คว่ำบาตร

บาลีวันละคำ

คว่ำบาตร (บาลีวันละคำ 1,115)

คว่ำบาตร

“คว่ำ” เป็นคำไทย
“บาตร” สันสกฤตเป็น “ปตฺร” บาลีเป็น “ปตฺต”
เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “บาตร”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) คว่ำ : (คำกริยา) พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้านหน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้ามกับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ;

Read More
บาลีวันละคำ

คว่ำบาตร (บาลีวันละคำ 767)

คว่ำบาตร
บาลีว่าอย่างไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“คว่ำบาตร : (สํานวน) ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

คว่ำบาตร : การที่สงฆ์ลงโทษอุบาสกผู้ปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย โดยประกาศให้ภิกษุทั้งหลายไม่คบด้วย คือไม่รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับไทยธรรม, บุคคลต้นบัญญัติ คือวัฑฒลิจฉวี ซึ่งถูกสงฆ์คว่ำบาตร เพราะโจทพระทัพพมัลลบุตร ด้วยสีลวิบัติอันไม่มีมูล, คำเดิมตามบาลีว่า “ปัตตนิกกุชชนา”

“ปัตตนิกกุชชนา” เขียนแบบบาลีเป็น “ปตฺตนิกฺกุชฺชนา” อ่านว่า ปัด-ตะ-นิก-กุด-ชะ-นา ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ปตฺต + นิกฺกุชฺชนา

ปตฺต แปลว่า บาตร
นิกฺกุชฺชนา แปลว่า คว่ำลง
ปตฺตนิกฺกุชฺชนา จึงแปลตรงตัวว่า “คว่ำบาตร”

คำบาลีบางคำเราเอามาใช้ทั้งคำ ทั้งความหมาย เช่น “บิณฑบาต” คำก็เป็นบาลี ความหมายก็เป็นความหมายตามบาลี
แต่คำว่า “คว่ำบาตร” นี้ เราไม่ได้เอาคำบาลีมาใช้ แต่เอาคำแปลหรือความหมายมาใช้ (อาจเป็นเพราะคำว่า “ปตฺตนิกฺกุชฺชนา” ทั้งรูปทั้งเสียงไม่สู้จะรื่นในภาษาไทย)

ใครคือผู้ที่ควรจะถูก “คว่ำบาตร” ?

Read More