บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

การศึกษาเพื่อการรักษาพระศาสนา (๑)

คุณสมบัติของภิกษุผู้สอนคนอื่น 

[๔๐๗] ฯเปฯ อนุชานามิ  ภิกฺขเว  อฏฺฐหงฺเคหิ  สมนฺนาคตํ  ภิกฺขุํ  ภิกฺขุโนวาทกํ  สมฺมนฺนิตุํ  สีลวา  โหติ  ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต  วิหรติ  อาจารโคจรสมฺปนฺโน  อนุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี  สมาทาย  สิกฺขติ  สิกฺขาปเทสุ  พหุสฺสุโต  โหติ  สุตธโร  สุตสนฺนิจโย  เย  เต  ธมฺมา  อาทิกลฺยาณา  มชฺเฌกลฺยาณา  ปริโยสานกลฺยาณา  สาตฺถํ  สพฺยญฺชนํ  เกวลปริปุณฺณํ  ปริสุทฺธํ  พฺรหฺมจริยํ  อภิวทนฺติ  ตถารูปาสฺส  ธมฺมา  พหุสฺสุตา  โหนฺติ  ธตา  วจสา  ปริจิตา  มนสานุเปกฺขิตา  ทิฏฺฐิยา  สุปฺปฏิวิทฺธา  อุภยานิ  โข  ปนสฺส  ปาติโมกฺขานิ  วิตฺถาเรน  สฺวาคตานิ  โหนฺติ  สุวิภตฺตานิ  สุปฺปวตฺตีนิ  สุวินิจฺฉิตานิ  สุตฺตโส  อนุพฺยญฺชนโส  กลฺยาณวาโจ  โหติ  กลฺยาณวากฺกรโณ  เยภุยฺเยน  ภิกฺขุนีนํ  ปิโย  โหติ  มนาโป  ปฏิพโล  โหติ  ภิกฺขุนิโย  โอวทิตุํ  น  โข  ปเนตํ  ภควนฺตํ  อุทฺทิสฺส  ปพฺพชิตาย  กาสายวตฺถวสนาย  ครุธมฺมํ  อชฺฌาปนฺนปุพฺโพ  โหติ  วีสติวสฺโส  วา  โหติ  อติเรกวีสติวสฺโส  วา  อนุชานามิ  ภิกฺขเว  อิเมหิ  อฏฺฐหงฺเคหิ  สมนฺนาคตํ  ภิกฺขุํ  ภิกฺขุโนวาทกํ  สมฺมนฺนิตุนฺติ  ฯ

โอวาทวคฺคสฺส ปฐมสิกฺขาปทํ วินย. มหาวิภงฺโค (๒) พระไตรปิฎกเล่ม 2 ข้อ 407 หน้า 268-269

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 361

            ทรงอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี

           ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา    รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า     ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย    เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์  ๘  ดังต่อไปนี้     เป็นผู้

กล่าวสอนภิกษุณี. 

                องค์คุณ    ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี

           ๑.   เป็นผู้มีศีล  คือสำรวมด้วยปาติโมกข์สังวรศีล  สมบูรณ์ด้วยอาจาระ

และโคจรอยู่    มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย   สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา

บททั้งหลาย

           ๒.   เป็นพหูสูต  คือทรงสุตะ  เป็นผู้สั่งสมสุตะ  ธรรมเหล่านั้นใดงาม

ในเบื้องต้น   งามในท่ามกลาง   งามในที่สุด   ประกาศพรหมจรรย์    พร้อมทั้ง

อรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์    ธรรมเห็นปานนั้น    อันภิกษุนั้นได้

สดับมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยปัญญา.

           ๓.   พระปาติโมกข์ทั้งสองมาแล้วด้วยดีโดยพิสดาร   แก่ภิกษุนั้น   คือ

ภิกษุนั้นจำแนกได้ดี    คล่องแคล่วดี    วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตร    โดยอนุ-

พยัญชนะ.

           ๔.   เป็นผู้มีวาจาสละสลวย   ชัดเจน.

           ๕.   เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก.

           ๖.   เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้.

           ๗.   เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม  กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะบวช  เฉพาะ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้    และ.

           ๘.  มีพรรษาได้  ๒๐  หรือเกิน ๒๐.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 362

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์

คุณ ๘ ประการนี้ให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณีได้.

                          เรื่องพระฉัพพัคคีย์  (ต่อ)  จบ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *