บาลีวันละคำ

ทำดีได้ดี (บาลีวันละคำ 2,693)

ทำดีได้ดี

พูดเป็นบาลีว่าอย่างไร

คำว่า “ทำดีได้ดี” เป็นคำที่พูดกันทั่วไป คู่กับ “ทำชั่วได้ชั่ว

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เป็นคำที่ถอดมาจากภาษาบาลี ถ้าพูดคำไทยแล้วรู้คำบาลีด้วยจะช่วยให้คำพูดมีน้ำหนัก

คำว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ในภาษาบาลีมีข้อความเต็มๆ ดังนี้ –

เขียนแบบบาลี :

ยาทิสํ วปเต พีชํ

ตาทิสํ ลภเต ผลํ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ

ปาปการี จ ปาปกํ.

เขียนแบบคำอ่าน :

ยาทิสัง วะปะเต พีชัง

ตาทิสัง ละภะเต ผะลัง

กัล๎ยาณะการี กัล๎ยาณัง

ปาปะการี จะ ปาปะกัง.

คำแปล :

ปลูกพืชเช่นใด

ได้ผลเช่นนั้น

ทำดีได้ดี

ทำชั่วได้ชั่ว

ที่มา: สมุททกสูตร สังยุตนิกาย สคาถวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม 15 ข้อ 903

คำบาลีว่า “กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ” นี่เองที่ถอดเป็นคำไทยว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

คำที่ควรรู้รากศัพท์ :

(๑) “กลฺยาณการี” อ่านว่า กัน-ลฺยา-นะ-กา-รี (“กลฺยาณ” อ่านตามเสียงบาลีว่า กัน-เลีย-นะ) ประกอบด้วยคำว่า กลฺยาณ + การี

(ก) “กลฺยาณ” รากศัพท์มาจาก กลฺย (เหมาะสม, ดีงาม) + อณฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ (กลฺ)- เป็น อา

: กลฺย + อณฺ = กลฺยณ + = กลฺยณณ > กลฺยณ > กลฺยาณ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่ถึงความปราศจากโรค” (คือไม่เจ็บไม่ป่วย แข็งแรง = ดีงาม) (2) “กรรมที่ยังบุคคลให้ถึงประโยชน์เกื้อกูล

กลฺยาณ” มีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) งดงาม, ดีงาม, มีเสน่ห์, เป็นศุภมงคล, เป็นอนุเคราะห์, มีประโยชน์, มีคุณธรรมดี (beautiful, charming; auspicious, helpful, morally good)

(2) สิ่งที่ดีหรือมีประโยชน์, ของดีต่างๆ (a good or useful thing, good things)

(3) ความดี, คุณธรรม, บุญกุศล, กุศลกรรม (goodness, virtue, merit, meritorious action)

(4) ความกรุณา, ความอุปการะ (kindness, good service)

(5) ความงาม, ความสะดุดตาหรือดึงดูดใจ, ความสมบูรณ์พร้อม (beauty, attraction, perfection)

 ในภาษาไทยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กัลยาณ– : (คำวิเศษณ์) งาม, ดี, ใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).”

(ข) “การี” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณี ปัจจัย, ลบ (ณี > อี), ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (กรฺ > การ)

: กรฺ + ณี > อี : กรฺ + อี = กรี > การี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำ

(๒) “ปาปการี” อ่านว่า ปา-ปะ-กา-รี ประกอบด้วยคำว่า ปาป + การี

(๑) “ปาป” (ปา-ปะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย, ลง อาคม

: ปา + + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นแดนรักษาตนแห่งเหล่าคนดี” (คือคนดีจะป้องกันตนโดยออกห่างแดนชนิดนี้)

(2) ปา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปา + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่รักษาอบายภูมิไว้” (คือเพราะมีคนทำกรรมชนิดนี้ อบายภูมิจึงยังคงมีอยู่)

(3) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + อปฺ (ธาตุ = ให้ถึง) + ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ -(ป) (อปฺ > อาป)

: + อปฺ = ปปฺ + = ปป > ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ยังผู้ทำให้ถึงทุคติ

(4) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + เป (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ลบ เอ ที่ เป (เป > ), ทีฆะ อะ ที่ อุปสรรคเป็น อา

: + เป = ปเป + = ปเปณ > ปเป > ปป > ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นเหตุไปสู่อบาย

ปาป” ในบาลีมีความหมายดังนี้ –

(1) ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง ความชั่ว, ความเลวร้าย, การทำผิด, (evil, sin, wrong doing)

(2) ถ้าเป็นคุณศัพท์ หมายถึง เลวร้าย, เป็นอกุศล, ชั่ว, เลวทราม, บาป (evil, bad, wicked, sinful)

ปาป” ในภาษาไทยใช้ว่า “บาป” (ปา– เป็น บา-) อ่านว่า บาบ ถ้ามีคำอื่นมาสมาส อ่านว่า บาบ-ปะ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บาป, บาป– : (คำนาม) การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามในศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. (คำวิเศษณ์) ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).”

(ข) “การี” (ดูข้างต้น)

การประสมคำ :

กลฺยาณ + การี = กลฺยาณการี แปลว่า “ผู้ทำกรรมดีเป็นปกติ” (doing good, virtuous)

ปาป + การี = ปาปการี แปลว่า “ผู้ทำกรรมชั่วเป็นปกติ” (evil-doer, villain)

อภิปราย :

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” (กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ) เป็นหลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา นั่นคือหลักกรรมนิยาม หรือ “กฎแห่งกรรม” แต่คนทั่วไปมักไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด จนเกิดคำพูดที่วิปริตว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป

คำเต็มๆ ท่านย้ำยืนยันไว้แล้วว่า “ยาทิสํ วปเต พีชํ  ตาทิสํ ลภเต ผลํ” (ปลูกพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น) อันเป็นหลักพีชนิยาม

ปลูกมะม่วง ผลที่ออกมาจากมะม่วงต้นนั้นต้องเป็นผลมะม่วง จะเป็นผลขนุนไปไม่ได้ ฉันใด ทำชั่วจะได้ดีก็เป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น

เวลาทำความเข้าใจเรื่องกรรมนิยาม (กฎแห่งกรรม) จึงต้องระลึกถึงพีชนิยามควบคู่ไว้ด้วยเสมอ

ส่วนกรณีที่เมื่อทำอะไรลงไปแล้วต้องการให้ได้ผลที่ปรารถนา ต้องใช้กฎอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “สมบัติ 4

ขอยกข้อความในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [177] มาแสดงในที่นี้ เพื่อเป็นอุปการะในการศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันหลักคำสอนที่ว่า “ทำดีได้ดี” ต้องมีองค์ประกอบอย่างไร

…………..

[177] สมบัติ 4 (ข้อดี, ความเพียบพร้อม, ความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล, ส่วนประกอบอำนวย ช่วยเสริมกรรมดี — Sampatti: accomplishment; factors favourable to the ripening of good Karma)

1. คติสมบัติ (สมบัติแห่งคติ, ถึงพร้อมด้วยคติ, คติให้; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนิดอันอำนวย หรือที่เกิดอันเจริญ ในช่วงสั้นหมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินดี หรือทำถูกเรื่อง ถูกที่ คือกรณีนั้น สภาพแวดล้อมนั้น สถานการณ์นั้น ถิ่นที่นั้น ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดี หรือการเจริญงอกงามของความดี ทำให้ความดีปรากฏผลโดยง่าย — Gati-sampatti: accomplishment of birth; fortunate birthplace; favourable environment, circumstances or career)

2. อุปธิสมบัติ (สมบัติแห่งร่างกาย, ถึงพร้อมด้วยรูปกาย, รูปกายให้; ในช่วงยาวหมายถึง มีกายสง่า สวยงาม บุคลิกภาพดี ในช่วงสั้นหมายถึง ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี — Upadhi-sampatti: accomplishment of the body; favourable or fortunate body; favourable personality, health or physical conditions)

3. กาลสมบัติ (สมบัติแห่งกาล, ถึงพร้อมด้วยกาล, กาลให้; ในช่วงยาว หมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ หรือบ้านเมืองสงบสุข มีการปกครองที่ดี คนในสังคมอยู่ในศีลธรรม สามัคคีกัน ยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว ในช่วงสั้นหมายถึง ทำถูกกาลถูกเวลา — Kāla-sampatti: accomplishment of time; favourable or fortunate time)

4. ปโยคสมบัติ (สมบัติแห่งการประกอบ, ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร, กิจการให้; ในช่วงยาว หมายถึงฝักใฝ่ในทางที่ถูก นำความเพียรไปใช้ขวนขวายประกอบการที่ถูกต้องดีงาม มีปกติประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่ความดีงามอยู่แล้ว ในช่วงสั้นหมายถึง เมื่อทำกรรมดี ก็ทำให้ถึงขนาด ทำจริงจัง ให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ใช้วิธีการที่เหมาะกับเรื่อง หรือทำความดีต่อเนื่องมาเป็นพื้นแล้ว กรรมดีที่ทำเสริมเข้าอีก จึงเห็นผลได้ง่าย — Payoga-sampatti: accomplishment of undertaking; favourable, fortunate or adequate undertaking)

…………..

โดยสรุปก็คือ ต้องทำ (1) ถูกที่ (2) ถูกคน (3) ถูกเวลา (4) ถูกวิธี ทำถูกครบถ้วนดังนี้ ผลที่ประสงค์จึงจะสำเร็จ

แต่ไม่ว่าจะทำถูกหรือไม่ถูกแค่ไหนอย่างไร คำว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” (กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ) ก็ย่อมเป็นความจริงอยู่เช่นนั้นเสมอ

หน้าที่ของเราคือ ปรับความเห็นให้ตรงกับความจริง ไม่ใช่เกณฑ์ให้ความจริงให้ตรงกับความเห็น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เราห้ามคนทั้งโลกไม่ให้ทำชั่วไม่ได้

: แต่เราห้ามตัวเองได้

#บาลีวันละคำ (2,693)

27-10-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย