บาลีวันละคำ

จ ภ ก ส (บาลีวันละคำ 2,828)

จ ภ ก ส

คาถากาสลัก

เขียนเป็นคำอ่านว่า จะ ภะ กะ สะ ตัดมาจากข้อความเต็มๆ ดังนี้ –

ช ทุชฺชนสํสคฺคํ

ช สาธุสมาคมํ

ร ปุญฺญมโหรตฺตํ

ร นิจฺจมนิจฺจตํ.

คำอ่าน :

จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง

ภะชะ สาธุสะมาคะมัง

กะระ ปุญญะมะโหรัตตัง

สะระ นิจจะมะนิจจะตัง.

จะ ภะ กะ สะ ตัดออกมาจากพยางค์แรกของแต่ละบาท

จะ > จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง

ภะ > ภะชะ สาธุสะมาคะมัง

กะ > กะระ ปุญญะมะโหรัตตัง

สะ > สะระ นิจจะมะนิจจะตัง.

อธิบาย :

คาถานี้แต่งเป็นปัฐยาวัตฉันท์ กำหนดคำบาทละ ๘ พยางค์ (ลองนับดู)

แต่ที่พิเศษคือแต่งเป็นกลบท

คำว่า “กลบท” หมายถึงคําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา

อย่างในคาถานี้ ใช้คำกริยาเป็นคำลหุ (คำเสียงเบา คือเสียงสั้น) 2 พยางค์ขึ้นต้นบาทเหมือนกันทั้ง 4 บาท

จช = ท่านจงละทิ้ง

ภช = ท่านจงคบหา

กร = ท่านจงกระทำ

สร = ท่านจงระลึก

แยกศัพท์ :

จช = ท่านจงละทิ้ง (เป็นคำกริยามัธยมบุรุษ = ผู้ที่เราพูดด้วย)

ทุชฺชน = คนชั่ว

+ สํสคฺคํ = การเกี่ยวข้อง, การคบหา

(เครื่องหมาย + หมายถึงเป็นคำที่สมาสกับคำหน้า)

ภช = ท่านจงคบหา

สาธุ = คนดี

+ สมาคมํ = การคบหาสมาคม

กร = ท่านจงกระทำ

ปุญฺญํ = ซึ่งบุญ

อโหรตฺตํ = ตลอดวันตลอดคืน

สร = ท่านจงระลึก

นิจฺจํ = เป็นนิตย์

อนิจฺจตํ = ความไม่เที่ยง, ความไม่แน่นอน

คำแปล :

ช ทุชฺชนสํสคฺคํ = จงสละละทิ้งการคบหาคนชั่ว

ช สาธุสมาคมํ = จงคบหาสมาคมกับคนดี

ร ปุญฺญมโหรตฺตํ = จงทำบุญทุกวันคืน

ร นิจฺจมนิจฺจตํ. = จงระลึกถึงความไม่แน่นอนไว้เป็นนิตย์

หมายเหตุ : คำว่า “สาธุสมาคมํ” ในบาทที่ 2 บางสำนวนเป็น “ปณฺฑิตเสวนํ” (ปัน-ดิ-ตะ-เส-วะ-นัง) แปลว่า “การคบหาบัณฑิต

อภิปราย :

คาถานี้ท่านเรียกกันว่า “คาถากาสลัก” บางทีก็เรียก “คาถากาสัก”

ทำไมจึงเรียกคาถานี้ว่า “กาสลัก” (คาถากาสลัก)

เคยได้ยินคำอธิบายในที่แห่งหนึ่ง (จำที่มาไม่ได้) ว่า เพราะคาถานี้แต่งเป็นกลบท แต่ละบาทขึ้นต้นด้วยคำลหุซ้ำกัน 2 พยางค์ เสียงสั้นๆ ซ้ำกัน 2 ครั้งมีลีลาเหมือนกาใช้ปากจิกอย่างว่องไวลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นอาหารที่มันจะกินเป็นต้น

กิริยาที่ปากของกาจิกลงไปเป็นอย่างเดียวกับที่เราใช้ปากกาเขียนหนังสือ คือ “สัก” ลงไป นั่นคือ “กาสัก” แล้วแผลงเป็น “กาสลัก”

สรุปความหมายตามคำอธิบายนี้ว่า “กาสลัก” หมายถึง คาถาที่ใช้คำขึ้นต้นแต่ละวรรคเป็นเสียงสั้นๆ ซ้ำกันเหมือนกาใช้ปากจิกลงไปอย่างว่องไว

อีกนัยหนึ่งเป็นคำอธิบายในชั้นหลังของคนรุ่นใหม่ บอกว่า –

“กา” ก็คือปากกาที่ใช้เขียนหนังสือ

“สลัก” หรือ “สัก” คือเขียนลงไป

“กาสลัก” ก็หมายความว่า ใช้ปากกาเขียนคาถานี้ไว้ที่ใดที่หนึ่ง

มีหนังสือเก่าเล่มหนึ่งชื่อ “คาถากาสลัก” เรียบเรียงโดยพระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารีเถระ) เมื่อยังเป็นพระมหาชอบ อนุจารี พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2484 (ดูภาพประกอบ)

เชื่อว่าในหนังสือเล่มนี้ท่านผู้เรียบเรียงจะต้องกล่าวถึงความหมายของคำว่า “กาสลัก” ไว้ด้วยอย่างแน่นอน

ผู้เขียนบาลีวันละคำยังไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้เลย ญาติมิตรท่านใดเคยอ่านหรือมีหนังสือเล่มนี้อยู่ในมือ ถ้าจะกรุณาเผยแพร่ข้อความที่น่ารู้ต่างๆ ก็จะเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง

หรือท่านผู้ใดเคยได้ยินคำอธิบายความหมายคำว่า “กาสลัก” เป็นอย่างอื่นจากที่กล่าวมา ถ้าจะกรุณานำมาบอกเล่าไว้ด้วย ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

อนึ่ง คำว่า “จะ ภะ กะ สะ” นี้ บางแห่ง (หลายแห่ง) เขียนเป็น “จะ พะ กะ สะ” คือ ใช้ พะ พ พาน โปรดทราบว่าคลาดเคลื่อน

คำที่ถูกคือ ภะ สำเภา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงละทิ้งคนพาลอย่าผ่านพบ

: จงเลือกคบคนดีทวีผล

: จงทำบุญทุกวันคืนชื่นกมล

: จงเตือนตนหมั่นคิดอนิจจัง

#บาลีวันละคำ (2,828)

10-3-63

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย