้องทำอะไรอย่างไร

(๓) “กตญาณ” ประกอบด้วยคำว่า กต + ญาณ

กต” (กะตะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาต (กรฺ > )

: กรฺ + = กรต > กต แปลว่า “สิ่งที่ถูกทำแล้ว

กต + ญาณ = กตญาณ แปลว่า “การรู้ว่าทำแล้ว” คือรู้ว่า ได้ทำกิจที่ควรทำในอริยสัจข้อนั้นๆ สำเร็จแล้ว

สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ ทั้ง 3 คำนี้เป็นศัพท์วิชาการในอริยสัจ 4

ขยายความ :

อริยสัจ 4 คือ –

(1) ทุกข์ เช่นเกิด แก่ ตาย หรือ “ปัญหา” ทั้งปวง

(2) สมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด

(3) นิโรธ ความดับทุกข์

(4) มรรค หนทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์

วิธีปฏิบัติในอริยสัจ 4 ก็คือใช้ “ญาณ” ทั้ง 3 เป็นเกณฑ์กำหนดสิ่งที่พึงปฏิบัติในอริยสัจแต่ละข้อ ดังนี้ –

(1) ทุกข์

หน้าที่ของ “สัจญาณ” คือ ยอมรับว่าเรื่องที่เป็นทุกข์เป็นปัญหานั้นเกิดมีอยู่จริง ถ้าไม่ยอมรับว่ามีปัญหาอยู่จริง ความคิดที่จะแก้ปัญหาก็จะไม่มี

หน้าที่ของ “กิจญาณ” คือ รู้ว่าจะต้องศึกษาข้อเท็จจริงของปัญหาและทำความเข้าใจให้ตรงกับความเป็นจริง

หน้าที่ของ “กตญาณ” คือ รู้ว่าได้ศึกษากำหนดรู้ข้อเท็จจริงนั้นสำเร็จแล้ว มิใช่แค่รู้ว่าจะต้องทำ แต่ยังไม่ได้ทำ

(2) สมุทัย

หน้าที่ของ “สัจญาณ” คือ กำหนดรู้ได้ว่า สิ่งนั้นแน่ๆ ที่เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ไม่ใช่สิ่งอื่น

หน้าที่ของ “กิจญาณ” คือ รู้ว่าจะต้องลดเลิกละสาเหตุนั้นๆ ให้ได้ ต้องกำจัดปัดเป่าออกไปเสียให้ได้

หน้าที่ของ “กตญาณ” คือ รู้ว่าได้กำจัดปัดเป่าสาเหตุแห่งทุกข์ออกไปสำเร็จแล้ว ถ้ายังไม่ได้ทำหรือยังทำไม่สำเร็จจะเกิดความรู้เช่นนี้ขึ้นมาไม่ได้

(3) นิโรธ

หน้าที่ของ “สัจญาณ” คือ กำหนดรู้ความจริงว่า เรื่องที่เป็นทุกข์เป็นปัญหานั้นแก้ไขได้ ไม่ใช่เรื่องที่แก้ไม่ได้

หน้าที่ของ “กิจญาณ” คือ กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องทำให้ได้ผลเช่นไร ไม่ใช่ทำไปอย่างพร่ามัว ไม่รู้ว่าทำเพื่ออะไร

หน้าที่ของ “กตญาณ” คือ รู้ว่ากำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนลงตัวแน่นอนแล้ว ไม่ใช่ยังพร่ามัวอยู่ไม่รู้จะไปทางไหน

(4) มรรค

หน้าที่ของ “สัจญาณ” คือ รู้ชัดประจักษ์ใจว่า หนทางนี้แน่นอนที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ได้จริง ไม่ลังเลสงสัยใดๆ

หน้าที่ของ “กิจญาณ” คือ รู้แน่ชัดว่าจะต้องปฏิบัติดำเนินเช่นไรจึงจะดับทุกข์ได้

หน้าที่ของ “กตญาณ” คือ รู้เห็นผลชัดแจ้งว่าได้ลงมือดำเนินไปตามลำดับจนบรรลุปลายทางแล้ว ไม่ใช่แค่รู้ว่าควรดำเนิน แต่ยังไม่ได้ดำเนิน

…………..

บาลีวันละคำวันนี้มีหลายคำ มิหนำซ้ำพาเข้าวัดตรงๆ คือต้องการอธิบายธรรม จึงอาศัยคำเป็นสะพาน

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ตามสมควร

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านจะเอาแบบไหน?

: เรียนธรรมที่ไทยเพียรอธิบายให้ไทยฟัง

: ฤๅจะต้องรอให้ฝรั่งมาอธิบาย?

#บาลีวันละคำ (2,684)

18-10-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย